เมนู

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด 1 ด้วย
ความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงความเป็นไป 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิมิต 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต 1 ด้วยความนึกถึงสังขาร 1 ด้วยความ
ไม่นึกถึงนิโรธ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 นี้ เมื่อเรา
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้
เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้.
จบโพชฌงคกถา

อรรถกถาโพชฌงคกถา


บัดนี้ จะพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโพชฌงค-
กถาอันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษ
ของโพชฌงค์ให้สำเร็จการแทงตลอดสัจจะตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โพชฺฌงฺคา
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือแห่งบุคคลผู้
ตรัสรู้. พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีอันได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ
วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค
เป็นปฏิปักษ์แห่งอันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตั้งอยู่รวบรวม
ประกอบกามสุข ทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิและความถือมั่น
เป็นต้น เพื่อเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โพธิ ผู้ตรัสรู้. บทว่า พุชฺฌติ