เมนู

ยุคนัทธวรรค


พลกถา


ว่าด้วยพลธรรม


[621] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ?
คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พละ 5 ประการนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง พละ 68 ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ
สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ
อนวัชชพละ สังคาหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสริยพละ
อธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ 10 อเสกขพละ 1.
ขีณาสวพละ 10 อิทธิพละ 10 ตถาคตพละ 10.
[622] สัทธาพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่
หวั่นไหวในความไม่ศรัทธา เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม เพราะ
ความว่าครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพราะความว่าเป็นความสะอาดในเบื้องต้นแห่ง
ปฏิเวธ เพราะความว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต เพราะความว่าเป็นที่ผ่องแผ้วแห่งจิต
เพราะความว่าเป็นเครื่องบรรลุคุณวิเศษ เพราะความว่าแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง
เพราะความว่าตรัสรู้สัจจะ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ
นี้เป็นสัทธาพละ.

วิริยพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ในความเกียจคร้าน เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้
การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นวิริยพละ.
สติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวใน
ความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก-
รกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ.
สมาธิพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ในอุทธัจจะ เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก-
บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ.
ปัญญาพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ในความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่า
ให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ.
[623] หิริพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายกาม-
ฉันทะด้วยเนกขัมมะ ละอายพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ละอายถิ่นมิทธะ
ด้วยโลกสัญญา ละอายอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละอายวิจิกิจฉาด้วยธรรม-
ววัตถาน ละอายอวิชชาด้วยญาณ ละอายอรติด้วยความปราโมทย์ ละอายนิวร ์
ด้วยปฐมญาณ ฯลฯ ละอายสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นหิริพละ.
โอตตัปปพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรง
กลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ เกรงกลัวสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็น
โอตตัปปพละ.

ปฏิสังขานพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า
พิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ พิจารณาสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค
นี้เป็นปฏิสังขานพละ.
[624] ภาวนาพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า
พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ
ความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเจริญอรหัตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ.
อนวัชชพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าอนวัขชพละ เพราะอรรถว่า ในเนก-
ขัมมะไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ในความไม่พยาบาทไม่มี
โทษน้อยหนึ่ง เพราะละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ ในอรหัตมรรคไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
เพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ.
สังคาหพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโย-
คาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท
ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมสะกด
จิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นสังคาหพละ.
[625] ขันติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนก-
ขัมมะย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะ
ละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว
นี้เป็นขันติพละ.
ปัญญัตติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท
ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิต
ไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี่เป็นปัญญัตติพละ.

นิชฌัตติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท
ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมเพ่งจิต
ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ.
อิสริยพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยา-
บาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถ
อรหัตมรรคนี้เป็นอิสริยพละ.
อธิษฐานพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าอธิฐานพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละ
พยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิ-
เลส ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ.
[626] สมถพละเป็นไฉน ? ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถเนกขัมมะ เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้ง-
ซ่าน ด้วยสามารถอาโลกสัญญาเป็นสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็น
สมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ.
ชื่อว่าสมถพละ ในคำว่า สมถพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?

ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐม-
ฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยญาน เพราะ
อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในปีติด้วยตติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่น-
ไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวใน
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะ
อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในวิญญานัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตน-
สมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง
ไม่กวัดแกว่งไปในอุทธัจจะ ในกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ นี้
เป็นสมถพละ.
[627] วิปัสสนาพละเป็นไฉน ? อนิจจานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ การพิจารณาเห็น
ความสละคืนในรูป เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็น
วิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ.
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ ในคำว่า วิปสฺสนาพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญา
ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญา ด้วย
ทุกขานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในความเพลิดเพลิน ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในราคะ ด้วยวิราคา-

นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา
เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา
เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอวิชชา ใน
กิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และในขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ.
[628] เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 เป็นไฉน ? ชื่อว่า เสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษา
ในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมา-
สังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จ
แล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาวาจา ฯลฯ สัมมา-
กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ ฯลฯ
สัมมาวิมุตติ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมา-
กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ
สัมมาวิมุตติ นั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 นี้.
[629] ขีณาสวพละ 10 เป็นไฉน ? ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เป็น
ผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดย
ความเป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย
ของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบ
ด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตาม

ความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณ
ความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป
เอนไปในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ตั้งอยู่ในวิเวก สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็น
ธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ
สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวงนี้ ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญดีแล้ว
แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของ
พระขีณาสพ ซึ่งพระขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย
ของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ 8
เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เจริญดีแล้วนี้
ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว นี้เป็นกำลังของพระขีณาสพ 10.
[630] อิทธิพละ 10 เป็นไฉน ? ฤทธิ์เพราะการอธิษฐาน 1 ฤทธิ์
ที่แผลงได้ต่าง ๆ 1 ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ 1 ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ 1 ฤทธิ์ที่
แผ่ไปด้วยสมาธิ 1 ฤทธิ์ของพระอริยะ 1 ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม 1 ฤทธิ์ของ

ท่านผู้มีบุญ 1 ฤทธิ์ที่สำเร็จมาแต่วิชชา 1 ฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จเพราะ
เหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ 1 อิทธิพละ 10 นี้.
[631] ตถาคตพละ 10 เป็นไฉน ? พระตถาคตในโลกนี้ย่อมทรง
ทราบซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง แม้
ข้อที่พระตถาคตทรงทราบฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ
ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัย
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน
ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต
อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลัง
ของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึง
ประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบปฏิปทา
เครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระ-
ตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบโลกธาตุต่าง ๆ โดยความ
เป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบโลกธาตุต่าง ๆ
โดยความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็น
ผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความ
ที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลัง
ของพระตถาคต ฯลฯ.

อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่ง
อินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคต
ทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น ตามความ
เป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความ
ผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของ
พระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็น
อันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อน ๆ
ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการดังนี้ แม้ข้อที่
พระตถาคตทรงระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ
บ้าง ฯลฯ นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แม้ข้อที่พระตถาคตทรง
พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า
ถึงอยู่ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง

อยู่นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยทรงปฏิญาณฐานะ
ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ตถาคตพละ 10 นี้.
[632] ชื่อว่าสัทธาพละ ชื่อว่าวิริยพละ ชื่อว่าสติพละ ชื่อว่า
สมาธิพละ ชื่อว่าปัญญาพละ ชื่อว่าหิริพละ ชื่อว่าโอตตัปปพละ ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ชื่อว่า
สติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่
หวั่นไหวในอวิชชา ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอัน
ลามก ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่าเกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น มีกิจเป็นอัน
เดียวกัน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโคจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะ
เป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อ
นิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
ตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า
สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า

วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดใน
ภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิ
เป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐิ
เป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้น
ไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อม
สำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล.
จบพลกถา

อรรถกถาพลกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งพลกถา อันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้นอันเป็นโลกุตรกถา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
ลำดับแห่งโลกุตรกถา. ในพลกถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดง
พละ 5 โดยพระสูตรแต่ต้น แล้วมีพระประสงค์จะทรงแสดงพละแม้อื่นจาก
พละ 5 นั้นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อปิจ อฏฺฐสฏฺฐี พลานิ อีกอย่างหนึ่ง
พละ 68 ประการ ดังนี้. แม้พละ 68 ทั้งหมดก็ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหวโดยภาวะตรงกันข้ามกับพละ 5 นั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า หิริพลํ หิริพละดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
หิริ เพราะเป็นเหตุละอายต่อบาป. บทนั้นเป็นชื่อของความละอาย. ชื่อว่า
โอตตัปปะ เพราะเป็นเหตุกลัวต่อบาป. บทนั้นเป็นชื่อของความหวาดสะดุ้ง.