เมนู

อรรถกถาสัตตโพธิสัตตวาระเป็นต้น


ในสูตรหนึ่ง ๆ ในสูตร 7 ของพระโพธิสัตว์ 7 มีธรรม 10 คือ
ในสมุทัย 5 มีจักษุเป็นต้น ในนิโรธ 5 มีอรรถ 10 คือในสมุทัย 5 มีอรรถ
ว่าความเห็นเป็นต้น. ในนิโรธ 5 มีนิรุตติ 20 ด้วยสามารถแห่งธรรมและอรรถ
เหล่านั้น มีญาณ 40 การนับทำไวยากรณภาษิต รวมกันกล่าวเข้าใจง่ายดี.
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทานิเทศ ซึ่งท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถ
แห่งพระสัพพัญญุตญาณดังต่อไปนี้ ในมูลกะหนึ่ง ๆ มีธรรม 25 ด้วยสามารถ
ปัญจกะละ 5 คือ ในคำหนึ่ง ๆ ใน 5 คำเหล่านี้ คือ เรารู้แล้ว 1 เห็นแล้ว 1
รู้แจ้งแล้ว 1 ทำให้แจ้งแล้ว 1 ถูกต้องแล้ว 1 ด้วยปัญญาธรรม 5 มีจักษุ
เป็นต้น ธรรม 5 มีอรรถว่าความเห็นเป็นต้น มีอรรถ 25 เป็นนิรุตติ
คูณด้วย 2 (50) เป็นญาณคูณด้วย 2 (100) ทำ 5 อย่างรวมกันแล้วทำ 5
5 ครั้ง แม้ในวาระที่กล่าวทำ 5 รวมกัน เป็น 25 จึงมีธรรม 125 มีอรรถ
125 มีนิรุตติ คูณด้วย 2 (250) มีญาณคูณด้วย 2 (500).
บทว่า อฑฺฒเตยฺยานิ คือ มีนิรุตติ 250. แม้ในขันธ์เป็นต้นก็มี
นัยนี้เหมือนกัน.

อรรถกถาฉพุทธธรรมวาระ


พึงทราบวินิจฉัยในพุทธธรรมวาระ ดังต่อไปนี้. บทว่า ทิยฑฺฒสตํ
มีธรรม 150 คือ 25 รวม 6 ครั้ง เป็นธรรม 150 มีนิรุตติ คูณด้วย 2
(300) มีญาณคูณด้วย 2 (600). บทว่า ปฏิสมฺภิทาธิกรเณ คือใน
คัมภีร์ปฏิสัมภิทา. บทว่า อฑฺฒนวธมฺมสตา นี้ คือ มีธรรม 850 อย่างนี้
คือ ในสัจจะ4 ที่กล่าวแล้วครั้งแรก 60 ในสติปัฏฐาน 4 รวม 60 ในไวยากรณ-
ภาษิตของพระโพธิสัตว์ 7 ในธรรม 5 มีตั้งอยู่ในอภิญญาเป็นต้น 125 ใน
ธรรม 5 มีขันธ์เป็นต้น 125 ในอริยสัจ 4 อีก 100 ในปฏิสัมภิทา 4
รวม 100 ในพุทธธรรม 6 รวม 150.
แม้อรรถก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. มีนิรุตติ 120 ในฐานะ 3 มีสัจจะ
เป็นต้น มีนิรุตติ 140 ในไวยากรณภาษิต 7 มีนิรุตติในอภิญญาเป็นต้น และ
ในขันธ์เป็นต้นอย่างละ 150 มีนิรุตติอย่างละ 200 ในอริยสัจ 4 และใน
ปฏิสัมภิทา มีนิรุตติ 300 ในพุทธธรรม รวมเป็นมีนิรุตติ 1,700. มีญาณ
3,400 อย่างนี้ คือ มีญาณอย่างละ 200 ในฐานะ 3 มีสัจจะเป็นต้น มีญาณ
280 ในไวยากรณภาษิต 7 มีญาณอย่างละ 500 ในอภิญญาเป็นต้น และ
ในขันธ์เป็นต้น มีญาณอย่างละ 400 ในปฏิสัมภิทา 4 มีญาณ 600 ใน
พุทธธรรม.
จบอรรถกถาปฏิสัมภิทากถา