เมนู

อรรถกถาวิราคกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งวิราคกถา
อันมีกล่าว คือ วิราคะ เป็นเบื้องต้นอันพระสาริบุตรเถระกล่าวไว้แล้ว ในลำดับ
แห่งเมตตากถาอันเป็นที่สุดแห่งการประกอบมรรค.
พึงทราบวินิจฉัยในวิราคกถานั้นก่อน. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะ
ชี้แจงอรรถแห่งบทพระสูตรทั้งสองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า เมื่อ
หน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมพ้น จึงตั้งอุเทศว่า วิราโค
มคฺโค วิมุตฺติ ผลํ
วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์ชี้แจงอรรถแห่งคำในวิราคกถานั้นก่อน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ วิราโค มคฺโค วิราคะเป็นมรรคอย่างไร. ใน
บทเหล่านั้น บทว่า วิรชฺชติ ย่อมคลาย คือ ปราศจากความกำหนัด. บทที่
เหลือมีอรรถดังกล่าวแล้วในมรรคญาณนิเทศ. บทว่า วิราโค ความว่า เพราะ
สัมมาทิฏฐิ ย่อมคลายความกำหนัด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิราคะ.
อนึ่ง วิราคะ (มรรค) นั้น เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์
ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ ฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ของคำทั้งหลาย
5 มีอาทิว่า วิราคารมฺมโณ (มีวิราคะ คือนิพพาน เป็นอารมณ์) อย่างนี้ว่า
วิราโค วิราคะ (มรรค). ในบทเหล่านั้น บทว่า วิราคารมฺมโณ คือ มี
นิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า วิราคโคจโร มีวิราคะเป็นโคจร คือ มีนิพพาน
เป็นวิสัย. บทว่า วิราเค สมุปาคโต เข้ามาประชุมในวิราคะ คือ เกิดพร้อม
กันในนิพพาน. บทว่า วิราเค ฐิโต ตั้งอยู่ในวิราคะ คือ ตั้งอยู่ในนิพพาน