เมนู

อรรถกถาทุติยสุตตันตปาลินิเทศ


พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงชี้แจงการแทงตลอดสัจจะด้วย
อำนาจแห่งอรรถของพระสูตรอื่นอีก จึงทรงนำพระสูตรมาทรงแสดงมีอาทิว่า
ปุพฺเพ เม ภิกฺขเว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ภิกฺขเว สมฺโพธา ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ คือ แต่สัพพัญญุตญาณของเรา. บทว่า
อนภิสมฺพุทฺธสฺส ยังไม่ตรัสรู้ คือ ยังไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวง. บทว่า
โพธสตฺตสฺเสว สโต คือ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์. บทว่า เอตทโหสิ ได้มีความ
คิดนี้ คือ เมื่อเรานั่งเหนือโพธิบัลลังก์ ได้มีความปริวิตกนี้. บทว่า อสฺสาโท
ความพอใจ ชื่อว่า อัสสาทะ เพราะความพอใจ. บทว่า อาทีนโว คือ
เป็นโทษ. บทว่า นิสฺสรณํ เป็นอุบายเครื่องสลัดออก คือ หลีกออกไป.
บทว่า สุขํ ชื่อว่า สุข เพราะถึงความสบาย อธิบายว่า กระทำรูปที่เกิดขึ้น
ให้มีความสุข. บทว่า โสมนสฺสํ ชื่อว่า สุมนะ เพราะมีใจงาม เพราะประกอบ
ด้วยปีติและโสมนัส ความเป็นแห่งความมีใจงาม ชื่อว่า โสมนัส ความสุข
นั่นแหละวิเศษกว่าการประกอบด้วยปีติ. บทว่า อนิจฺจํ คือ ไม่ยั่งยืน. บทว่า
ทุกฺขํ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ และเพราะสังขารเป็นทุกข์.
บทว่า วิปริณามธมฺมํ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา คือ ไม่อยู่ในอำนาจ
มีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยชราและความดับเป็นปกติ ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง
ความไม่มีตัวตน. บทว่า ฉนฺทราควินโย ความกำจัดฉันทราคะ คือ
กั้นราคะอันได้แก่ฉันทะ มิใช่กั้นราคะ คือ ผิวพรรณ. บทว่า ฉนฺทราคปฺปหานํ
ความละฉันทราคะ คือ ละฉันทราคะนั้นนั่นเอง.