เมนู

สพฺพา อิตฺถิโย รวมเป็นอัปปนา 28. อนึ่ง ในการแผ่ไปในทิศ อัปปนา
480 คือ อัปปนา 200 ทำอย่างละ 20 แห่งทิศหนึ่ง ๆ โดยนัยมีอาทิว่า
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก อัปปนา 280 ทำอย่างละ 28 แห่งทิศ
หนึ่ง ๆ โดยนัยมีอาทิว่า หญิงทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก อัปปนาทั้งหมด
ที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้รวมเป็นอัปปนา 528 ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง พึงทราบว่า
ท่านกล่าวแม้การแผ่กรุณามุทิตาอุเบกขา เหมือนท่านกล่าวการแผ่เมตตาโดย
3 อย่างฉะนั้น.

อรรถกถาอินทริยวาร


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอาการประมวลมาซึ่งเมต-
ตาและการอบรมอินทรีย์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สพฺเพสํ สตฺตานํ
ปีฬนํ วชฺเชตฺวา
เว้นความบีบคั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีฬนํ การบีบคั้น คือ บีบคั้นสรีระข้างใน.
บทว่า อุปฆาตํ การฆ่า คือ การฆ่าสรีระข้างนอก. บทว่า สนฺตาปํ การทำให้
เดือดร้อน คือ ทำใจให้เดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ. บทว่า ปริยาทานํ
ความย่ำยี คือ ความสิ้นชีวิตเป็นต้นโดยปกติ. บทว่า วิเหสํ เบียดเบียน
คือ เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น. บทว่า วชฺเชตฺวา เว้น คือ นำอย่างหนึ่ง ๆ ใน
การเบียดเบียนเป็นต้นออกไปจากจิตของตนเอง. ท่านกล่าวบท 5 มีการ
เบียดเบียนเป็นต้นเหล่านี้ ด้วยเว้นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการรวบรวมเมตตา.
บทว่า อปีฬนาย ด้วยไม่บีบคั้นเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยการรวบรวมเมตตา.

บทว่า อปีฬนาย พึงเชื่อมความว่า ประพฤติเมตตาในสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ
ไม่บีบคั้น. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
สามบทแม้เหล่านี้ว่า มา เวริโน มา ทุกฺขิโน มา ทุกฺขิตตฺตา
อย่าได้มีเวร อย่ามีทุกข์ อย่ามีตนเป็นทุกข์ เป็นคำปฏิเสธสิ่งเป็นปฏิปักษ์
ของการรวบรวมเมตตา. คำว่า มา คือ จงอย่ามี. สามบทว่า อเวริโน สุขิโน
สุขิตตฺตา
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความสุข มีตนเป็นสุข เป็นคำรวบรวมเมตตา.
สองบทนี้ว่า อพฺยาปชฺฌา อนีฆา จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์
พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์เข้าด้วยคำว่า สุขิโน จงมีความสุข.
บทว่า สุขิตตฺตา จงมีตนเป็นสุข แสดงความสุขนั้นเป็นไปเป็นนิจ.
อนึ่ง บทว่า สุขิตตฺตา และบทว่า สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ โดยอรรถ
เป็นอย่างเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงสงเคราะห์คำว่า ความไม่เบียดเบียนกัน
และไม่มีทุกข์ ด้วยบทมีอาทิว่า อปีฬนาย ด้วยไม่บีบคั้น. บทว่า อฏฺฐหากา-
เรหิ
ด้วยอาการ 8 เหล่านี้ คือ อาการรวบรวมเมตตา 5 มีอาทิว่า อปีฬนาย
อาการรวบรวมเมตตา 3 มีอาทิว่า อเวริโน โหนฺตุ. บทว่า เมตฺตายติ
ประพฤติด้วยความรัก คือ ความเยื่อใย. บทว่า ตํ ธมฺมํ เจตยติ คิดถึง
ธรรมนั้น คือ คิดติดต่อธรรมนั้นอันรวบรวมประโยชน์ อธิบายว่า ประพฤติ.
บทว่า สพฺพพฺยาปาทปริยุฏฺฐาเนหิ วิมุจฺจติ พ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐาน-
กิเลสทั้งปวง คือ พ้นจากการข่มด้วยความฟุ้งซ่านของพยาบาททั้งปวง อันเป็น
ปฏิปักษ์แห่งเมตตา. บทว่า เมตฺตา จ เจโตวิมุตฺติ จ เมตตาและเจโตวิมุตติ
คือ เมตตาอย่างเดียวเท่านั้น ท่านพรรณนาไว้ 3 อย่าง.
บท 3 บทเหล่านั้นคือ อเวริโน เขมิโน สุขิโน เป็นผู้ไม่มีเวร
มีความปลอดโปร่ง มีความสุข ท่านกล่าวสงเคราะห์อาการดังกล่าวแล้ว ใน

