เมนู

ธรรมจักรกถา


อรรถกถาสัจจวาระ


จะพรรณนาตามลําดับความที่ยังมิได้เคยพรรณนาไว้แห่งธรรมจักรกถา
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำพระธรรมจักกัปวัตตนสูตรให้เป็นเบื้องต้นอีก
ตรัสแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขวตฺถุกา เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือ เพราะ
มีทุกข์เป็นที่ตั้งด้วยอำนาจแห่งการตรัสรู้อย่างเดียว. พระสารีบุตรเถระยังทุกข์
นั้นให้วิเศษออกไป จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สจฺจวตฺถุกา เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ
ชื่อว่า สจฺจารมฺมณา เพราะ สัจจะเป็นอารมณ์ เป็นตัวอุปถัมภ์. ชื่อว่า
สจฺจโคจรา เพราะมีสัจจะเป็นโคจรเป็นวิสัย. บทว่า สจฺจสงฺคหิตา
สงเคราะห์เข้าในสัจจะ คือ สงเคราะห์ด้วยมรรคสัจ. บทว่า สจฺจปริยาปนฺนา
นับเนื่องในสัจจะ คือ นับเนื่องในมรรคสัจ. บทว่า สจฺเจ สมุปาคตา เข้ามา
ประชุมในสัจจะ คือเกิดร่วมกันในทุกขสัจด้วยกำหนดรู้ทุกข์. บทว่า ฐิตา
ปติฏฺฐิตา
คือตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะนั้นนั่นแหละเหมือนกัน.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงพระธรรมจักรที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจกฺเก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺมจกฺกํ. ใน
บทว่า ธมฺมจกฺกํ นั้น ธรรมจักรมี 2 อย่าง คือปฏิเวธธรรมจักร และเทศนา-
ธรรมจักร. ปฏิเวธธรรมจักร ณ โพธิบัลลังก์ เทศนาธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน.

บทว่า ธมฺมญฺจ ปวตฺเตติ จกฺกญฺจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้
ธรรมและจักรเป็นไป ท่านกล่าวถึงปฏิเวธธรรมจักร. บทว่า จกฺกญฺจ
ปวตฺเตติ ธมฺมญฺจ
ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ท่านกล่าวถึงเทศนา
ธรรมจักร. อย่างไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือโพธิบัลลังก์ ยัง
ธรรมมีประเภทเป็นต้นว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และองค์แห่งมรรคให้
เป็นไปในขณะแห่งมรรค ธรรมนั้นแหละชื่อว่าจักร เพราะเป็นไปเพื่อฆ่าศัตรู
คือกิเลส ดุจจักรสำหรับประหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังจักรคือธรรมให้
เป็นไป ชื่อว่า ทรงยังจักรให้เป็นไป ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวเป็นกัมมธารยสมาส
ว่า จักรคือธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ทรงจักรคือเทศนาให้เป็นไป เพราะเป็นไปเพื่อฆ่าศัตรูคือกิเลสในสันดานของ
เวไนยสัตว์ ในขณะแสดงธรรมเช่นกับจักรสำหรับใช้ประหาร และยังธรรมจักร
อันมีประเภทเป็นต้นว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์แห่งมรรคให้เป็นไป
ในสันดานของเวไนยสัตว์. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงทวันทวสมาสว่า ธรรมด้วย
จักรด้วย ชื่อว่าธรรมและจักร ก็เพราะเมื่อความเป็นไปยังมีอยู่ ก็ชื่อว่า
ยังเป็นไปอยู่ ฉะนั้น แม้ในที่ทั้งปวงท่านกล่าวว่า ปวตฺเตติ ให้เป็นไป
แต่พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า จกฺกํ เพราะอรรถว่าเป็นไป.
บทมีอาทิว่า ธมฺเมน ปวตฺเตนฺตีติ ธมฺมจกฺกํ ชื่อว่า ธรรมจักร
เพราะทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม พึงทราบว่าท่านกล่าวหมายถึงเทศนาธรรม-
จักรนั่นเอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺเมน ปวตฺเตติ ท่านกล่าวว่าธรรมจักร
เพราะจักรเป็นไปแล้วโดยธรรมตามสภาวะอย่างไร. บทว่า ธมฺมจริยา ปวตฺ-
เตติ
ท่านกล่าวว่า ธรรมจักร เพราะจักรเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ธรรมในสัน-
ดานของเวไนยสัตว์. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺเม ฐิโต ดำรงอยู่ในธรรม ท่านกล่าว
ถึง ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีธรรม และเป็นเจ้าแห่งธรรม. สมดังที่ท่าน

พระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ทรงรู้ทรงเห็นเป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ เป็นผู้มีธรรม เป็น
พรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม
เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต เพราะฉะนั้น ด้วยบทนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ธมฺมจกฺกํ เพราะเป็นจักรแห่งธรรม. บทว่า ฐิโต ตั้งอยู่แล้ว คือ
ตั้งอยู่โดยความมีอารมณ์. บทว่า ปติฏฺฐิโต ประดิษฐานแล้ว คือ ประดิษฐาน
โดยความไม่หวั่นไหว. บทว่า วสิปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความชำนาญ คือ
ถึงความมีอิสรภาพ. บทว่า ปารมิปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความยอดเยี่ยม คือ
บรรลุถึงที่สุด. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้า คือ
บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺเม ปติฏฺฐาเปนฺโต
ทรงให้มหาชนดำรงอยู่ในธรรม ท่านเพ่งถึงสันดานของเวไนยสัตว์ แล้วกล่าว
ว่า จกฺกํ เพื่อประโยชน์แก่ธรรม เพราะพระองค์เป็นเจ้าของธรรมด้วยคำ
ดังกล่าวแล้ว. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺมํ สกฺกโรนฺโต ทรงสักการะธรรม
ท่านกล่าวว่า จกฺกํ เพื่อประโยชน์แก่ธรรม เพราะผู้ใดประพฤติธรรมด้วย
สักการะเป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติเพื่อธรรม. บทว่า ธมฺมํ ครุกโรนฺโต
ทรงเคารพธรรม คือ ทำความเคารพนั้นด้วยให้เกิดคารวะในธรรมนั้น. บทว่า
ธมฺมํ มาเนนฺโต ทรงนับถือธรรม คือ ทรงทำธรรมให้เป็นที่รัก เป็นที่
น่ายกย่องอยู่. บทว่า ธมฺมํ ปูเชนฺโต ทรงบูชาธรรม คือ อ้างถึงธรรมนั้น
แล้วทำการบูชา ด้วยปฏิบัติบูชาในเทศนา. บทว่า ธมฺมํ อปจายมาโน ทรง
นอบน้อมธรรม คือทำความประพฤติถ่อมด้วยการสักการะและเคารพธรรม
นั้นนั่นเทียว. บทว่า ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นยอด
ความว่า มีธรรมเป็นธงและมีธรรมเป็นยอดด้วยการนำธรรมไว้ในเบื้องหน้า
ดุจธง และยกขึ้นดุจเป็นยอดแล้วให้เป็นไป. บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย มีธรรม

เป็นใหญ่ คือมาจากความมีธรรมเป็นใหญ่ เป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ด้วยกระทำ
กิริยาทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งธรรมคือการภาวนา.
บทว่า ตํ โข ปน ธมฺมจกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ อันใคร ๆ ยัง
ธรรมจักรนั้นให้เป็นไปไม่ได้ ท่านกล่าวถึงความเป็นธรรมที่ไม่ถูกกำจัด
เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะให้กลับได้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นท่านจึงกล่าวว่า
จกฺกํ เพราะอรรถว่าเป็นไปได้.
บทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม ตํ ธมฺมํ ปวตฺเตติ สัทธินทรีย์
เป็นธรรม ยังธรรมนั้นให้เป็นไป ความว่า ยังสัทธินทรีย์เป็นธรรมนั้นให้
เป็นไป ด้วยยังสัทธินทรีย์สัมปยุตด้วยมรรคให้เกิดในสันดานของเวไนยสัตว์.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สจฺจา คือสัจจญาณ วิปัสสนา
วิชชาและมรรคญาณ. บทว่า อนุปฺปาเท ญาณํ ญาณในความไม่เกิด
คือญาณในอรหัตผล ยังญาณแม้นั้นให้เป็นไปในสันดานของเวไนยสัตว์ เมื่อ
ทำการแทงตลอดคือนิพพาน ก็ชื่อว่า ยังญาณให้เป็นไป. ในสมุทยวารเป็นต้น
ท่านแสดงย่อบทที่แปลกว่า สมุทยวตฺถุกา นิโรธวตฺถุกา มคฺควตฺถุกา
มีสมุทัยเป็นที่ตั้ง มีนิโรธเป็นที่ตั้ง มีมรรคเป็นที่ตั้ง. บทต้นเช่นกับที่กล่าว
แล้วในวาระแม้นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาสติปัฏฐานวาร


แม้วาระมีสติปัฏฐาน อิทธิบาทเป็นเบื้องต้น ท่านก็กล่าวไว้แล้วด้วย
สามารถแห่งขณะของมรรค แม้วาระเหล่านั้นท่านก็แสดงย่อบทที่แปลกไว้ใน
วาระนั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาธรรมจักรกถา