เมนู

ไม่มีสัจจะ. บทว่า อนญฺญกานิ ไม่เป็นอย่างอื่น คือ เว้นจากสภาพอื่น
เพราะไม่มีสัจจะหามิได้ ก็ชื่อว่า มีสัจจะ.
บทว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ภิกฺขเว ตถเมตํ สัจจะว่านี้ทุกข์เป็นของ
จริง คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่กล่าวว่า นี้ทุกข์ สิ่งนั้นชื่อว่า เป็น
ของแท้ เพราะตามความเป็นจริง. จริงอยู่ ทุกข์นั่นแหละคือทุกข์ ชื่อว่า
เป็นของไม่ผิด เพราะไม่มีสิ่งตรงกันข้ามในสภาวะดังกล่าวแล้ว เพราะทุกข์
ไม่มี ก็ชื่อว่า ไม่มีทุกข์ ชื่อว่าไม่เป็นอย่างอื่นเพราะปราศจากสภาพอื่น.
จริงอยู่ ทุกข์ไม่มีสภาพเป็นสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ได้. แม้ในสมุทัยเป็นต้น
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ


บทว่า ตถฏฺเฐน ด้วยอรรถเป็นของแท้ คือ ด้วยอรรถตามความ
เป็นจริง. บทว่า ปีฬนฏโฐ สภาพบีบคั้นเป็นต้น มีความดังกล่าวแล้วใน
ญาณกถานั่นแล.
บทว่า เอกปฺปฏิเวธานิ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว คือ แทง
ตลอดด้วยมรรคญาณเดียว หรือชื่อว่า เอกปฺปฏิเวธานิ เพราะมีการแทง
ตลอดร่วมกัน. บทว่า อนตฺตฏฺเฐน ด้วยความเป็นอนัตตา คือ ด้วยความ
เป็นอนัตตา เพราะความที่สัจจะแม้ 2 ปราศจากตน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ใน
วิสุทธิมรรคว่า โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่า ว่างเปล่า
เพราะไม่มีผู้เสวย ผู้กระทำ ผู้ดับและผู้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ ใครๆ เป็นทุกข์หามี
ไม่การกระทำมีอยู่ ใครๆ ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่
ใคร ๆ ผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่คนผู้เดินทางหามีไม่.

อีกอย่างหนึ่ง
ความว่างเปล่า จากความงามความสุขอันยั่งยืน
และตัวตน ความว่างเปล่าจาก 2 บท ข้างต้นและ
ตัวตนเป็นอมตบท ในสัจจะเหล่านั้น ความว่างเปล่า
เป็นมรรค ปราศจากความสุขยั่งยืนและตัวตน.

บทว่า สจฺจฏฺเฐน ด้วยความเป็นของจริง คือ ด้วยความไม่ผิดจาก
ความจริง. บทว่า ปฏิเวธฏฺเฐน ด้วยความเป็นปฏิเวธ คือ ด้วยความพึง
แทงตลอดในขณะแห่งมรรค. บทว่า เอกสงฺคหิตานิ สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์
เข้าเป็นหนึ่ง คือ สงเคราะห์ด้วยอรรถหนึ่ง ๆ ความว่า ถึงการนับว่าเป็นหนึ่ง.
บทว่า ยํ เอกสงฺคหิตํ ตํ เอกตฺตํ สิ่งใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งนั้น
เป็นหนึ่ง ความว่า เพราะท่านสงเคราะห์ด้วยอรรถหนึ่ง ฉะนั้นจึงเป็นหนึ่ง.
ท่านเพ่งถึงความที่สัจจะทั้งหลายเป็นหนึ่ง แม้ในความที่มีมากแล้วทำให้เป็น
เอกวจนะ.
บทว่า เอกตฺตํ เอเกน ญาเณน ปฏิวิชฺฌติ บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว คือ บุคคลกำหนด กำหนดเป็นอย่างดีถึงความที่สัจจะ 4
ต่างกันและเป็นอันเดียวกัน ในส่วนเบื้องต้นแล้วดำรงอยู่ ย่อมแทงตลอด
สัจจะหนึ่งมีความเป็นของแท้เป็นต้น ด้วยมรรคญาณหนึ่งในขณะแห่ง
มรรค. อย่างไร เมื่อแทงตลอดสัจจะหนึ่งมีความเป็นของแท้เป็นต้น แห่ง
นิโรธสัจ ย่อมเป็นอันแทงตลอดสัจจะหนึ่งมีความเป็นของแท้เป็นต้น แม้แห่ง
สัจจะที่เหลือก็เหมือนกัน. เมื่อพระโยคาวจรกำหนด กำหนดด้วยดีถึงความต่างกัน

