เมนู

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ


ในบทว่า กถํ สติ สมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ถ้าสติ
สัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร บทว่า โพชฺฌงฺโค ความว่า เมื่อ
พระโยคาวจรเข้าผลสมบัติ ทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นประธาน เมื่อโพชฌงค์อื่น
มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมมีอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่า เมื่อสติสัมโพช-
ฌงค์เป็นไปแล้วอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นมีอยู่อย่างไร.
บทว่า ยาวตา นิโรธุปฏฺฐาติ นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด คือ นิ-
โรธย่อมปรากฏโดยกาลใด อธิบาย นิพพานย่อมปรากฏโดยอารมณ์ในกาลใด.
บทว่า ยาวตา อจฺฉิ เปลวไฟมีเพียงใด คือ เปลวไฟมีโดยประมาณเพียงใด.
บทว่า กถํ อปฺปมาโณ อิติ เจ โหตีติ โพชฺฌงฺโค โพชฌงค์ในข้อว่า
สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นมีอยู่อย่างไร ความว่า เมื่อ
สติสัมโพชฌงค์แม้หาประมาณมิได้มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ก็ย่อมหาประมาณมิได้
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่าสติสัมโพชฌงค์หาประมาณมิได้นั้น
มีอยู่แก่พระโยคาวจรผู้เป็นไปแล้วอย่างไร. บทว่า ปมาณวนฺตา มีประมาณ
คือ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฺฐานกิเลส และสังขารอันทำให้เกิดภพใหม่ ชื่อว่า
มีประมาณ. ราคะเป็นต้น เพราะคำว่า ราคะ โทสะ โมหะ กระทำประมาณ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด การทำประมาณแก่ผู้นั้นว่า นี้ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า ประมาณ.
กิเลสเป็นต้น เป็นเครื่องผูกติดอาศัยในประมาณนั้น ชื่อว่า มีประมาณ. บทว่า
กิเลสา คือ เป็นอนุสัย. บทว่า ปริยุฏฺฐานา คือ กิเลสที่ถึงความฟุ้งซ่าน. บทว่า
สงฺขารา โปโนพฺภวิกา สังขารอันให้เกิดภพใหม่ คือ การเกิดบ่อย ๆ ชื่อว่า