เมนู

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ยาวกีวญฺจ เพียงใดดังต่อไปนี้.
เรายังไม่รู้ทั่วถึง คือ ไม่แทงตลอดด้วยญาณอันยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ฯลฯ
แห่งอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณ
คือ ไม่ทำการปฏิญญา ว่า เราเป็นอรหันต์ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
คือ ความเป็นสัพพัญญู ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเพียงนั้น พึงทราบอรรถโดยความ
เชื่อมด้วยประการฉะนี้. บทว่า กีวญฺจ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยโต
คือ เพราะเหตุใด หรือในกาลใด. บทว่า อถ คือในลำดับ.
บทว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ ญาณทัศนะเกิดขึ้น
แก่เรา คือ ปัจจเวกขณญาณ คือ ทัศนะเกิดขึ้นแก่เราด้วยทำด้วยทำกิจคือทัศนะ. บทว่า
อกุปฺปา ไม่กำเริบ คือ ไม่อาจให้กำเริบ ให้หวั่นไหวได้. บทว่า วิมุตฺติ
คือ อรหัตผลวิมุตติ แม้การพิจารณามรรคนิพพานก็เป็นอันท่านกล่าวด้วยการ
พิจารณาผลนั่นเอง. บทว่า อยมนฺติมา ชาติ ชาตินี้มีในที่สุด คือ ความ
เป็นไปแห่งขันธ์นี้มีในที่สุด. บทว่า นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว บัดนี้ความเกิด
อีกมิได้มี คือ บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงการพิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว เพราะการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีแก่พระอรหันต์.
จบอรรถกถาทุติยสุตตันตปาลินิเทศ

อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ


การรู้ว่า สุขโสมนัสสัมปยุตด้วยตัณหานี้เป็นคุณแห่งรูป ในลำดับ
แห่งการประกอบสัจจปฏิเวธญาณ และในส่วนเบื้องต้นว่า อยํ รูปสฺส อสฺสา-
โทติ ปหานปฺปฏิเวโธ
การแทงตลอดด้วยการละว่า สุขโสมนัสนี้เป็นคุณ

แห่งรูป แล้วแทงตลอดสมุทยสัจ กล่าวคือการละสมุทัยในขณะแห่งมรรค.
บทว่า สมุทยสจฺจํ สมุทยสัจ คือ ญาณอันแทงตลอดสมุทยสัจ. จริงอยู่
แม้อารัมมณญาณอันเป็นอริยสัจ ท่านก็กล่าวว่า สัจจะ ดุจในประโยคมีอาทิ
ว่า กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมถึงการสง-
เคราะห์เข้าในอริยสัจ 4.
การรู้ว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดานี้เป็น
โทษแห่งรูปในส่วนเบื้องต้นว่า อยํ รูปสฺส อาทีนโวติ ปริญฺญาปฏิเวโธ
การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไป
เป็นธรรมดานี้เป็นโทษแห่งรูป แล้วแทงตลอดทุกขสัจ กล่าวคือ การกำหนดรู้
ทุกข์ในมรรคญาณ. บทว่า ทุกฺขสจฺจํ ได้แก่ ญาณอันแทงตลอดทุกขสัจ.
การรู้ว่า นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่รูปในส่วนเบื้องต้นว่า อิทํ
รูปสฺส นิสฺสรณนฺติ สจฺฉิกิริยาปฏิเวโธ
การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า
การกำจัดฉันทราคะการละฉันทราคะนี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป แล้ว
แทงตลอดนิโรธสัจกล่าวคือ การทำให้แจ้งนิโรธสัจในขณะแห่งมรรค. บทว่า
นิโรธสจฺจํ นิโรธสัจ คือญาณแทงตลอดนิโรธสัจ มีนิโรธสัจเป็นอารมณ์.
บทว่า ยา อิเมสุ ตีสุ ฐาเนสุ ในฐานะ 3 เหล่านี้ พึงทราบการประกอบความ
ว่า ทิฏฐิ สังกัปปะ เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งการแทงตลอดใน สมุทัย ทุกข์
นิโรธ 3 ตามที่กล่าวแล้วนี้. บทว่า ภาวนาปฏิเวโธ การแทงตลอดด้วย
ภาวนา คือ แทงตลอดด้วยมรรคสัจ อันได้แก่มรรคภาวนานี้. บทว่า มคฺค-
สจฺจํ มรรคสัจ
คือ ญาณอันแทงตลอดมรรคสัจ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง สัจจะและการแทงตลอดสัจจะ
โดยปริยายอื่นอีกจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สจฺจนฺติ กตีหากาเรหิ สจฺจํ

