เมนู

อรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ


(แสดงถึงอัตตานุทิฏฐิ)


พึงทราบวินิจฉัยในอัตตานุทิฏฐิ ดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสุตวา
ปุถุชฺชโน
. (ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ) คือ ผู้ควรรู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษา
เล่าเรียนและการบรรลุ. ผู้ที่ชื่อว่าไม่มีการศึกษา ทำการปฏิเสธอัตตานุทิฏฐิ
เพราะปราศจากการเล่าเรียน การสอบถามและการวินิจฉัย ในขันธ์ ธาตุ
อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการและสติปัฏฐานเป็นต้น. และผู้ที่ชื่อว่าไม่บรรลุ เพราะ
ไม่บรรลุข้อปฏิบัติที่ควรบรรลุ. ชื่อว่าเป็นไญยบุคคลผู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มี
การศึกษาและการบรรลุ.
จริงอยู่ บทว่า สุตํ (สดับแล้ว) คือ มีการศึกษาพุทธวจนะ และบรรลุ
ด้วยการกล่าวถึงเหตุ เพราะมีสุตะเป็นผล ชื่อว่า สุตวา ผู้สดับเพราะมีสุตะ
นั้น ผู้ไม่มีสุตะ ชื่อว่าผู้ไม่ได้สดับ. บุคคลผู้ไม่ได้สดับนี้นั้น
เป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น
ชนนี้เป็นผู้ชื่อว่า มีกิเลสหนาเพราะเป็นผู้ยังกิเลสหนา
ให้เกิดขึ้นหยั่งลงถึงภายใน.

จริงอยู่ ชนนั้นเป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสเป็นต้น อันหนามีประการ
ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนา
ให้เกิดขึ้น, เพราะกำจัดสักกายทิฏฐิอันหนาไม่ได้, เพราะเห็นแก่หน้าของศาสดา
ทั้งหลายเป็นอันมาก, เพราะร้อยรัดไว้ด้วยคติต่าง ๆ เป็นอันมาก เพราะปรุง
แต่งอภิสังขารต่าง ๆ มาก, เพราะถูกห้วงคือกิเลสต่าง ๆ มากพัดพาไป เพราะ

เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก, เพราะถูกความเร่าร้อนต่าง ๆ
เป็นอันมากเผาผลาญ, เพราะกำหนัดอยากยินดี สยบ ซบ ติด คล้อง พัวพัน
ในกามคุณ 5 เป็นอันมาก, เพราะกั้น ล้อม ขัดขวาง ปิด ปกปิด ครอบ
ด้วยนิวรณ์ 5 เป็นอันมาก.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นชนมีความประพฤติธรรมต่ำหยั่ง
ลงในภายใน มีการเบือนหน้าจากอริยธรรม จะเลยการนับครั้งที่หนึ่งเป็นอันมาก
หรือเพราะชนนี้มากแยกพวกออกไปไม่สมาคมกับพระอริยะผู้ประกอบด้วยคุณ
มีศีลและสุตะเป็นต้น.
ด้วยบท 2 บทเหล่านั้นว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ท่านกล่าวปุถุชน
2 จำพวกว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึง
ปุถุชนไว้ 2 จำพวก คือ อันธปุถุชน 1 กัลยาณปุถุชน 1.

ในปุถุชน 2 จำพวกนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงอันธปุถุชน. บทว่า
อริยา ในบทมีอาทิว่า อริยานํ อทสฺสาวี ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและพระพุทธสาวกทั้งหลายท่านกล่าวว่า
เป็นอริยะ ในที่นี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นเป็นอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจาก
กิเลส เพราะไม่ทรงนำไปในทางเสื่อม เพราะทรงนำไปในทางเจริญ เพราะ
ยังโลกพร้อมด้วยเทวโลกให้พ้นทุกข์. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ เรากล่าวว่า ตถาคตเป็น
อริยะ.
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระตถาคต พึงทราบว่า
เป็นสัตบุรุษ ในบทว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ท่านเหล่านั้นชื่อว่า เป็นสัตบุรุษ

เพราะเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้น
ทั้งหมด ท่านก็กล่าวไว้ทั้งสองอย่าง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลาย แม้พระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นทั้งพระอริยะและเป็นทั้ง
สัตบุรุษ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ผู้ใดแลเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์
เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง ย่อมทำ
กิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ นักปราชญ์ทั้งหลาย
ย่อมกล่าวถึงผู้เป็นอย่างนั้นว่า เป็นสัตบุรุษ

