เมนู

ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา


สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยโพชฌงค์ 7


[557] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ 7 ประการ
เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ 1 ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ 1 วิริยสัมโพชฌงค์ 1
ปีติสัมโพชฌงค์ 1 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 1 สมาธิสัมโพชฌงค์ 1 อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล.
คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้
ว่าตรัสรู้ตาม ว่าตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่าให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้
ตรัสรู้เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้
เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถ
ว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็น
เหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุง
ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความ
ตรัสรู้.

[558] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะอรรถว่า
ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล เพราะ
อรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์
เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในธรรมอัน
เป็นมูล เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่า
เจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้
ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถ
ว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าประพฤติตามเหตุ... เพราะอรรถว่าเจริญความ
ชำนาญในความแตกฉานในเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญ
ในความแตกฉานในเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถว่าประพฤติ
ตามปัจจัย...เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย เพราะ
อรรถว่าหมดจด เพราะอรรถว่าประพฤติหมดจด... เพราะอรรถว่าเจริญความ
ชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึง
ความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ เพราะ
อรรถว่าประพฤติไม่มีโทษ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตก
ฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานในความไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าเป็นเนกขัมมะ เพราะอรรถว่า
ประพฤติเนกขัมมะ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานใน
เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉาน
ในเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น เพราะอรรถว่าประพฤติหลุดพ้น...
เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า

โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น
เพราะอรรถว่าไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีอาสวะ... เพราะอรรถ
ว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้
ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ เพราะอรรถ
ว่าเป็นวิเวก เพราะอรรถว่าประพฤติวิเวก... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ
ในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในวิเวก เพราะอรรถว่าปล่อยวาง เพราะอรรถว่าประพฤติปล่อย
วาง เพราะอรรถว่ากำหนดความปล่อยวาง เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางเป็น
บริวาร เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีความปล่อย
วางแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าให้ถึง
ความแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความ
แตกฉานในความปล่อยวาง ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในความปล่อยวาง.
[559] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล ว่า
ตรัสรู้สภาพอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพอันหมดจด
ว่าตรัสรู้สภาพอันไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพ
วิมุตติ ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพปล่อยวาง
ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ-
ธรรมอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิมุตติ ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิเวก ว่าตรัสรู้

สภาพความประพฤติปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ
ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร
ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางเป็นบริวาร ว่าตรัสรู้สภาพมีธรรมอันเป็น
มูลบริบูรณ์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
อันเป็นมูลแก่กล้า ฯลฯ ว่าตรัสรู้ธรรมอันมีความปล่อยวางแก่กล้า ว่าตรัสรู้
สภาพความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานใน
ความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ
ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความ
เจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพ
ความเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯลฯ.
[560] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพระอรรถว่าตรัสรู้สภาพความกำหนด ว่า
ตรัสรู้สภาพบริวาร ฯลฯ ตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิตมีอารมณ์
เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ ว่าตรัสรู้สภาพ
ความไม่แพร่ไป ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ขุ่นมัว ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีกิเลสเครื่อง
หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งอยู่แห่งจิต ด้วยสามารถความปรากฏโดยความมี
อารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพอารมณ์ ว่าตรัสรู้สภาพโคจร ว่าตรัสรู้สภาพละ
ว่าตรัสรู้สภาพสละ ว่าตรัสรู้สภาพการออกไป ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไป
ว่าตรัสรู้สภาพละเอียด ว่าตรัสรู้สภาพประณีต ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่า
ตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพการข้ามไป ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอัน
ไม่มีนิมิต ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอัน
ว่างเปล่า ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันมีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
อันไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นคู่กัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมเครื่อง

นำออก ว่าตรัสรู้สภาพแห่งเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพทัสสนะ ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
ที่เป็นใหญ่.
[561] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
สมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอัน
เดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน
ว่าตรัสรู้ความสมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่งอารมณ์ ว่าตรัสรู้
ความประคองจิตที่หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉย
แห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความ
แทงตลอดธรรมที่ยิ่ง ว่าตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่
ในนิโรธ.
[562] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมใจเชื่อแห่ง
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละ ฯลฯ
ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวในอวิชชาแห่งปัญญาพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาหา
ทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเห็น
ชอบแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ว่าตรัสรู้ความไม่
หวั่นไหวแห่งพละ ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งโพชฌงค์ ว่าตรัสรู้ความเป็นเหตุ
แห่งมรรค ว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ว่าตรัสรู้ความตั้งไว้แห่งสัม-
มัปปธาน ว่าตรัสรู้ความให้สำเร็จแห่งอิทธิบาท ว่าตรัสรู้ความเป็นธรรมแท้
แห่งสัจจะ ว่าตรัสรู้ความระงับแห่งประโยค ว่าตรัสรู้ความทำให้แจ้งแห่งผล

ว่าตรัสรู้ความตรึกแห่งวิตก ว่าตรัสรู้ความตรองแห่งวิจาร ว่าตรัสรู้ความ
แผ่ซ่านแห่งปีติ ว่าตรัสรู้ความไหลไปแห่งสุข ว่าตรัสรู้ความมีอารมณ์เดียว
แห่งจิต.
[563] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึก ว่าตรัสรู้
สภาพความรู้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ ว่า
ตรัสรู้สภาพสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้
สภาพที่ควรกำหนดพิจารณา ว่าตรัสรู้สภาพสละแห่งปหานะ ว่าตรัสรู้สภาพ
มีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งภาวนา ว่าตรัสรู้สภาพควรถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ว่า
ตรัสรู้สภาพเป็นกองแห่งขันธ์ ว่าตรัสรู้สภาพทรงไว้แห่งธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพ
เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ว่า
ตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม.
[564] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิต ว่าตรัสรู้
สภาพที่มีอยู่ในระหว่างแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความออกแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ
ความหลีกไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นปัจจัย
แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นภูมิแห่งจิต ว่าตรัสรู้
สภาพเป็นอารมณ์แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นโคจรแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ
ความประพฤติแห่งจิต. ว่าตรัสรู้สภาพที่ดำเนินไปแห่งจิต.
[565] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึกในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
รู้ชัดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่า
ตรัสรู้สภาพเป็นสมาธิในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความแล่นไปในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความผ่องใสในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ

เพิกเฉยในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหลุดพ้นในธรรมอย่างเดียว
ว่าตรัสรู้สภาพความเห็นว่า นี้ละเอียดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำ
เป็นดุจยานในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนือง ๆ ในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพ
ความตั้งขึ้นเนือง ๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพสะสมในธรรมอย่างเดียว
ว่าตรัสรู้สภาพปรารภด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่กำหนดในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบริวารในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์
ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ประชุมลงในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
สภาพตั้งมั่นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่เสพในธรรมอย่างเดียว
ว่าตรัสรู้สภาพเจริญในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้มากในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ขึ้นไปดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น
ด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
สภาพตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่าง-
เดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้
ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
สภาพที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้พร้อมใน
ธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ตามในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้พร้อมในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
สว่างขึ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างตามในธรรมอย่างเดียว

ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างเฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่าง
พร้อมในธรรมอย่างเดียว.
[566] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่ง
วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพดับ ว่าตรัสรู้สภาพเผาผลาญ ว่าตรัสรู้สภาพความรุ่งเรือง
ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ไม่มีมลทิน ว่า
ตรัสรู้สภาพธรรมที่ปราศจากมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่หามลทินมิได้ ว่า
ตรัสรู้สภาพความสงบ ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้สงบ ว่าตรัสรู้สภาพความสงัด
ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความ
ประพฤติความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ
ความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติหลุดพ้น
ว่าตรัสรู้สภาพฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพเป็น
บาปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้
สำเร็จแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้
แห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
ฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพวิริยะ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพจิต ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพ
วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา
ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งวิมังสา
ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งวิมังสา ว่า
ตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา.
[567] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความบีบคั้นแห่งทุกข์
ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้เดือดร้อนแห่งทุกข์

ว่าตรัสรู้สภาพความแปรปรวนแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความประมวลมาแห่ง
สมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่ประกอบไว้แห่ง
สมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพพัวพันแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่สลัดออกแห่งทุกขนิโรธ
ว่าตรัสรู้สภาพสงัดแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งทุกข-
นิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอมตะแห่งทุกขวิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่นำออกแห่ง
มรรค ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่เห็นแห่งมรรค ว่า
ตรัสรู้สภาพความเป็นใหญ่แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่ถ่องแท้ ว่าตรัสรู้สภาพ
เป็นอนัตตา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นของจริง ว่าตรัสรู้สภาพแทงตลอด ว่าตรัสรู้
สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นธรรม
ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปรากฏ ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรทำให้แจ้ง
ว่าตรัสรู้สภาพถูกต้อง ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ ว่าตรัสรู้เนกขัมมะ ว่าตรัสรู้ความ
ไม่พยาบาท ว่าตรัสรู้อาโลกสัญญา ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้การ
กำหนดธรรม ว่าตรัสรู้ญาณ ว่าตรัสรู้ความปราโมทย์ ว่าตรัสรู้ปฐมญาณ ฯลฯ
ว่าตรัสรู้อรหัตมรรค.
[568] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยความว่า
น้อมใจเชื่อ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรูส้สัทธาพละด้วย
ความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญาพละด้วยความ
ว่าไม่หวั่นไหวในอวิชชา ว่าตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าตั้งมั่น ฯลฯ
ว่าตรัสรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าพิจารณาหาทาง ว่าตรัสรู้สัมมาทิฏฐิ
ด้วยความว่าเห็น ฯลฯ ว่าตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้

อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ว่าตรัสรู้
สภาพนำออก ว่าตรัสรู้มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยความ
ว่าตั้งมั่น ว่าตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ว่าตรัสรู้อิทธิบาทด้วยความ
ว่าให้สำเร็จ ว่าตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ว่าตรัสรู้สมถะด้วยความ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ว่าตรัสรู้สมถะและ
วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้ธรรมที่เป็นคู่กันด้วยความ
ว่าไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม ว่าตรัสรู้จิตวิสุทธิด้วย
ความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรู้วิโมกข์ด้วย
ความว่าหลุดพ้น ว่าตรัสรู้วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วย
ความว่าสละ ว่าตรัสรู้ขยญาณด้วยความว่าตัดขาด ว่าตรัสรู้ญาณในความไม่
เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ว่าตรัสรู้ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูล ว่าตรัสรู้มนสิการ
ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ว่าตรัสรู้ผัสสะด้วยความว่าเป็นที่รวม ว่าตรัสรู้
เวทนาด้วยความว่าเป็นที่ประชุม ว่าตรัสรู้สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน ว่า
ตรัสรู้สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้ปัญญาด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่า
ธรรมนั้น ๆ ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วยความว่าเป็นสาระ ว่าตรัสรู้นิพพานอันหยั่งลง
ในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด.

สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยความหมายของโพชฌงค์


[569] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระ-
สารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ 7
ประการเป็นไฉน ? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ในโพชฌงค์ 7 ประการนี้ เรา
ก็อยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ หวังจะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ เราก็อยู่ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
ซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป
เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯลฯ ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยว
ไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชา หรือ
ของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น
ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดใน