เมนู

เป็นใหญ่ คือมาจากความมีธรรมเป็นใหญ่ เป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ด้วยกระทำ
กิริยาทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งธรรมคือการภาวนา.
บทว่า ตํ โข ปน ธมฺมจกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ อันใคร ๆ ยัง
ธรรมจักรนั้นให้เป็นไปไม่ได้ ท่านกล่าวถึงความเป็นธรรมที่ไม่ถูกกำจัด
เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะให้กลับได้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นท่านจึงกล่าวว่า
จกฺกํ เพราะอรรถว่าเป็นไปได้.
บทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม ตํ ธมฺมํ ปวตฺเตติ สัทธินทรีย์
เป็นธรรม ยังธรรมนั้นให้เป็นไป ความว่า ยังสัทธินทรีย์เป็นธรรมนั้นให้
เป็นไป ด้วยยังสัทธินทรีย์สัมปยุตด้วยมรรคให้เกิดในสันดานของเวไนยสัตว์.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สจฺจา คือสัจจญาณ วิปัสสนา
วิชชาและมรรคญาณ. บทว่า อนุปฺปาเท ญาณํ ญาณในความไม่เกิด
คือญาณในอรหัตผล ยังญาณแม้นั้นให้เป็นไปในสันดานของเวไนยสัตว์ เมื่อ
ทำการแทงตลอดคือนิพพาน ก็ชื่อว่า ยังญาณให้เป็นไป. ในสมุทยวารเป็นต้น
ท่านแสดงย่อบทที่แปลกว่า สมุทยวตฺถุกา นิโรธวตฺถุกา มคฺควตฺถุกา
มีสมุทัยเป็นที่ตั้ง มีนิโรธเป็นที่ตั้ง มีมรรคเป็นที่ตั้ง. บทต้นเช่นกับที่กล่าว
แล้วในวาระแม้นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาสติปัฏฐานวาร


แม้วาระมีสติปัฏฐาน อิทธิบาทเป็นเบื้องต้น ท่านก็กล่าวไว้แล้วด้วย
สามารถแห่งขณะของมรรค แม้วาระเหล่านั้นท่านก็แสดงย่อบทที่แปลกไว้ใน
วาระนั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาธรรมจักรกถา

ยุคนัทธวรรค โลกกุตตรกถา


ว่าด้วยโลกุตรธรรม


[620] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตระ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4
สามัญผล 4 และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตระ.
ชื่อว่าโลกุตระ ในคำว่า โลกุตฺตรา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?.
ชื่อว่าโลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลก ข้ามพ้นแต่โลก ข้ามไป
จากโลก ล่วงพ้นโลก ล่วงพ้นโลกอยู่ เป็นอดิเรกในโลก สลัดออกแต่โลก
สลัดออกจากโลก สลัดไปจากโลก สลัดออกไปจากโลก สละออกแต่โลก
สละออกจากโลก สละออกไปจากโลก ไม่ตั้งอยู่ในโลก ไม่ดำรงอยู่ในโลก
ไม่ติดอยู่ในโลก ไม่เปื้อนในโลก ไม่ไล้ในโลก ไม่ไล้ด้วยโลก ไม่ฉาบในโลก
ไม่ฉาบด้วยโลก หลุดไปในโลก หลุดไปจากโลก พ้นไปจากโลก หลุดพ้นไป
แต่โลก ไม่เกี่ยวข้องในโลก ไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก พรากออกแต่โลก พราก
ออกจากโลก พรากออกไปแต่โลก หมดจดแต่โลก หมดจดกว่าโลก หมดจด
จากโลก สะอาดแต่โลก สะอาดกว่าโลก สะอาดจากโลก ออกแต่โลก ออก
จากโลก ออกไปจากโลก เว้นแต่โลก เว้นจากโลก เว้นไปจากโลก ไม่ข้อง
ในโลก ไม่ยึดในโลก ไม่พัวพันในโลก ตัดโลกขาดอยู่ ตัดโลกขาดแล้ว
ให้โลกระงับอยู่ ให้โลกระงับแล้ว ไม่กลับมาสู่โลก ไม่เป็นคติของโลก
ไม่เป็นวิสัยของโลก ไม่เป็นสาธารณะแก่โลก สำรอกโลก ไม่เวียนมาสู่โลก
ละโลก ไม่ยังโลกให้เกิด ไม่ลดโลก นำโลก กำจัดโลก ไม่อบโลกให้งาม
ล่วงโลก ครอบงำโลกตั้งอยู่ ฉะนี้แล.
จบโลกุตตรกถา