และเป็นอันเดียวกันแห่งขันธ์ 5 ในส่วนเบื้องต้น แล้วตั้งอยู่ ในเวลาออกจาก
มรรค ออกโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ หรือโดยความ
เป็นอนัตตา แม้เมื่อเห็นขันธ์หนึ่ง โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น แม้
ขันธ์ที่เหลือก็เป็นอันเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น ฉันใด แม้ข้อนี้
ก็พึงเห็นมีอุปมาฉันนั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺส ทุกฺขฏฺโฐ ตถฏฺโฐ สภาพทนได้ยากแห่งทุกข์
เป็นสภาพแท้ คือ อรรถ 4 อย่างมีความบีบคั้นแห่งทุกขสัจเป็นต้น เป็น
สภาพแท้ เพราะเป็นจริง. แม้ในสัจจะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อรรถ 4
อย่างนั้นนั่นแล ชื่อว่า เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เพราะไม่มีตัวตน ชื่อว่า เป็น
สภาพจริง เพราะไม่ผิดไปจากความจริงโดยสภาพดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า เป็น
สภาพแทงตลอด เพราะควรแทงตลอดในขณะแห่งมรรค.
บทมีอาทิว่า ยํ อนิจฺจํ สิ่งใดไม่เที่ยง ท่านแสดงทำสามัญลักษณะ
ให้เป็นเบื้องต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยํ อนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทุกฺขํ ยํ ทุกฺขํ ตํ อนิจฺจํ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่เที่ยง ท่านหมายเอา
ทุกข์ สมุทัย และมรรค เพราะสัจจะ 3 เหล่านั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง และ
ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยง. บทว่า ยํ อนิจฺจญฺจ ทุกฺขญฺจ ตํ อนตฺตา
สิ่งใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ท่านสงเคราะห์นิโรธสัจกับ
มรรค 3 เหล่านั้น. จริงอยู่ แม้สัจจะ 4 ก็เป็นอนัตตา. บทว่า ตํ ตถํ
สิ่งนั้นเป็นของแท้ คือ สิ่งนั้นเป็นของจริงเป็นสัจจจตุกะ. บทว่า ตํ สจฺจํ
สิ่งนั้นเป็นของจริง คือ สิ่งนั้นนั่นแหละไม่ผิดไปจากความจริง ตามสภาพเป็น
สัจจจตุกะ.

ในบทมีอาทิว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ 9 พึงทราบว่าท่านแสดง
ด้วยความรู้ยิ่ง เพราะพระบาลีว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อภิญฺเญยฺยํ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งควรรู้ยิ่งทั้งปวงเป็นอาทิ ด้วยความกำหนดรู้ เพราะความปรากฏ
แห่งญาติปริญญาในสัจจะ ในสัจจะนี้แม้แยกกันในความกำหนดรู้ทุกข์ ใน
การละสมุทัย ในการเจริญมรรค ในการทำให้แจ้งนิโรธ ด้วยการละ เพราะ
ปรากฏการละด้วยเห็นอริยสัจ 4 ด้วยการเจริญ เพราะปรากฏการเจริญอริยสัจ
4 ด้วยทำให้แจ้ง เพราะปรากฏการทำให้แจ้งอริยสัจ 4.
ในบทมีอาทิว่า นวหากาเรหิ ตถฏฺเฐน ด้วยความเป็นของแท้
ด้วยอาการ 9 ท่านประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วครั้งแรกนั่นเอง. ในบทมีอาทิว่า
ทฺวาทสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ 2 ความเป็นของแท้เป็นต้น มีความ
ดังกล่าวแล้วในญาณกถา. พึงทราบการประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในนิเทศ
แห่งอาการเหล่านั้น.
ในบทมีอาทิว่า สจฺจานํ กติ ลกฺขณานิ สัจจะมีลักษณะเท่าไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแยกลักษณะ 6 ที่ควรกล่าวต่อไปเป็นสองส่วน คือ
เป็นสังขตะและอสังขตะ แล้วตรัสว่า เทฺว ลกฺขณานิ มีลักษณะ 2 ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตลกฺขณญฺจ อสงฺขตลกฺขณญฺจ สังขตลักษณะ
และอสังขตลักษณะ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสังขตลักษณะและอสังขต-
ลักษณะไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม 3
เหล่านี้ คือ ความเกิดปรากฏ ความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรเป็นอย่างอื่น
ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม 3 เหล่านี้ คือ
ความเกิดไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรเป็นอย่างอื่น
ไม่ปรากฏ ดังนี้ แต่สังขตธรรมไม่ใช่ลักษณะ ลักษณะไม่ใช่สังขตธรรม.