ในบทนี้ ท่านกล่าวพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้กตัญญูกตเวทีเป็น
นักปราชญ์ ท่านกล่าวพระพุทธสาวกว่าเป็น กัลยาณมิตรและเป็นผู้มีความ
ภักดีมั่นคง กล่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ย่อมทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยความ
เคารพ.
บัดนี้ พึงทราบว่า ผู้ที่ปกติไม่เห็นพระอริยะเหล่านั้น และไม่ทำความดี
ในการเห็นว่า เป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย. อนึ่ง ผู้นั้นมี 2 อย่างคือ
ไม่เห็นด้วยจักษุ ไม่เห็นด้วยญาณ 1 ใน 2 อย่างนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์
เอาไม่เห็นด้วยญาณ. จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลาย แม้เห็นด้วยมังสจักษุ หรือ
ด้วยทิพยจักษุก็ไม่เป็นอันเห็น เพราะจักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี เพราะไม่เป็น
อารมณ์แห่งความเป็นอริยะ. เพราะว่า แม้สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น
ก็เห็นพระอริยะด้วยจักษุ. ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะ. เพราะฉะนั้น
การเห็นด้วยจักษุ จึงไม่เป็นการเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้น จึงเป็นการเห็น.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอ
เห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา.

เพราะฉะนั้น แม้เห็นด้วยจักษุ ก็มิได้เห็นด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น
ที่พระอริยะเห็นแล้วด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึง
ทราบว่า ชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย เพราะไม่เห็นความเป็นอริยะของ
ธรรมอันทำให้เป็นอริยะ.
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในธรรมของอริยะ
คือไม่ฉลาดในอริยธรรม อันมีสติปัฏฐานเป็นต้น. อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยใน
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะนี้
ดังต่อไปนี้
ชื่อว่าวินัยนี้ 2 อย่าง ในวินัย 2 อย่างนี้ วินัย
ข้อหนึ่ง ๆ มี 5 อย่าง เพราะไม่มีวินัยนั้น ท่านจึง
กล่าวว่าผู้นี้ไม่ได้รับแนะนำ.

จริงอยู่ วินัยนี้มี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย 1 ปหานวินัย 1. ในวินัยแม้
2 อย่างนี้วินัยข้อหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น 5 อย่าง.
แม้สังวรวินัยก็มี 5 อย่าง คือ ศีลสังวร 1 สติสังวร 1 ญาณสังวร 1
ขันติสังวร 1 วีริยสังวร 1.
แม้ปหานวินัยก็มี 5 อย่าง คือ ตทังคปหาน 1 วิกขัมภนปหาน 1
สมุจเฉทปหาน 1 ปฏิปัสสัทธิปหาน 1 นิสสรณปหาน 1.
ในสังวรวินัยนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุเข้าถึง เข้าถึง
พร้อมด้วยปาฏิโมกขสังวร นี้ ชื่อว่า ศีลสังวร. ภิกษุ รักษาจักขุนทรีย์ถึงความ
สำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ ชื่อว่า สติสังวร.
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติ
ว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นย่อม
ปิดได้ด้วยปัญญา.

นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. เป็นผู้อดทนต่อหนาวและร้อน นี้ ชื่อว่า ขันติสังวร
ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วทับถมได้ นี้ชื่อว่า วีริยสังวร.
สังวรแม้ทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวว่า สํวร เพราะสำรวมกายทุจริตเป็นต้น
ที่ควรสำรวม และที่ควรกำจัดออกไปตามหน้าที่ของตน. ท่านกล่าวว่า วินัย
เพราะกำจัดออกไป. พึงทราบสังวรวินัยแบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง การละสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น ๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะ
เป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณมีกำหนดนามรูปเป็นต้น ดุจละความมืดด้วยแสง
ประทีปฉะนั้น เช่นการละสักกายทิฏฐิด้วยกำหนดนามรูป ละความเห็นว่า
ไม่มีเหตุและเป็นเหตุลุ่ม ๆ ดอน ๆ ด้วยกำหนดปัจจัย ละความสงสัยด้วย
ข้ามพ้นความสงสัย ละการถือว่า เป็นเรา เป็นของเราด้วยพิจารณาเป็นกอง ๆ
ละความสำคัญในสิ่งไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและมิใช่มรรค
ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นความเกิด ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม ละความ
สำคัญในสิ่งมีภัยว่า ไม่มีภัย ด้วยการเห็นภัย ละความสำคัญในสิ่งที่น่าพอใจ
ด้วยการเห็นโทษ ละความสำคัญในสิ่งที่น่ายินดีด้วยการพิจารณาเห็นความ
เบื่อหน่าย ละความใคร่ในอันที่จะไม่พ้นไป ด้วยญาณคือความใคร่ในอันที่จะ
พ้นไป ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละความโต้แย้งต่อสิ่งที่ตั้งอยู่
โดยธรรมและโต้แย้งนิพพาน ด้วยอนุโลมญาน (กำหนดรู้ด้วยการคล้อยตาม)
ละความยึดถือในนิมิตสังขาร ด้วยโคตรภูญาณ (ญาณข้ามพ้นโคตรปุถุชน)
นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเหล่านั้น ๆ เพราะป้องกันความเป็นไป
ด้วยสมาธิอันเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ดุจทำลายสาหร่ายบนหลังน้ำ
ด้วยการเกลี่ยให้กระจายไป นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.

