เมนู

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ


ในบทว่า กถํ สติ สมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ถ้าสติ
สัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร บทว่า โพชฺฌงฺโค ความว่า เมื่อ
พระโยคาวจรเข้าผลสมบัติ ทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นประธาน เมื่อโพชฌงค์อื่น
มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมมีอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่า เมื่อสติสัมโพช-
ฌงค์เป็นไปแล้วอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นมีอยู่อย่างไร.
บทว่า ยาวตา นิโรธุปฏฺฐาติ นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด คือ นิ-
โรธย่อมปรากฏโดยกาลใด อธิบาย นิพพานย่อมปรากฏโดยอารมณ์ในกาลใด.
บทว่า ยาวตา อจฺฉิ เปลวไฟมีเพียงใด คือ เปลวไฟมีโดยประมาณเพียงใด.
บทว่า กถํ อปฺปมาโณ อิติ เจ โหตีติ โพชฺฌงฺโค โพชฌงค์ในข้อว่า
สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นมีอยู่อย่างไร ความว่า เมื่อ
สติสัมโพชฌงค์แม้หาประมาณมิได้มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ก็ย่อมหาประมาณมิได้
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่าสติสัมโพชฌงค์หาประมาณมิได้นั้น
มีอยู่แก่พระโยคาวจรผู้เป็นไปแล้วอย่างไร. บทว่า ปมาณวนฺตา มีประมาณ
คือ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฺฐานกิเลส และสังขารอันทำให้เกิดภพใหม่ ชื่อว่า
มีประมาณ. ราคะเป็นต้น เพราะคำว่า ราคะ โทสะ โมหะ กระทำประมาณ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด การทำประมาณแก่ผู้นั้นว่า นี้ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า ประมาณ.
กิเลสเป็นต้น เป็นเครื่องผูกติดอาศัยในประมาณนั้น ชื่อว่า มีประมาณ. บทว่า
กิเลสา คือ เป็นอนุสัย. บทว่า ปริยุฏฺฐานา คือ กิเลสที่ถึงความฟุ้งซ่าน. บทว่า
สงฺขารา โปโนพฺภวิกา สังขารอันให้เกิดภพใหม่ คือ การเกิดบ่อย ๆ ชื่อว่า

ปุนัพภวะ. ชื่อว่า โปนพฺภวิกา เพราะมีภพใหม่เป็นปกติ การมีภพใหม่
นั่นแหละ ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา. สังขาร ได้แก่ กุศลกรรมและกุศลกรรม.
บทว่า อปฺปมาโณ หาประมาณมิได้ คือ ชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะไม่มี
ประมาณอันมีประมาณดังกล่าวแล้ว เพื่อความวิเศษจากนั้น เพราะแม้มรรค
และผลก็ไม่มีประมาณ. บทว่า อจลฏฺเฐน อสงฺขตฏฺเฐน เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว เพราะอรรถว่าเป็นอสังขตธรรมได้กล่าวไว้แล้ว ชื่อว่า ไม่หวั่น
ไหว เพราะไม่มีความดับ ชื่อว่า เป็นอสังขตะ เพราะไม่มีปัจจัย จริงอยู่ ทั้ง
ไม่หวั่นไหว ทั้งเป็นสังขตะปราศจากประมาณอย่างยิ่ง.
บทว่า กถํ สุสมารทฺโธ อิติ เม โหตีติ โพชฺฌงฺโค สติสัม-
โพชฌงค์ ชื่อว่า เราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร คือ พึงประกอบโดยนัยดัง
กล่าวแล้วในลำดับ. บทว่า วิสมา ไม่เสมอ ชื่อว่า วิสมา เพราะไม่เสมอ
เอง และเพราะเป็นเหตุแห่งความไม่เสมอ. บทว่า สทฺธมฺโม ชื่อว่า ธรรม
เสมอ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นธรรมประณีต ชื่อว่า สงบ เพราะ
ไม่มีประมาณ ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง
เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตธรรมก็ดี
อสังขตธรรมก็ดีมีประมาณเพียงใด เรากล่าววิราคะว่าเป็นธรรมเลิศกว่าธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น. ปรารภแล้วในธรรมเสมอด้วยดีดังกล่าวแล้วว่าในสมธรรม
นั้น ชื่อว่า สุสมารทฺโธ ปรารภแล้วด้วยดี. บทว่า อาวชฺชิตตฺตา เพราะ
ความนึกถึง ท่านกล่าวหมายถึงกาลอันเป็นไปแล้วด้วยผลสมบัติ ท่านอธิบาย
ไว้ว่า เพราะมโนทวาราวัชชนะเกิดขึ้นแล้วในนิพพานกล่าวคือ อนุบปาทาทิ
(นิพพานอันไม่มีความเกิด) เป็นต้น. บทว่า ติฏฺฐติ ตั้งอยู่ คือ เป็นไปอยู่.
บทว่า อุปฺปาทํ (ความเกิด) เป็นต้น มีอรรถดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
ในวาระแม้ที่เป็นโพชฌงค์มูลกะที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาโพชฌงคกถา

ยุคนัทธวรรค เมตตากถา


สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยอานิสงส์และอาการแผ่เมตตา


[574] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพ
แล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ
อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ 11 ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ 11
ประการเป็นไฉน ? คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข 1 ตื่นเป็นสุข 1 ไม่
ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ 1 ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ 1 เทวดา
ย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศาสตราย่อมไม่กล้ำกลาย 1 จิตของผู้เจริญเมตตา
เป็นสมาธิได้รวดเร็ว 1 สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส 1 ย่อมไม่หลงใหล
กระทำกาละ 1 เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมแล้ว ปรารภดี
แล้ว อานิสงส์ 11 ประการนี้เป็นอันหวังได้.
[575] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจง
ก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ
เท่าไร ? แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร ? แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ
เท่าไร ? เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 แผ่ไปโดยเจาะ
จงด้วยอาการ 7 แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 เป็นไฉน ?