เมนู

สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยความหมายของโพชฌงค์


[569] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระ-
สารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ 7
ประการเป็นไฉน ? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ในโพชฌงค์ 7 ประการนี้ เรา
ก็อยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ หวังจะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ เราก็อยู่ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
ซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป
เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯลฯ ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยว
ไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชา หรือ
ของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น
ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดใน

เวลาเที่ยง ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เราก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ในโพชฌงค์
7 ประการนี้...ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้.
[570] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น
มีอยู่อย่างไร ?
นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรา
มีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น เปรียบเหมือนเมื่อดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน
กำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มี
เพียงนั้น ฉันใด นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์
ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฉันนั้น.
โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น
มีอยู่อย่างไร ?
กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดขึ้นภพ
ใหม่มีประมาณ นิโรธหาประมาณมิได้ เพราะความเป็นอสังขตธรรม นิโรธ
ย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหา
ประมาณมิได้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น.
โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น
มีอยู่อย่างไร ?
กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพ
ใหม่ ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะความเป็นธรรมละเอียด
เพราะความเป็นธรรมประณีต นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า
สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น.

[571] เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า
ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้ อย่างไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไป
ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 ย่อมเคลื่อนไป
ด้วยอาการ 8.
สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 เป็นไฉน ? สติสัมโพชฌงค์
ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความไม่นึกถึง
ความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความไม่นึก
ถึงความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต 1 ด้วยความไม่นึกถึง
นิมิต 1 ด้วยความนึกถึงนิโรธ 1 ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร 1 สติสัมโพชฌงค์
ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 นี้.
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 เป็นไฉน ? สติสัมโพชฌงค์
ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี
ความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงความเป็นไป 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอัน
ไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิมิต 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอัน
ไม่มีนิมิต 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ 1 ด้วยความนึกถึงสังขารสติสัมโพชฌงค์
ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์
ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเรา
เคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯลฯ.
[572] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้
นั้น มีอยู่อย่างไร ?

นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีเพียงนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน
กำลังสว่างอยู่...
โพชฌงค์ในข้อว่า อุเขกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้
นั้น มีอยู่อย่างไร...
โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น
มีอยู่อย่างไร...
เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรง
อยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้อย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อน
ไปด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 ย่อมเคลื่อน
ไปด้วยอาการ 8.
[573] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 เป็นไฉน ?
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มี
ความเกิดขึ้น 1 ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะความไม่นึกถึงความเกิด 1 เพราะอรรถ
ว่า ตรัสรู้ความน้อมไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดำรงไว้ซึ่งความสลัดออกแห่งจิต ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป
1 ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิมิต 1 ด้วยความนึกถึงนิโรธ 1 ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร 1
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 นี้.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 เป็นไฉน ?

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด 1 ด้วย
ความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงความเป็นไป 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิมิต 1
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต 1 ด้วยความนึกถึงสังขาร 1 ด้วยความ
ไม่นึกถึงนิโรธ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 นี้ เมื่อเรา
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้
เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้.
จบโพชฌงคกถา

อรรถกถาโพชฌงคกถา


บัดนี้ จะพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโพชฌงค-
กถาอันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษ
ของโพชฌงค์ให้สำเร็จการแทงตลอดสัจจะตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โพชฺฌงฺคา
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือแห่งบุคคลผู้
ตรัสรู้. พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีอันได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ
วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค
เป็นปฏิปักษ์แห่งอันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตั้งอยู่รวบรวม
ประกอบกามสุข ทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิและความถือมั่น
เป็นต้น เพื่อเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โพธิ ผู้ตรัสรู้. บทว่า พุชฺฌติ