การละความยึดถือกิเลสอันเป็นฝ่ายแห่งสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตน ๆ โดยมรรคนั้น ๆ เพราะเจริญ
อริยมรรค 4 แล้วโดยความไม่ให้เป็นไปอีกต่อไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.
ความที่กิเลสทั้งหลายสงบ ในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
การดับอันเป็นการละเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด เพราะสลัดเครื่องปรุง-
แต่งทั้งหมดได้แล้ว นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
ก็ปหานทั้งหมดนี้ชื่อว่าปหาน เพราะอรรถว่า สละ ชื่อว่า วินัย
เพราะอรรถว่า แนะนำให้วิเศษ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย. อีก
อย่างหนึ่ง ปหานนี้เรียกว่า ปหานวินัย เพราะละอกุสลนั้น ๆ เพราะมีวินัยนั้น ๆ.
แม้ปหานวินัยพึงทราบว่าแบ่งออกเป็น 5 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยสังเขปมี 2 อย่าง อย่างนี้ และโดยประเภทมี 10 อย่าง
ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เพราะขาดสังวรแสะเพราะไม่ละสิ่งที่ควรละฉะนั้น
ปุถุชนนี้ท่านจึงกล่าวว่าไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. แม้ในบทว่า
สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม
อวินีโต
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษนี้ก็มีนัยนี้. โดยความบทนี้ ไม่มีเหตุ
ต่างกันเลย.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ. ผู้ใดเป็น
สัตบุรุษผู้นั้นเป็นอริยะ. ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ. ธรรม
ใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัย
นั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ. วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของ
พระอริยะ. รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของ

