เมนู

เพราะสังโยชนิกทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) เป็น
ทิฏฐิทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด. ฉะนั้น ท่านจึงแสดงความทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด
เพราะสังโยชนิกทิฏฐินั้นเป็นเครื่องประกอบทิฏฐิไว้ทั้งหมด. พึงทราบความนั้น
โดยการครอบงำทิฏฐิ ดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาสัญโญชนิกทิฏฐินิเทศ

อรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ


ในมานวินิพันธทิฏฐิ (ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ) ทั้งหลายพึงทราบ
วินิจฉัยดั่งต่อไปนี้. การลูบคลำด้วยการถือผิดว่าตาเป็นเรา ชื่อว่า ลูบคลำด้วย
การถือผิด มีมานะเป็นเบื้องต้น. เพราะทิฏฐิไม่ได้สัมปยุตด้วยมานะ. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มานวินิพนฺธา ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะ. ความว่า
ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะมีมานะเป็นมูล.
แม้ในบทนี้ว่า จกฺขุํ มมนฺติ อภินิเวสปรามาโส การลูบคลำ
ด้วยความถือผิดว่า ตาของเราก็มีนัยนี้. อนึ่ง ในบท จกฺขุํ มมนฺตํ นี้
ควรกล่าวว่า มมาติ พึงทราบว่าลงนิคหิตอาคมเป็น มมนฺติ. พึงทราบ
อายตนะภายในมีรูปเป็นต้น ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมไม่
ถืออายตนะภายนอกว่า เป็นเราเว้นกสิณรูป. แม้อายตนะภายนอกก็ย่อมได้
ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา เพราะย่อมถือแม้อายตนะภายนอกว่า
ของเรา. ก็เพราะทุกขเวทนาไม่เป็นวัตถุของมานะ เพราะเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา
ฉะนั้น เวทนา 6 และผัสสะ 6 จึงไม่ถือเอาเป็นมูลปัจจัยของเวทนาเหล่านั้น.
แต่สัญญาเป็นต้น พึงทราบว่าท่านไม่ถือเอาในที่นี้ เพราะตัดขาดแล้ว.
จบอรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ


อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยการปรารภตน) ได้แก่
อัตตานิทิฏฐินั่นเอง. ท่านกล่าวถึงทิฏฐิอย่างนี้อีก เพราะปฏิสังยุตด้วยวาทะว่า
ตัวตน ดังนี้.
จบอรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ


(ทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยปรารภโลก)


บทว่า อตฺตา จ โลโก จ ตนและโลก ความว่า ตนนั้นนั่นแลและ
ชื่อว่าโลกเพราะอรรถว่าพึงแลดู. บทว่า สสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าเที่ยง.
บทว่า อสสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าสูญ. บทว่า สสฺสโต จ อสสฺสโต
คือทิฏฐิของผู้เห็นว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง. บทว่า เนว สสฺสโต นาสสฺสโต
ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ คือทิฏฐิของผู้ซัดส่ายไม่ตายตัว.
บทว่า อนฺตวา มีที่สุด คือ ทิฏฐิของผู้หลอกลวงและของนิครนถ์อาชีวกผู้ได้
กสิณนิดหน่อย. อีกอย่างหนึ่ง พวกอุจเฉทิฏฐิย่อมกล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วน
อดีตโดยกำเนิด มีขันธ์ส่วนอนาคตโดยความตาย. พวกเห็นว่าตนและโลก
เกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วนอดีตโดยกำเนิด. บทว่า อนนฺตวา
ไม่มีที่สุด คือทิฏฐิของผู้ได้กสิณหาประมาณมิได้. แต่พวกมีวาทะว่าเที่ยงย่อม
กล่าวว่า สัตว์ไม่มีขันธ์ส่วนอดีตและส่วนอนาคต ด้วยเหตุนั้นจึงไม่มีที่สุด.