บทก่อนโดยสังเขป. อินทรีย์ 5 สัมปยุตด้วยเมตตา ท่านกล่าวแล้วโดยนัยมี
อาทิว่า สทฺธาย อธิมุจฺจติ น้อมใจไปด้วยศรัทธา.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระ 6 มีอาทิว่า อาเสวนา ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
อาเสวนา เพราะเสพเมตตา. ภาวนา พหุลีกรรมก็อย่างนั้น. บทว่า อลงฺการา
อลังการ คือ เครื่องประดับ. บทว่า สฺวาลงฺกตา ประดับด้วยดี คือ ประดับ
ตกแต่งด้วยดี. บทว่า ปริกฺขารา คือ สัมภาระทั้งหลาย. บทว่า สุปริกฺขตา
ปรุงแต่งด้วยดี คือ เก็บรวบรวมไว้ด้วยดี. บทว่า ปริวารา ด้วยอรรถว่า
รักษา. ท่านกล่าว 28 บทมีอาเสวนะเป็นต้นอีก เพื่อกล่าวถึงคุณของเมตตา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาริปูริ ทำให้เต็ม คือ ความบริบูรณ์. บทว่า สหคตา
คือ สหรคตด้วยปัญญา. บทว่า สหชาตา เป็นต้นก็อย่างนั้น. บทว่า
ปกฺขนฺทนา แล่นไป คือ เข้าไปด้วยเมตตา ชื่อว่า ปกฺขนฺทนา เพราะ
เป็นเหตุแล่นไปแห่งเมตตา. บทว่า สํสีทนา ความผ่องใสเป็นต้นก็อย่างนั้น.
บทว่า เอตํ สนฺตนฺติ ปสฺสนา เห็นว่านี้สงบ คือ เห็นว่าเมตตานี้สงบ
เพราะเหตุนั้น การเห็นว่านี้สงบเป็นนปุงสกลิงค์ ดุจในคำว่า เอตทคฺคํ
นี้เลิศ. บทว่า สิวาธิฏฺฐิตา อธิษฐานดีแล้ว คือ ตั้งไว้ด้วยดี. บทว่า สุสมุคฺคตา
ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว คือ ยกขึ้นแล้วด้วยดี. บทว่า สุวิมุตฺตา พ้นวิเศษแล้ว
คือ พ้นด้วยดีแล้วจากข้าศึกของตน ๆ. บทว่า นิพฺพตฺเตนฺติ คือ อินทรีย์
5 ประการ สัมปยุตด้วยเมตตายังเมตตาให้เกิด. บทว่า โชเตนฺติ ให้รุ่งเรือง
คือ ทำให้ปรากฏ. บทว่า ปตาเปนฺติ ให้สว่างไสว คือ ให้รุ่งโรจน์.
จบอรรถกถาอินทริยวาร

อรรถกถาพลาทิวารัตตยะ


พึงทราบแม้พลวารโดยนัยดังกล่าวแล้วในอินทริยวารนั่นแล. ท่าน
กล่าววาระองค์แห่งมรรคในโพชฌงค์ไว้โดยปริยาย มิได้กล่าวด้วยอำนาจตาม
ลักษณะ. ในวาระแห่งองค์มรรค ท่านกล่าวสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมา-
อาชีวะไว้ด้วยอำนาจแห่งส่วนเบื้องต้นของเมตตา มิใช่ด้วยอำนาจแห่งอัปปนา
เพราะธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดร่วมด้วยเมตตา. พึงทราบอรรถแม้แห่งวาระ
ที่เหลือมีอาทิว่า สพฺเพสํ ปาณานํ แห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงโดยนัยดังกล่าว
แล้วในวาระ 7 นั่นแล. ส่วนวิธีเจริญเมตตาพึงถือเอาจากวิสุทธิมรรค.
จบอรรถกถาพลาทิวารัตตยะ
จบอรรถกถาเมตตากถา