เมนู

ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา


ว่าด้วยชนิดของปัญญา


[659] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
ปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา...อนัตตานุปัสสนา...นิพพิทา-
นุปัสสนา... วิราคานุปัสสนา... นิโรธานุปัสสนา... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา
(ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา...ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญา
ทำลายกิเลส) ให้บริบูรณ์ อนัตตานุปัสสนา... ย่อมยังมหาปัญญา (ปัญญามาก)
ให้บริบูรณ์ นิพพิทานุปัสสนา... ย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้
บริบูรณ์ วิราคานุปัสสนา...ย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์
นิโรธานุปัสสนา...ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์ ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา
(ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์ ปัญญา 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้... ย่อม
ยังปุถุปัญญา (ปัญญาแน่นหนา) ให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) ให้บริบูรณ์
หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อรรถปฏิสัมภิทาเป็นคุณชาติ อันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่ง
หาสปัญญานั้น ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง

แล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรมแห่งหาสปัญญานั้น นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็น
คุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการ
กำหนดปฏิภาณแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้ เป็นคุณชาติอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น.
[660] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็น
ความสละคืนในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหน
ให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมยังชวนปัญหาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา
7 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้
บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
ปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา...ปฏิสัมภิทา
4 ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น.
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญา

อย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความ
สละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสา-
มันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 7 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็น
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา... ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุ
แล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น.
[661] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมยังปัญญาอย่างไหน
ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป...การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูปทั้งที่
เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน... การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป... การ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...การพิจารณา
เห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...การพิจารณา
เห็นความคลายกำหนัดในรูป... การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูปทั้ง
เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... การพิจารณาเห็นความดับในรูป...
การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในรูป...การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็น

ส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
ปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปทั้ง
เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การ
พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป... ย่อมยังนิพเพธิกปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณา
เห็นทุกข์ในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...ย่อมยังชวนปัญญาให้
บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป...ย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์ การ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยัง
ชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูป...ย่อมยังติกข-
ปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต
อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
คลายกำหนัดในรูป... ย่อมยังวิบูลปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
คลายกำหนัดในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...ย่อมยังชวนปัญญา
ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความดับในรูป...ย่อมยังคัมภีรปัญญาให้บริบูรณ์
การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... ย่อม
ยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป...ย่อมยังอัสสา-
มันตปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต
อนาคตและปัจจุบัน...ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 7 ประการนี้...
ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้...ย่อมยังปุถุปัญญา
ให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
หาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา... ปฏิสัมภิทา 4

ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ.
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและ
มรณะทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ...ย่อมยังชวนปัญญา
ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะทั้งเป็นส่วนอดีต
อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4
ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา เพราะหาสปัญญา.
[662] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล 4 ประการเป็นไฉน ?
คือ สัปปุริสสังเสวะ คบสัตบุรุษ 1 สัทธรรมสวนะ ฟังสัทธรรมคำสั่งสอน
ของท่าน 1 โยนิโสมนสิการะ ไตร่ตรองพิจารณาคำสั่งสอนของท่าน 1
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล 4 ประการ
เป็นไฉน ? คือ สัปปุริสสังเสวะ 1 สัทธรรมสวนะ 1 โยนิโสมนสิการ 1
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แล ที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.
[663] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ เพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป เพื่อความเป็น
ผู้มีปัญญาคมกล้า เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส 4 ประการเป็นไฉน ?
คือ สัปปุริสสังเสวะ 1 สัทธรรมสวนะ 1 โยนิโสมนสิการ 1 ธรรมานุธรรม-
ปฏิบัติติ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 1 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาทำลายกิเลส.
[664] การได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะ
ซึ่งปัญญาเป็นไฉน ?
การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำ
ให้แจ้ง การเข้าถึงพร้อม ซึ่งมรรคญาณ 4 ผลญาณ 4 ปฏิสัมภิทาญาณ 4

