เมนู

อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ


มิจฉาทิฏฐิมีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่พึงทราบนัยอื่น
ดังต่อไปนี้.
บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คือปฏิเสธผลของทาน
เพราะเป็นอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ยิฏฺฐํ การบูชายัญในบทว่า นตฺถิ ยิฏฺฐํ
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผลนี้เป็นยัญเล็กน้อย. บทว่า หุตํ เซ่นสรวงเป็นมหายัญ.
ปฏิเสธผลของยัญทั้งสอง.
บทว่า นตฺถิ สุกฏทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก ผลวิบาก
แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี คือปฏิเสธผลแห่งบุญกรรม มีศีลเป็นต้น
เพราะปฏิเสธผลแห่งทาน ปฏิเสธผลแห่งบาปกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า
นตฺถิ อยํ โลโก โลกนี้ไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในก่อน. บทว่า นตฺถิ
ปโร โลโก
โลกหน้าไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้. บทว่า นตฺถิ มาตา
นตฺถิ ปิตา
มารดาไม่มี บิดาไม่มี คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในมารดา
บิดาเหล่านั้น. บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ผู้ผุดขึ้นก็ไม่มี คือ
ปฏิเสธการผุดขึ้นอันมีกรรมเป็นเหตุ. บทว่า นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา
ฯลฯ ปเวเทนฺติ
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ
ปฏิเสธปฏิปทาในการได้อภิญญา เพื่อเห็นในโลกนี้และโลกหน้า.
แต่ในบาลีนี้ บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ ได้แก่ วัตถุ คือ ทานที่ท่าน
กล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. อธิบายว่า วัตถุแห่งทิฏฐินั้น.
บทว่า เอวํวาโท มิจฺฉา วาทะอย่างนี้ผิด คือ วาทะคำพูดว่าทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผลอย่างนี้ผิด คือ วิปริต.
จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ


บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ คืออัตตานุทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวไว้เพื่อแสดงคำโดยปริยายอันมาแล้วในที่อื่น.
จบอรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ


บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย สสฺสตทิฏฺฐิยา สัสสตทิฏฐิมีสักกายะเป็น
วัตถุ เป็นกัมมธารยสมาส.
พึงเชื่อมบทว่า สมนุปสฺสติ ย่อมเห็นไว้ในท้ายคำ 15 คำ
มีอาทิว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ. เพราะจะได้ไม่ลืมตัวด้วยอย่างอื่น ทิฏฐิ
ที่เหลือ 14 อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ
สมนุปสฺสติ
เห็นตนว่ามีรูปด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