เมนู

ต่าง ๆ. ชื่อว่า วิชชา เพราะทำการแทงตลอดโดยไม่มีส่วนเหลือ. ชื่อว่า
อาโลก เพราะทำกิจด้วยแสงสว่างในกาลทั้งปวง.
แม้ในบทมีอาทิว่า จกฺขุํ ธมฺโม จักษุเป็นธรรม มีความดังต่อไปนี้.
ญาณหนึ่งนั่นแหละท่านพรรณนาไว้โดย 5 ส่วน ด้วยความต่างกันแห่งกิจ.
บทว่า อารมฺมณา ด้วยอรรถว่าอุปถัมภ์. บทว่า โคจรา ด้วยอรรถว่า
เป็นอารมณ์. ในบทมีอาทิว่า ทสฺสนฏฺเฐน ท่านกล่าวถึงญาณกิจไว้ โดย
5 ส่วน.
โดยนัยนี้พึงทราบญาณ 60 คือ ธรรม 15 อรรถ 15 ทำในวาระ
หนึ่งๆ ใน 3 วาระ อย่างละ 5 เป็นนิรุตติ 30 ในนิรุตติ 30 ในปัณณรสกะ 2
ในธรรม 15 ในอรรถ 15. แม้ในอริยสัจที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบญาณ 240 อย่างนี้ คือ ธรรม 60 อรรถ 60 เป็นนิรุตติ
120 ในธรรม 60 ในอรรถ 60 ในนิรุตติ 120 ในธรรม 60 ในอรรถ 60
ด้วยอำนาจแห่งธรรมและอรรถอย่างละ 15 ในอริยสัจหนึ่ง ๆ ในอริยสัจ 4.
จบอรรถกถาธรรมจักรกัปปวัตตนวาระ

อรรถกถาสติปัฏฐานวาระเป็นต้น


พึงทราบอรรถและการนับในปฏิสัมภิทานิเทศ อันมีสติปัฏฐานสูตร
เป็นเบื้องต้น และมีอิทธิปาทสูตรเป็นเบื้องต้น.

อรรถกถาสัตตโพธิสัตตวาระเป็นต้น


ในสูตรหนึ่ง ๆ ในสูตร 7 ของพระโพธิสัตว์ 7 มีธรรม 10 คือ
ในสมุทัย 5 มีจักษุเป็นต้น ในนิโรธ 5 มีอรรถ 10 คือในสมุทัย 5 มีอรรถ
ว่าความเห็นเป็นต้น. ในนิโรธ 5 มีนิรุตติ 20 ด้วยสามารถแห่งธรรมและอรรถ
เหล่านั้น มีญาณ 40 การนับทำไวยากรณภาษิต รวมกันกล่าวเข้าใจง่ายดี.
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทานิเทศ ซึ่งท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถ
แห่งพระสัพพัญญุตญาณดังต่อไปนี้ ในมูลกะหนึ่ง ๆ มีธรรม 25 ด้วยสามารถ
ปัญจกะละ 5 คือ ในคำหนึ่ง ๆ ใน 5 คำเหล่านี้ คือ เรารู้แล้ว 1 เห็นแล้ว 1
รู้แจ้งแล้ว 1 ทำให้แจ้งแล้ว 1 ถูกต้องแล้ว 1 ด้วยปัญญาธรรม 5 มีจักษุ
เป็นต้น ธรรม 5 มีอรรถว่าความเห็นเป็นต้น มีอรรถ 25 เป็นนิรุตติ
คูณด้วย 2 (50) เป็นญาณคูณด้วย 2 (100) ทำ 5 อย่างรวมกันแล้วทำ 5
5 ครั้ง แม้ในวาระที่กล่าวทำ 5 รวมกัน เป็น 25 จึงมีธรรม 125 มีอรรถ
125 มีนิรุตติ คูณด้วย 2 (250) มีญาณคูณด้วย 2 (500).
บทว่า อฑฺฒเตยฺยานิ คือ มีนิรุตติ 250. แม้ในขันธ์เป็นต้นก็มี
นัยนี้เหมือนกัน.