อภิญญา 6 ญาณ 73 ญาณ 77 นี้ เป็นการได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา.
ความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่ง
ปัญญาเป็นไฉน ?
ปัญญาของพระเสขะ 7 จำพวก และของกัลยาณปุถุชนย่อมเจริญ
ปัญญาของพระอรหันต์ย่อมเจริญ นี้เป็นความเจริญ นี้เป็นความเจริญแห่ง
ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา.
ความไพบูลย์แห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง
ปัญญาเป็นไฉน ?
ปัญญาของพระเสขะ 7 จำพวกและของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ
ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ เป็นปัญญาไพบูลย์ นี้เป็นความไพบูลย์แห่ง
ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา.
[665] มหาปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถใหญ่ กำหนด
ธรรมใหญ่ กำหนดนิรุตติใหญ่ กำหนดปฏิภาณใหญ่ กำหนดศีลขันธ์ใหญ่
กำหนดสมาธิขันธ์ใหญ่ กำหนดปัญญาขันธ์ใหญ่ กำหนดวิมุตติขันธ์ใหญ่
กำหนดวิมุตติญาณทัสนขันธ์ใหญ่ กำหนดฐานะและอฐานะใหญ่ กำหนดวิหาร-
สมาบัติใหญ่ กำหนดอริยสัจใหญ่ กำหนดสติปัฏฐานใหญ่ กำหนดสัมมัปปธาน-
ใหญ่ กำหนดอิทธิบาทใหญ่ กำหนดอินทรีย์ใหญ่ กำหนดพละใหญ่ กำหนด
โพชฌงค์ใหญ่ กำหนดอริยมรรคใหญ่ กำหนดสามัญผลใหญ่ กำหนดอภิญญา

ใหญ่ กำหนดนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นี้เป็นมหาปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อเป็นผู้มีปัญญาใหญ่.
[666] ปุถุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
แน่นหนาเป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาหนา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ
มาก ในธาตุต่าง ๆ มาก ในอายตนะต่าง ๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ
มาก ในความได้เนือง ๆ ซึ่งความสูญต่าง ๆ มาก ในอรรถต่าง ๆ มาก ใน
ธรรมต่าง ๆ มาก ในนิรุตติต่าง ๆ มาก ในปฏิภาณต่าง ๆ มาก ในศีลขันธ์
ต่าง ๆ มาก ในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ มาก ในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติ-
ขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติญาณทัสนขันธ์ต่าง ๆ มาก ในฐานะและอฐานะ
ต่าง ๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก ในสติ-
ปัฏฐานต่าง ๆ มาก ในสัมมัปปธานต่าง ๆ มาก ในอิทธิบาทต่าง ๆ มาก
ในอินทรีย์ต่าง ๆ มาก ในพละต่าง ๆ มาก ในโพชฌงค์ต่าง ๆ มาก ใน
อริยมรรคต่าง ๆ มาก ในสามัญผลต่าง ๆ มาก ในอภิญญาต่าง ๆ มาก ใน
นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้เป็นปุถุปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนา.
[667] วิบูลปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
กว้างขวาง เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถ
กว้างขวาง กำหนดธรรมกว้างขวาง... กำหนดอภิญญากว้างขวาง กำหนด
นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกว้างขวาง นี้เป็นวิบูลปัญญา ในคำว่า เป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง.

[668] คัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ลึกซึ้ง เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์
ลึกซึ่ง ในธาตุลึกซึ้ง...ในอภิญญาลึกซึ้ง ในนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่าง
ลึกซึ้ง นี้เป็นคัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง.
[669] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาไม่ใกล้ เป็นไฉน ?
อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติ
อันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการ
กำหนดธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดย
การกำหนดปฏิภาณ ใครอื่นย่อมไม่สามารถจะครอบงำอรรถ ธรรม นิรุตติ
และปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้ และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใคร ๆ ครอบงำ
ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณ-
ปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ไม่ชิดกับปัญญาของบุคคลที่ 8 (พระอรหันต์)
เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ 8 มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ 8
ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับ
บุคคลที่ 8 พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกล
แสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน

พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล
ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระ-
อนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้
ไม่ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มี
ปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับ
ปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า
มีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
ทรงถึงเวสารัชชญาณ 4 ทรงพละ 10 ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ
ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป ทรงมี
พระญาณหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้
ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็น
ผู้นำไ่ปให้วิเศษ ทรงนำไปเนือง ๆ ทรงบัญญัติ ทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรง
ให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรค
ที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค
ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมาในภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนิน
ไปตามมรรค แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทราบก็ย่อม
ทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณ ทรงมีธรรม
ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่ว ทรงนำอรรถออก ทรงประทานอมตธรรม
ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญามิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน
ย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้เเล้วโดย
อาการทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควรรู้ อย่างใด
อย่างหนึ่งและประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์
ภพนี้ ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์
ปกปิด ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ
ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือปรมัตถประโยชน์ทั้งหมดนั้น
ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นรูปตลอด
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้อง
ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เนยยบถมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมี
เท่าใด เนยยบถก็มีเท่านั้น พระญาณมีเนยยบถเป็นที่สุดรอบ เนยยบถมีพระญาณ
เป็นที่สุดรอบ พระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบถ เนยยบถก็ไม่เกินพระญาณ
ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผอบสองชั้น
สนิทกันดี ผอบชั้นล่างไม่เกินผอบชั้นบน ผอบชั้นบนก็ไม่เกินผอบชั้นล่าง
ผอบทั้งสองชั้นนั้นต่างก็ตั้งอยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณ
ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความทรงคำนึง เนื่องด้วย
ทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรงพระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธ-
เจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย ความประพฤติ อธิมุตติ ของสรรพสัตว์
ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญา
จักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พระองค์

พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็นภัพสัตว์ เป็นอภัพสัตว์
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณเปรียบเหมือนปลาและเต่า
ทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละ ย่อมว่ายวนอยู่ภายใน
มหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนนกครุฑ
ตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร
แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
พุทธญาณแผ่ไป ขจัดปัญหาของเทวดาและมนุษย์แล้วตั้งอยู่ บรรดากษัตริย์
พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ
มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฏฐิ
ด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถาม
ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรง
แก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็น
อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้.
[670] ภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดัง
แผ่นดิน เป็นไฉน ?
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่ง
ราคะ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งโทสะ ครอบงำอยู่ ครอบแล้วซึ่งโมหะ
ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา
มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ

กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้ว
ซึ่งกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์
ว่า เป็นปัญญาย่ำยีราคะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโทสะอันเป็นข้าศึก
เป็นปัญญาย่ำยีโมหะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโกธะอันเป็นข้าศึก ฯลฯ
อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง
อันเป็นข้าศึก แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวาง
ไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นภูริปัญญา
อีกประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญาเป็นปริณายก
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูริปัญญา นี้เป็นภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน.
[671] ปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
มาก เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญาหนัก เป็นผู้มีปัญญาเป็นจริต
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญา
เป็นยอด มีปัญญาเป็นใหญ่ มีการเลือกเฟ้นมาก มีการค้นคว้ามาก มีการ
พิจารณามาก มีการเพ่งพินิจมาก มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา มีธรรมเป็น
เครื่องอยู่แจ่มแจ้ง มีปัญญาเป็นจริง มีปัญญาหนัก มีปัญญามาก โน้มไปใน
ปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิตไปในปัญญา มีปัญญา
เป็นอธิบดี เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนักไปในคณะ ท่านกล่าวว่า มีคณะมาก
ผู้หนักในจีวร ท่านกล่าวว่า มีจีวรมาก ผู้หนักในบาตร ท่านกล่าวว่า มีบาตรมาก
ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านกล่าวว่า มีเสนาสนะมาก ฉะนั้น นี้เป็นปัญญา-
พาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.

[672] สีฆปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญศีล
ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญอินทรียสังวรให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็น
เครื่องบำเพ็ญโภชเน มัตตัญญุตา ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญ
ชาคริยานุโยคให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ
เป็นเครื่องบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญปัญญาขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็น
เครื่องบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสนขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องแทงตลอด
ฐานะและอฐานะได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ
เป็นเครื่องแทงตลอดอริยสัจได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานได้เร็ว ๆ
เป็นเครื่องเจริญสัมมัปปธานได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญอิทธิบาทได้เร็ว ๆ เป็น
เครื่องเจริญอินทรีย์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญพละได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญ
โพชฌงค์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญอริยมรรคได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่ง
สามัญผลได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องแทงตลอดอภิญญาได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้ง
ซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็ว ๆ นี้เป็นสีฆปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ๆ.
[673] ลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
พลันเป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญ
ศีลให้บริบูรณ์ได้พลัน ๆ... เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์

อย่างยิ่งได้พลัน ๆ นี้เป็นลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาพลัน.
[674] หาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ร่าเริงเป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ บำเพ็ญอินทริย-
สังวรให้บริบูรณ์... ซึ่งทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้บริบูรณ์
ด้วยปัญญานั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น ๆ จึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้เป็น
หาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง.
[675] ชวนปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
แล่นไป เป็นไฉน ?
ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาแล่นไปสู่รูปทั้งปวง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว
แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่เวทนา
ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกล
หรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว
แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความ
เป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า
ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต

และปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่
น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพานเป็น
ที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา
ทำให้เห็นแจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา
และมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป
เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร
แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับชราและมรณะไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะ
อรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็น
อดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วแล่นไปในนิพพาน
เป็นที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญาเพราะอรรถว่าปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา
ทำให้แจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
กันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วแล่น
ไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะไว นี้เป็นชวนปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป.
[676] ติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
คมกล้า เป็นไฉน ?
ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทำลายกิเลสได้ไว ไม่
รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้
ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งอกุศลธรรมอันลามก

ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งโทสะ ฯลฯ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขาร
ทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
ติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเป็นเครื่องให้บุคคลได้บรรลุ ทำให้แจ้ง
ถูกต้องอริยมรรค 4 สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 ณ อาสนะเดียว
นี้เป็นติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า.
[677] นิพเพธิกปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยความสะดุ้ง ความหวาดเสียว
ความเบื่อหน่าย ความระอา ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขาร
ทั้งปวง ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ ที่ไม่เคย
เบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ
ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ
มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอัน
เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ไม่เคยทำลายด้วยปัญญา
เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น ๆ จึงชื่อว่า นิพเพธิกปัญญา นี้เป็นนิพเพธิกปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา 16
ประการนี้.
[678] บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา 16 ประการนี้ เป็นผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียร

มาก่อน ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียงมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร
มาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็น
พหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนมี 2 แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา
ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้
ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2
และผู้มากด้วยเทศนาก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัย
ครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน บุคคล
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 และผู้อาศัยครูก็มี 2
คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมาก ผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมาก
เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครู
มี 2 และผู้มีวิหารธรรมก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มี
ความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้
ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมีก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูต

มี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2 ผู้มีวิหารธรรมมากมี 2 และผู้มี
ความพิจารณามากก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่ง
เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุ
ปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคล
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2
ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2 ผู้มีวิหารธรรมมากมี 2 ผู้มีความ
พิจารณามากมี 2 และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี 2 คือ ผู้หนึ่ง
บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้
ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน บุคคล
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2
ผู้มีวิหารธรรมมากมี 2 ผู้มีความพิจารณามากมี 2 และผู้เป็นพระอเสขะ
บรรลุปฏิสัมภิทาก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้
บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
เป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มี
พระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ
10 ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญา
เปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฏฐิด้วย

ปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้ว พากันเข้ามาหาพระตถาคต ถาม
ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรง
แก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหา
เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
ฉะนี้แล.
จบมหาปัญญากถา

อรรถกถามหาปัญญากถา ในปัญญาวรรค


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่พรรณนาแห่งปัญญากถา อัน
พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในลำดับแห่งสุญญกถาอันเป็นปทัฏฐานแห่งปัญญา
โดยพิเศษ.
ตอนต้นในปัญญากถานั้น ปัญญา 7 ประการ มีอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ
เป็นมูลในอนุปัสสนา 7 พระสารีบุตรเถระชี้แจง ทำคำถามให้เป็นเบื้องต้นก่อน.
ปัญญา 3 มีอนุปัสสนา 2 เป็นมูล และมีอนุปัสสนาอันยิ่งอย่างหนึ่ง ๆ เป็นมูล
พระสารีบุตรเถระชี้แจงไม่ทำคำถาม. ท่านชี้แจงความบริบูรณ์ของปัญญา 10
แต่ต้นด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปัสสนาเหล่านั้น ดังต่อไปนี้. เพราะอนิจจา-
นุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยง) แล่นไปในสังขารที่เห็นแล้ว