เมนู

ยุคนัทธวรรค เมตตากถา


สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยอานิสงส์และอาการแผ่เมตตา


[574] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพ
แล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ
อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ 11 ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ 11
ประการเป็นไฉน ? คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข 1 ตื่นเป็นสุข 1 ไม่
ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ 1 ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ 1 เทวดา
ย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศาสตราย่อมไม่กล้ำกลาย 1 จิตของผู้เจริญเมตตา
เป็นสมาธิได้รวดเร็ว 1 สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส 1 ย่อมไม่หลงใหล
กระทำกาละ 1 เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมแล้ว ปรารภดี
แล้ว อานิสงส์ 11 ประการนี้เป็นอันหวังได้.
[575] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจง
ก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ
เท่าไร ? แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร ? แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ
เท่าไร ? เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 แผ่ไปโดยเจาะ
จงด้วยอาการ 7 แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 เป็นไฉน ?

เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่ในสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ
ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไป
โดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 51 นี้.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ 7 เป็นไฉน ?
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารย-
ชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ 72 นี้.
[576] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10 เป็นไฉน?
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจง
เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์
ทั้งปวงในทิศประจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทัก-
ษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวง
ในทิศอีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอ
สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์
รักษาตนอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล
ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารย-

1. แผ่โดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 คือ 1. สพฺเพ สตฺตา 2. สพฺเพ ปาณา 3. สพฺเพ ภูตา
4. สพฺเพ ปุคฺคลา 5. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา
2. เจาะจงด้วยอาการ 7 คือ สพฺพา อิตฺถิโย 2. สพฺเพ ปุริสา 3. สพฺเพ อริยา 4. สพฺเพ
อนริยา 5. สพฺเพ เทวา 6. สพฺเพ มนุสฺสา 7. สพฺเพ วินิปาติกา.

ชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์
ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
ในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
พายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียนเบียดกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา
เจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10 นี้ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่สัตว์
ทั้งปวงด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง 1
ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง 1 ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์
ทั้งปวงให้เดือนร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง 1 ด้วยการเว้น
การเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง 1 ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
อย่าได้มีเวร 1 จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็น
ทุกข์ จิตชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่า
วิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็น
เจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ.
[577] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร
ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรม
แล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตา

ตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอัน
อบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นภาวนา
ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการ
นี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลทำให้
มากซึ่งเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นอลังการ
ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5
ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้
เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติดีแล้ว
ด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา
เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังกร เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์
เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป
เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นพิเศษ เป็นความเห็นว่า
นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน
ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง)
ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[578] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ด้วย
มนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด

ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่
หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่
มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญ
เมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ.
ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ
พละ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตา-
เจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้... เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนิน
ขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[579] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้
ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับ

ความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตา-
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า
ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า
ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ 7
ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติ
ด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้...เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำ
ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน
ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[580] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปรง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาทิฏฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้
ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญ
เมตตาย่อมกำหนดโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้ง
การงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโต-
วิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้
ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้
โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็น

อันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้
เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์
มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโต-
วิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้
องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็น
บริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์
มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยดีด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ องค์
มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ
เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็น
ความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตา-
เจโตวิมุตติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสม
แล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษ
แล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.

[581] เมตตาเจโตวิมุตติ แผ่ไปด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้น
ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า 1 ด้วยเว้นการทำให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี 1 ด้วยเว้นการ
เบียดเบียน ไม่เบียดเบียน 1 ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง
สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง
อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด 1 จงมีความสุข อย่า
มีความทุกข์เถิด 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด 1 จิตชื่อว่าเมตตา
เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุตติ
ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจ
ไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง
มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ
ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[582] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้น
ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า 1 ด้วยเว้นการทำให้
เดือดร้อน ไม่ให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี 1 ด้วยเว้นการ
เบียดเบียด ไม่เบียดเบียน 1 ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ใน
ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็น
ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด 1 จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด 1 จงมี
ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด 1 จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวง

ในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้น
จากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไป
ด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[583] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้น
ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า 1 ด้วยเว้นการทำให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี 1 ด้วยเว้นการ
เบียดเบียน ไม่เบียดเบียน 1 ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง
สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง
อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ใน
ทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศ
พายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด 1 จงมี
ความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด 1
จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต
เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลส
ทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตา-
เจโตวิมุตติ.
[584] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง

มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญ
เมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโต-
วิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตา
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็น
อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ 5
ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[585] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย
มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัทธาพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เมตตา-
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวใน
ความประมาท เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญ
เมตตาไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เมตตา-
อบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ 5 ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้
รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[586] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้นั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้

เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา
เลือกเฟ้นด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัม-
โพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอัน
อบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับ
ความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิ
สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ 7 ประการนี้ เป็น
อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ 7
ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[587] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดย
ชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา
กำหนดโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้
เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตา-
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความ
เพียรไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ

ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค
8 ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติ
ด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็น
ภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ
บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น
ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ
เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน
ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้
รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
จบเมตตากถา

อรรถกถาเมตตากถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งเมตตากถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น ดำเนินตามโพชฌงคกถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ในลำดับแห่งโพชฌงคกถา.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า อาเสวิตาย อัน
บุคคลเสพแล้ว คือ เสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ภาวิตาย คือ เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกตาย ทำให้มากแล้ว คือ ทำแล้วบ่อย ๆ. บทว่า ยานีกตาย
ทำให้เป็นดังยาน คือ ทำเช่นกับยานที่เทียมแล้ว. บทว่า วตฺถุกตาย ทำให้
เป็นที่ตั้ง คือ ทำดุจวัตถุเพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺฐิตาย ตั้งไว้
เนือง ๆ คือ ปรากฏแล้ว. บทว่า ปริจิตาย อบรมแล้ว คือ สะสมดำรงไว้
โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธาย ปรารภดีแล้ว คือ ปรารภแล้วด้วยดี ทำ
ด้วยดีแล้ว. บทว่า อานสํสา คือ คุณ. บทว่า ปาฏิกงฺขา หวัง คือ
พึงหวัง พึงปรารถนา.
บทว่า สุขํ สุปติ หลับเป็นสุข คือ หลับเป็นสุขไม่หลับเหมือนตน
ส่วนมาก กรนกลิ้งเกลือกไปมาหลับเป็นทุกข์ แม้ก้าวลงสู่ความหลับก็เป็น
เหมือนเข้าสมาบัติ. บทว่า สุขํ ปฏิพุชฺฌติ ตื่นเป็นสุข คือ ตื่นเป็นสุข
ไม่ผิดปกติ เหมือนดอกปทุมแย้ม ไม่ตื่นเหมือนคนอื่นที่ทอดถอนบิดกาย
พลิกไปมาตื่นเป็นทุกข์. บทว่า น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ ไม่ฝันลามก คือ
เมื่อฝันย่อมเห็นฝันอันเจริญ เหมือนไหว้พระเจดีย์ เหมือนทำการบูชา และ
เหมือนฟังธรรม ไม่เห็นความฝันลามกเหมือนคนอื่นฝันเห็นเหมือนถูกโจร