สัตบุรุษก็ดี วินัยของอริยะก็ดี วินัยของสัตบุรุษก็ดีเหล่านั้น เป็นอันเดียวกัน
ตั้งอยู่ในที่เดียวกันเสมอกันเสมอภาคกัน เกิดในที่นั้นเหมือนกันด้วยประการ
ฉะนี้.
ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามว่า อัตตานุทิฏฐิมีความเห็นผิดด้วย
อาการ 20 เป็นไฉน แล้วไม่เเก้คำถามนั้นกลับอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ปุถุชน
ในโลกนี้ไม่ได้สดับดังนี้. พึงทราบว่า พระเถระเพื่อจะทำความนั้นให้แจ่มแจ้ง
ด้วยเทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงอ้างถึงปุถุชนก่อน.
พระเถระครั้นอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงถึงอุเทศ
แห่งการถือผิด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ปุถุชนย่อม
เห็นรูปโดยความเป็นตนดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า รูปํ อตฺตโต
สมนุปสฺสติ
ความว่า ย่อมเห็นรูปขันธ์และกสิณรูปโดยเห็นด้วยทิฏฐิว่าเป็น
ตัวตน. แต่ในนิเทศพึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงรูปนั้นว่า การถือผิดใน
รูปขันธ์ของปุถุชนนั้นปรากฏเพราะอธิการแห่งเบญจขันธ์ แล้วกล่าวถึงกสิณรูป
โดยเป็นสามัญว่า รูป.
บทว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ (เห็นตนว่ามีรูป) คือถือสิ่งไม่มีรูปว่า
ตัวตน แล้วเห็นตนนั้นว่ามีรูป.
บทว่า อตฺตนิ วา รูปํ (เห็นรูปในตน) คือถือสิ่งไม่มีรูปนั่นแลว่า
ตัวตน แล้วเห็นรูปในตนนั้น.
บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตานํ (เห็นตนในรูป ) คือถือสิ่งไม่มีรูป
นั่นแลว่า ตัวตน แล้วเห็นตนนั้นในรูป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เป็นรูปอย่างเดียว
ท่านกล่าวว่าเป็นตัวตน. สิ่งไม่ใช่รูปในฐานะ 7 เหล่านี้ คือ เห็นตนว่ามีรูป 1
เห็นรูปในตน 1 เห็นตนในรูป 1 เห็นเวทนา 1 สัญญา สังขาร 1 วิญญาณ 1
โดยความเป็นตน ท่านกล่าวว่า เป็นตัวตน.
ท่านกล่าวถึงตัวตนปนด้วยรูปและอรูปในฐานะ 12 อย่างด้วยอำนาจ
แห่งเวทนา 3 ในขันธ์ 4 อย่างนี้ว่า เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน
เห็นตนในเวทนา อนึ่ง ทิฏฐิแม้ 20 เหล่านั้น ห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์
ทำลายเสียด้วยโสดาปัตติมรรค.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะชี้แจงถึงรูปนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ รูปํ
เห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐวีกสิณํ ได้แก่ ปฐวีกสิณอันเป็นปฏิภาค
นิมิตให้เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีมณฑล โดยการแผ่ไปทั่ว. บทว่า อหํ ท่าน
หมายถึงตนนั่นเอง. บทว่า อตฺตํ คือตน. บทว่า อทฺวยํ ไม่เป็นสอง คือ
หนึ่งนั่นเอง. บทว่า เตลปฺปทีปสฺส คือประทีปมีน้ำมัน. บทว่า ฌายโต
คือ ลุกโพลงอยู่. บทมีอาทิว่า ยา อจฺฉิ โส วณฺโณ เปลวไฟอันใด
แสงสว่างก็อันนั้น ท่านกล่าวเพราะปราศจากเปลวไฟเสียเเล้วก็ไม่มีแสงสว่าง.
บทว่า ยา จ ทิฏฺฐิ ยญฺจ วตฺถุ ทิฏฐิและวัตถุ อธิบายว่า
ท่านทำทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ.
อาโปกสิณเป็นต้น เป็นกสิณนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยน้ำเป็นต้น. อนึ่ง
อากาศกสิณที่กำหนดไว้ แม้เป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน เมื่อท่านกล่าวว่าเป็น
อากาศกสิณ เป็นอันระคนแล้วด้วยอารมณ์แห่งอรูปฌาน อันเป็นกสิณุคฆาฏิมากาศ

เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า ท่านจึงไม่ถือเอา. เพราะอธิการแห่งรูปจึงไม่ควร
ถือเอาวิญญาณกสิณโดยแท้ฉะนี้แล.
บทว่า อิเธกฺจโจ เวทนํ สญฺญํ สงฺขาเร วิญฺญาณํ อตฺตโต
สมนุปสฺสติ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ โดยความเป็นตน ท่านไม่แยกขันธ์ แล้วกล่าวด้วยสามารถการถือ
รวมกัน. จริงอยู่ เพราะไม่สามารถแยกจิตและเจตสิกไว้ต่างหากกันได้ จึงทำ
ขันธ์ทั้งหมดรวมกันแล้วถือเอาว่าเป็นตัวตน.
ในบทว่า อิมินา รูเปน รูปวา มีรูปด้วยรูปนี้ ย่อมได้สรีรรูปบ้าง
กสิณรูปบ้าง. บทว่า ฉายาสมฺปนฺโน (ต้นไม้มีเงา) คือต้นไม้ไม่งอกงาม
ถึงพร้อมด้วยเงา. ศัพท์ว่า เอน ในบทนี้ว่า ตเมน เป็นเพียงนิบาต เป็น
ตเมตํ บ้าง. บทว่า ฉายาว คือมีเงา. ท่านกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็น
วัตถุ เพราะแม้เมื่อไม่ถือว่ารูปเป็นตัวตนก็ไม่ปล่อยรูป จึงเกิดขึ้นด้วยทิฏฐิ.
บทว่า อตฺตนิ รูปํ สมนุปสฺสติ คือเห็นรูปนั้นในตนอันเป็นกอง
แห่งอรูปนั้น เพราะสรีรรูปและกสิณรูปอาศัยจิต. บทว่า อยํ คนฺโธ นี้
กลิ่นหอม กล่าวถึงกลิ่นที่สูดเข้าไป. บทว่า อิมสฺมึ ปุปเผ ในดอกไม้นี้
กล่าวอย่างนี้เพราะกลิ่นหอมอาศัยดอกไม้.
บทว่า รูปสฺมึ อตฺตานํ สมนุปสฺสติ เห็นตนในรูป คือรูปไป
ณ ที่ใด จิตย่อมไป ณ ที่นั้น. เพราะฉะนั้นยึดจิตอาศัยรูปแล้ว เห็นตนอัน
เป็นกองอรูปนั้น ในรูปนั้น. ท่านกล่าวถึงหีบรองรับของหยาบ เพราะรูปเป็น
ของหยาบ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อิเธกฺจโจ จกฺขุสมฺผสฺสชํ เวทนํ
(บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา) ความว่า แม้

