เมนู

อรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ


เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะกล่าวตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา.
ชื่อว่า อสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา. ชื่อว่า
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่.
อีกอย่างหนึ่ง วาทะอันเป็นไปว่ามีสัญญา ชื่อว่า สัญญีวาทะ เจ้าทิฏฐิ
เท่านั้นชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะมีวาทะว่ามีสัญญา. อสัญญีวาทะและ
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะก็เหมือนอย่างนั้น.
เจ้าทิฏฐิชื่อว่า อุจเฉทวาทะ เพราะกล่าวว่าสูญ. บทว่า ทิฏฺฐธมฺโม
คือ ธรรมที่เห็นประจักษ์หมายถึงธรรมเป็นปัจจุบัน. บทนี้เป็นชื่อของอัตภาพ
ที่ได้ในปัจจุบันนั้น ๆ. นิพพานในปัจจุบันชื่อว่าทิฏฐิธรรมนิพพาน. ความว่า
การเข้าไปสงบทุกข์ในอัตภาพนี้แล. ชื่อว่า ทิฏฐิธรรมนิพพานวาทะ เพราะ
กล่าวถึงนิพพานเป็นปัจจุบันธรรมนั้น.
อนึ่ง เมื่อบทนี้พิสดารในนิเทศนี้ จึงควรกล่าวถึงพรหมชาลสูตร
ทั้งสิ้นพร้อมด้วยอรรถกถา. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ย่อมช้าเกินไป เพราะฉะนั้นจึง
ไม่ให้พิสดาร. ผู้มีความต้องการสูตรนั้น ควรค้นคว้าหาดูเอาเอง.
จบอรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ

เพราะสังโยชนิกทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) เป็น
ทิฏฐิทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด. ฉะนั้น ท่านจึงแสดงความทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด
เพราะสังโยชนิกทิฏฐินั้นเป็นเครื่องประกอบทิฏฐิไว้ทั้งหมด. พึงทราบความนั้น
โดยการครอบงำทิฏฐิ ดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาสัญโญชนิกทิฏฐินิเทศ

อรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ


ในมานวินิพันธทิฏฐิ (ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ) ทั้งหลายพึงทราบ
วินิจฉัยดั่งต่อไปนี้. การลูบคลำด้วยการถือผิดว่าตาเป็นเรา ชื่อว่า ลูบคลำด้วย
การถือผิด มีมานะเป็นเบื้องต้น. เพราะทิฏฐิไม่ได้สัมปยุตด้วยมานะ. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มานวินิพนฺธา ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะ. ความว่า
ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะมีมานะเป็นมูล.
แม้ในบทนี้ว่า จกฺขุํ มมนฺติ อภินิเวสปรามาโส การลูบคลำ
ด้วยความถือผิดว่า ตาของเราก็มีนัยนี้. อนึ่ง ในบท จกฺขุํ มมนฺตํ นี้
ควรกล่าวว่า มมาติ พึงทราบว่าลงนิคหิตอาคมเป็น มมนฺติ. พึงทราบ
อายตนะภายในมีรูปเป็นต้น ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมไม่
ถืออายตนะภายนอกว่า เป็นเราเว้นกสิณรูป. แม้อายตนะภายนอกก็ย่อมได้
ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา เพราะย่อมถือแม้อายตนะภายนอกว่า
ของเรา. ก็เพราะทุกขเวทนาไม่เป็นวัตถุของมานะ เพราะเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา
ฉะนั้น เวทนา 6 และผัสสะ 6 จึงไม่ถือเอาเป็นมูลปัจจัยของเวทนาเหล่านั้น.
แต่สัญญาเป็นต้น พึงทราบว่าท่านไม่ถือเอาในที่นี้ เพราะตัดขาดแล้ว.
จบอรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