สัจจะด้วยอาการเท่าไร. ในบทนั้น เพราะพระสัพพัญญูโพธิสัตว์แม้ทั้งปวง
นั่งเหนือโพธิบัลลังก์แสวงหาสมุทยสัจมีชาติเป็นต้น ของทุกขสัจ มีชรามรณะ
เป็นต้นว่าอะไรหนอ. อนึ่ง เมื่อแสวงหาอย่างนั้นจึงกำหนดถือเอาว่า สมุทยสัจ
มีชาติเป็นต้นเป็นปัจจัยของทุกขสัจมีชราและมรณะเป็นต้น ฉะนั้น การแสวงหา
นั้น และการกำหนดนั้น ท่านทำว่าเป็นสัจจะ เพราะแสวงหาเเละเพราะกำหนด
สัจจะทั้งหลาย แล้วจึงกล่าวว่า เอสนฏฺเฐน ปริคฺคนฏฺเฐน ด้วยความแสวงหา
ด้วยความกำหนด.
อนึ่ง วิธีนี้ย่อมได้ในการกำหนดปัจจัย แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลาย แต่ย่อมได้ในการกำหนดปัจจัยของพระสาวกทั้งหลาย ด้วยการเชื่อฟัง.
บทว่า ปฏิเวธฏฺเฐน ด้วยความแทงตลอด คือ ด้วยความแทงตลอดเป็นอัน
เดียวกันในขณะแห่งมรรค ของผู้แสวงหาและของผู้กำหนดอย่างนั้นในส่วน
เบื้องต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า กึนิทานํ ดังต่อไปนี้. บทว่า นิทาน
เป็นต้น เป็นไวพจน์ของเหตุทั้งหมด เพราะเหตุย่อมมอบให้ซึ่งผล ดุจบอกว่า
เชิญพวกท่านรับของนั้นเถิดดังนี้ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิทาน เพราะผล
ย่อมตั้งขึ้น เกิดขึ้น เป็นขึ้น จากเหตุนั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สมุทย ชาติ
ปภโว
. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้. ชื่อว่า กึนิทานํ เพราะมีอะไรเป็นเหตุ.
ชื่อว่า กึสมุทยํ เพราะมีอะไรเป็นสมุทัย. ชื่อว่า กึชาติกํ เพราะมีอะไร
เป็นกำเนิด. ชื่อว่า กึปภวํ เพราะมีอะไรเป็นแดนเกิด.
อนึ่ง เพราะชรามรณะนั้นมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็น
กำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชาตินิทานํ มีชาติเป็นเหตุ เป็นอาทิ. บทว่า ชรามรณํ

ชราและมรณะ คือ ทุกขสัจ. บทว่า ชรามรณสมุทยํ เหตุเกิดแห่งชรา
และมรณะ คือ สมุทยสัจเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะนั้น. บทว่า ชรามรณ-
นิโรธํ
ความดับแห่งชราและมรณะ คือ นิโรธสัจ. บทว่า ชรามรณนิโรธ-
คามินีปฏิปทํ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ คือ มรรคสัจ.
พึงทราบอรรถในบททั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า นิโรธปฺปชานนา การรู้
ชัดความดับ คือ รู้ความดับด้วยทำอารมณ์. บทว่า ชาติ สิยา ทุกฺขสจฺจํ
สิยา สมุทยสจฺจํ
ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี ชื่อว่า ทุกขสัจ
ด้วยความปรากฏ เพราะภพเป็นปัจจัย ชื่อว่า สมุทยสัจ ด้วยความเป็นปัจจัย
ของชราและมรณะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า อวิชฺชา สิยา ทุกฺข-
สจฺจํ
อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี คือ อวิชชาเป็นสมุทัยแห่งอาสวะด้วยความมี
อวิชชาเป็นสมุทัย.
จบอรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ
จบอรรถกถาสัจจกถา

ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา


สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยโพชฌงค์ 7


[557] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ 7 ประการ
เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ 1 ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ 1 วิริยสัมโพชฌงค์ 1
ปีติสัมโพชฌงค์ 1 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 1 สมาธิสัมโพชฌงค์ 1 อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล.
คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้
ว่าตรัสรู้ตาม ว่าตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่าให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้
ตรัสรู้เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้
เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถ
ว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็น
เหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุง
ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความ
ตรัสรู้.