เมนู

อรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ


บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ คืออัตตานุทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวไว้เพื่อแสดงคำโดยปริยายอันมาแล้วในที่อื่น.
จบอรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ


บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย สสฺสตทิฏฺฐิยา สัสสตทิฏฐิมีสักกายะเป็น
วัตถุ เป็นกัมมธารยสมาส.
พึงเชื่อมบทว่า สมนุปสฺสติ ย่อมเห็นไว้ในท้ายคำ 15 คำ
มีอาทิว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ. เพราะจะได้ไม่ลืมตัวด้วยอย่างอื่น ทิฏฐิ
ที่เหลือ 14 อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ
สมนุปสฺสติ
เห็นตนว่ามีรูปด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ


บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย อุจเฉททิฏฺฐิยา อุจเฉททิฏฐิมิสักกายะ
เป็นวัตถุ คือทิฏฐิที่เหลือ 4 อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า เห็นรูป
โดยความเป็นตน ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ

อรรถกถาอันตคาหิกทิฏฐิ


บทว่า อนฺตคาหิกาย ทิฏฺฐิยา ทิฏฐิอันถือเอาที่สุด เป็นการถาม
ตามอาการในวาระที่หนึ่ง ถือเอาตามอาการในวาระที่สอง กล่าวแก้อาการ
ในวาระที่สาม.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก คือ ตัวตน. บทว่า โส อนฺโต
โลกนั้น มีที่สุด คือ ในที่สุดของความเที่ยงและความสูญอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
ที่สุดของความเที่ยง ในการถือว่าเที่ยงที่สุดของความสูญในการถือว่าไม่เที่ยง.
บทว่า ปริตฺตํ โอกาสํ สู่โอกาสนิดหน่อย คือ สู่ที่เล็กน้อยเพียงกระด้งหรือ
ชาม. บทว่า นีลกโต ผรติ ทำสีเขียวแผ่ไป คือ เป็นอารมณ์ว่า สีเขียว.
บทว่า อยํ โลโก โลกนี้ ท่านกล่าวหมายถึงตน. บทว่า ปริวฏุโม
โลกกลม คือ มีกำหนดไว้โดยรอบ. บทว่า อนฺตสญฺญี คือ มีความสำคัญ
ว่ามีที่สุด.