เมนู

อรรถกถามูลมูลกาทิทสกกถา


พึงทราบวินิจฉัยในมูลมูลกทสกะมีอาทิว่า มูลฏฺเฐน ดังต่อไปนี้. บทว่า
มูลฏฺเฐน เพราะอรรถว่าเป็นมูล คือ ในวิปัสสนาเป็นต้น เพราะอรรถว่า
โพชฌงค์ก่อน ๆ เป็นมูลของโพชฌงค์หลัง ๆ ของสหชาตธรรม และของกัน
และกัน. บทว่า มูลจริยฏฺเฐน เพราะอรรถว่า ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล
คือ ประพฤติเป็นไปเป็นมูล ชื่อว่า มูลจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเป็น
มูลนั้น อธิบายว่า เพราะอรรถว่าเป็นมูลแล้วจึงเป็นไป. บทว่า มูลปริคฺ-
คหฏฺเฐน
เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล คือ โพชฌงค์เหล่านั้นชื่อว่า
กำหนด เพราะกำหนดเพื่อต้องการให้เกิดตั้งแต่ต้น การกำหนดมูลนั่นแหละ
ชื่อว่า มูลปริคฺคหา เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมที่เป็นมูลนั้น เพราะอรรถว่า
มีธรรมเป็นบริวาร ด้วยเป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่ามีธรรม
บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา เพราะอรรถว่ามีธรรมแก่กล้า ด้วยให้บรรลุ
ความสำเร็จ. ชื่อว่า มูลปฏิสมฺภิทา แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะมูล
6 อย่างเหล่านั้น และชื่อว่าปฏิสัมภิทา เพราะแตกฉานในประเภท เพราะ
อรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล. บทว่า มูลปฏิสมฺภิทาปาปนฏฺเฐน
เพราะอรรถว่า ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล คือ เพราะอรรถว่า
ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายในการ
เจริญโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เจริญความชำนาญ ด้วยความแตกฉานใน
ธรรมอันเป็นมูลนั้น ของพระโยคาวจรนั้นนั่นเอง. ในโวหารของบุคคลเช่นนี้
แม้ที่เหลือ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้.
พึงทราบว่า โพชฌงค์เป็นผลในการไม่กล่าวถึงความสำเร็จแม้เช่นนี้ ในบทว่า
มูลปฏิสมฺภิทาย วสีภาวปตฺตานมฺปิ แม้ของผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานธรรมอันเป็นมูล. ปาฐะว่า วสีภาวํ ปตฺตานํ ของผู้ถึงความชำนาญ
บ้าง.
จบมูลมูลกทสกะ