เมนู

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด 1 ด้วย
ความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงความเป็นไป 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิมิต 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต 1 ด้วยความนึกถึงสังขาร 1 ด้วยความ
ไม่นึกถึงนิโรธ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 นี้ เมื่อเรา
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้
เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้.
จบโพชฌงคกถา

อรรถกถาโพชฌงคกถา


บัดนี้ จะพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโพชฌงค-
กถาอันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษ
ของโพชฌงค์ให้สำเร็จการแทงตลอดสัจจะตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โพชฺฌงฺคา
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือแห่งบุคคลผู้
ตรัสรู้. พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีอันได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ
วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค
เป็นปฏิปักษ์แห่งอันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตั้งอยู่รวบรวม
ประกอบกามสุข ทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิและความถือมั่น
เป็นต้น เพื่อเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โพธิ ผู้ตรัสรู้. บทว่า พุชฺฌติ

ย่อมตรัสรู้ ท่านอธิบายว่า ออกจากความหลับอันเป็นสันดานของกิเลส หรือ
แทงตลอดอริยสัจ 4 หรือทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว
ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้ อันได้แก่ธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น.
แม้พระอริยสาวกใดย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนั้นมีประการตามที่กล่าวแล้ว
ท่านเรียกพระอริยสาวกนั้นว่า โพธิ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่ง
ผู้ตรัสรู้นั้น ดุจองค์เสนาและองค์รถเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. ท่าน
กล่าวอรรถแห่งสติสัมโพชฌงค์เป็นต้นไว้ในอภิญเญยยนิเทศ.
พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌังคัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า โพธิยํ
สํวตฺตนฺติ
ย่อมเป็นไปในความตรัสรู้ คือ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การ
ตรัสรู้. เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของใคร. เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของ
ผู้มีกิจอันทำแล้วด้วยการพิจารณานิพพานด้วยมรรคและผล หรือเพื่อประโยชน์
แก่การตื่นจากความหลับ เพราะกิเลส ท่านอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ความ
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยผล. โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ แม้มีวิปัสสนาเป็น
กำลัง. นี้เป็นอธิบายทั่วไปของโพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนามรรคและผล. โพชฌงค์
เหล่านั้นย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ในฐานะ 3 เพื่อแทงตลอดนิพพาน. ด้วย
บทนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงคำว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้. ที่
เกิดของโพชฌงค์ ท่านกล่าวไว้ด้วยจตุกะ 5 มีอาทิว่า พุชฺฌนฺตีติ โพชฺฌงฺคา
ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ ท่านกล่าวไว้ในอภิญเญยยนิเทศ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พุชฺฌนฺติ ชี้แจงถึงผู้ทำ เพื่อให้เห็นความเป็นผู้สามารถ

ในการทำกิจของตนแห่งโพชฌงค์. บทว่า พุชฺฌนฏฺเฐน เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้ แม้ความเป็นผู้สามารถในการทำกิจของตนมีอยู่ ก็ชี้แจงถึงภาวะเพื่อ
ให้เห็นความไม่มีผู้ทำ. บทว่า โพเธนฺติ ให้ตรัสรู้ เมื่อพระโยคาวจรตรัสรู้
ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ชี้แจงถึงเหตุกัตตา (ผู้ใช้ให้ทำ) แห่งโพชฌงค์ เพราะ
เป็นผู้ประกอบ. บทว่า โพธนฏฺเฐน เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ คือ ชี้แจงถึง
ภาวะของผู้ใช้ให้ทำ เพราะเป็นผู้ประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วครั้งแรกนั่นแหละ.
บทว่า โพธิปกฺขิยฏฺเฐน เพราะอรรถว่าเป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ คือ เพราะ
เป็นไปในฝ่ายของพระโยคาวจรผู้ได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้.
นี้เป็นการชี้แจงความที่โพชฌงค์เหล่านั้นเป็นอุปการะแก่พระโยคาวจร. ด้วยบท
เหล่านี้ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้. พึงทราบ
วินิจฉัยในลักษณะมีอาทิว่า พุทฺธิลภนฏฺเฐน เพราะอรรถให้ได้ความตรัสรู้.
บทว่า พุทฺธิลภนฏฺเฐน คือ เพราะอรรถให้พระโยคาวจรถึงความตรัสรู้.
บทว่า โรปนฏฺเฐน เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ คือ เพราะอรรถให้สัตว์
ทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า ปาปนฏฺเฐน เพราะอรรถให้ถึงความตรัสรู้ คือ
เพราะอรรถให้สำเร็จความที่ให้สัตว์ดำรงอยู่.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนาเหล่านี้ คือโพชฌงค์
เป็นมรรคผลต่างกันด้วยอุปสรรค 3 ศัพท์ คือ ปฏิ-อภิ-สํ เฉพาะ-ยิ่ง-พร้อม.
พึงทราบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
โพชฌงค์ทั้งหลายท่านชี้แจงไว้ด้วยธรรมโวหารแม้ทั้งหมด.

อรรถกถามูลมูลกาทิทสกกถา


พึงทราบวินิจฉัยในมูลมูลกทสกะมีอาทิว่า มูลฏฺเฐน ดังต่อไปนี้. บทว่า
มูลฏฺเฐน เพราะอรรถว่าเป็นมูล คือ ในวิปัสสนาเป็นต้น เพราะอรรถว่า
โพชฌงค์ก่อน ๆ เป็นมูลของโพชฌงค์หลัง ๆ ของสหชาตธรรม และของกัน
และกัน. บทว่า มูลจริยฏฺเฐน เพราะอรรถว่า ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล
คือ ประพฤติเป็นไปเป็นมูล ชื่อว่า มูลจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเป็น
มูลนั้น อธิบายว่า เพราะอรรถว่าเป็นมูลแล้วจึงเป็นไป. บทว่า มูลปริคฺ-
คหฏฺเฐน
เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล คือ โพชฌงค์เหล่านั้นชื่อว่า
กำหนด เพราะกำหนดเพื่อต้องการให้เกิดตั้งแต่ต้น การกำหนดมูลนั่นแหละ
ชื่อว่า มูลปริคฺคหา เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมที่เป็นมูลนั้น เพราะอรรถว่า
มีธรรมเป็นบริวาร ด้วยเป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่ามีธรรม
บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา เพราะอรรถว่ามีธรรมแก่กล้า ด้วยให้บรรลุ
ความสำเร็จ. ชื่อว่า มูลปฏิสมฺภิทา แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะมูล
6 อย่างเหล่านั้น และชื่อว่าปฏิสัมภิทา เพราะแตกฉานในประเภท เพราะ
อรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล. บทว่า มูลปฏิสมฺภิทาปาปนฏฺเฐน
เพราะอรรถว่า ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล คือ เพราะอรรถว่า
ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายในการ
เจริญโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เจริญความชำนาญ ด้วยความแตกฉานใน
ธรรมอันเป็นมูลนั้น ของพระโยคาวจรนั้นนั่นเอง. ในโวหารของบุคคลเช่นนี้
แม้ที่เหลือ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้.
พึงทราบว่า โพชฌงค์เป็นผลในการไม่กล่าวถึงความสำเร็จแม้เช่นนี้ ในบทว่า
มูลปฏิสมฺภิทาย วสีภาวปตฺตานมฺปิ แม้ของผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานธรรมอันเป็นมูล. ปาฐะว่า วสีภาวํ ปตฺตานํ ของผู้ถึงความชำนาญ
บ้าง.
จบมูลมูลกทสกะ