เมื่อไม่มีการยึดถือทิฏฐิในเวทนาต่างหากกัน ก็ยึดถือโดยถือเป็นอันเดียวกันว่า
เวทนา เพราะเวทนาทั้งปวงหยั่งลงในภายใน จึงเป็นอันถือเอาต่างหากกัน
เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านประกอบไว้ต่างหากกัน. เพราะปุถุชนนั้น
ย่อมถือเวทนานั่นแลว่าเป็นตัวตน เพราะเวทนาเป็นของหยาบด้วยอำนาจการ
เสวย.
บทว่า สญฺญํ สงฺขาเร วิญฺญาณํ รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ
ปุถุชนย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน ความว่า
ทำอรูปธรรม มีสัญญาเป็นต้น และรูปรวมกันแล้วเห็นว่าเป็นตัวตน เพราะ
ปุถุชนย่อมถือตามที่ปรากฏ ดุจคนบ้าฉะนั้น.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชํ สญฺญํ มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อม
ถือสัญญาว่าเป็นตัวตน เพราะสัญญาปรากฏ ด้วยอำนาจแห่งการรู้พร้อม. บท
ที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเวทนา.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชํ เจตนํ มีอธิบายว่า ท่านแสดงถึง
เจตนาเท่านั้น เพราะเจตนาเป็นประธานและปรากฏในธรรมทั้งหลาย อันเนื่อง
ด้วยสังขารขันธ์. แม้ขันธ์นอกนี้ก็เป็นอันว่าท่านแสดงด้วยเจตนานั้น. ส่วนปุถุชน
นั้นย่อมถือเจตนาว่าเป็นตัวตน เพราะปรากฏด้วยความเป็นเจตสิก. บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุวิญฺญาณํ มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อมถือจิตว่าเป็น
ตัวตน เพราะจิตปรากฏด้วยอำนาจแห่งการรู้แจ้ง. บทที่เหลือแม้ในที่นี้ก็มีนัยดัง
กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ

อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ


มิจฉาทิฏฐิมีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่พึงทราบนัยอื่น
ดังต่อไปนี้.
บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คือปฏิเสธผลของทาน
เพราะเป็นอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ยิฏฺฐํ การบูชายัญในบทว่า นตฺถิ ยิฏฺฐํ
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผลนี้เป็นยัญเล็กน้อย. บทว่า หุตํ เซ่นสรวงเป็นมหายัญ.
ปฏิเสธผลของยัญทั้งสอง.
บทว่า นตฺถิ สุกฏทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก ผลวิบาก
แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี คือปฏิเสธผลแห่งบุญกรรม มีศีลเป็นต้น
เพราะปฏิเสธผลแห่งทาน ปฏิเสธผลแห่งบาปกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า
นตฺถิ อยํ โลโก โลกนี้ไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในก่อน. บทว่า นตฺถิ
ปโร โลโก
โลกหน้าไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้. บทว่า นตฺถิ มาตา
นตฺถิ ปิตา
มารดาไม่มี บิดาไม่มี คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในมารดา
บิดาเหล่านั้น. บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ผู้ผุดขึ้นก็ไม่มี คือ
ปฏิเสธการผุดขึ้นอันมีกรรมเป็นเหตุ. บทว่า นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา
ฯลฯ ปเวเทนฺติ
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ
ปฏิเสธปฏิปทาในการได้อภิญญา เพื่อเห็นในโลกนี้และโลกหน้า.
แต่ในบาลีนี้ บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ ได้แก่ วัตถุ คือ ทานที่ท่าน
กล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. อธิบายว่า วัตถุแห่งทิฏฐินั้น.
บทว่า เอวํวาโท มิจฺฉา วาทะอย่างนี้ผิด คือ วาทะคำพูดว่าทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผลอย่างนี้ผิด คือ วิปริต.
จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