อนึ่ง เว้นสังขตธรรมเสียแล้วไม่สามารถบัญญัติลักษณะได้ แม้เว้นลักษณะ
เสียแล้วก็ไม่สามารถบัญญัติสังขตธรรมได้ แต่สังขตธรรมย่อมปรากฏได้ด้วย
ลักษณะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงลักษณะทั้งสองนั้นโดยพิสดาร
จึงตรัสว่า ฉ ลกฺขณานิ ลักษณะทั้งหลาย 6. บทว่า สงฺขตานํ สจฺจานํ
สัจจะที่ปรุงแต่ง คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ และมรรคสัจ เพราะสัจจะเหล่านั้น
ชื่อว่า สังขตะ เพราะอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง. บทว่า อุปฺปาโท คือ ชาติ.
บทว่า ปญฺญายติ คือ ย่อมให้รู้. บทว่า วโย คือ ความดับ. บทว่า
ฐิตานํ อญฺญถตฺตํ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรากฏ คือ เมื่อยังตั้งอยู่ ความเป็น
อย่างอื่น คือ ชราปรากฏ เพราะสัจจะที่ปรุงแต่ง 3 สำเร็จแล้ว ท่านจึงกล่าว
ถึงความเกิด ความเสื่อม และความแปร แต่ไม่ควรกล่าวถึงความเกิด ความ
เสื่อม และความแปร เพราะความเกิด ความชรา และความดับของสัจจะที่
ปรุงแต่งเหล่านั้นยังไม่สำเร็จ ไม่ควรกล่าวว่า ความเกิด ความเสื่อมและ
ความแปรไม่ปรากฏ เพราะอาศัยสิ่งปรุงแต่ง แต่ควรกล่าวว่าเป็นสังขตะ
เพราะความผิดปกติของสังขตะ. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ความเกิด ความชรา
เเละความดับของทุกข์และสมุทัย นับเนื่องด้วยสัจจะ ความเกิด ความชรา
ความดับของมรรคสัจ ไม่นับเนื่องด้วยสัจจะ.
ในบทนั้นท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งขันธกวรรคว่า ในขณะสังขตะ
ทั้งหลายเกิด สังขตะทั้งหลายก็ดี ลักษณะแห่งความเกิดก็ดี ขณะสังขตะเกิด
นั้นกล่าว คือ กาลก็ดีย่อมปรากฏ เมื่อความเกิดล่วงไป สังขตะก็ดี ลักษณะชรา
ก็ดี ขณะแห่งความเกิด กล่าวคือกาลก็ดีย่อมปรากฏ ในขณะดับ สังขตะก็ดี
ชราก็ดี ลักษณะดับก็ดี ขณะแห่งความดับนั้นกล่าวคือกาลก็ดีย่อมปรากฏ.

บทว่า อสงฺขตสฺส สจฺจสฺส สัจจะที่ไม่ปรุงแต่ง คือ นิโรธสัจ
เพราะนิโรธสัจนั้นชื่อว่าอสังขตะ เพราะสำเร็จเองไม่ต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง.
บทว่า ฐิตสฺส เมื่อตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่เพราะความเป็นสภาพเที่ยง มิได้ตั้งอยู่
เพราะความถึงฐานะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงลักษณะทั้งสองนั้นอีกโดยพิสดาร
จึงตรัสว่า ทฺวาทส ลกฺขณานิ ลักษณะทั้งหลาย 12.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า จตุนฺนํ สจฺจานํ กติ กุสลา
สัจจะ 4 เป็นกุศลเท่าไร ดังต่อไปนี้. บทว่า อพฺยากตํ อัพยากฤต (ทำให้
แจ้งไม่ได้) คือ นิพพานเป็นอัพยากฤตในอัพยากฤต 4 คือ วิบากเป็นอัพยากฤต
กิริยาเป็นอัพยากฤต รูปเป็นอัพยากฤต นิพพานเป็นอัพยากฤต เพราะอัพยากฤต
แม้ 4 ชื่อว่า อัพยากฤต เพราะทำให้แจ้งไม่ได้ด้วยลักษณะเป็นกุศลและอกุศล.
บทว่า สิยา กุสลํ เป็นกุศลก็มี คือ เป็นกุศลด้วยอำนาจแห่งกามาวจรกุศล
รูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล. บทว่า สิยา อกุสลํ เป็นอกุศลก็มี คือ
เป็นอกุศลด้วยอำนาจแห่งอกุศลที่เหลือเว้นตัณหา. บทว่า สิยา อพฺยากตํ
เป็นอัพยากฤตก็มี คือ เป็นอัพยากฤตด้วยอำนาจแห่งวิบากกิริยาอันเป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร และแห่งรูปทั้งหลาย. พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า
สิยา ตีณิ สจฺจานิ พึงเป็นสัจจะ 3 ดังต่อไปนี้. บทว่า สงฺคหิตานิ
ท่านสงเคราะห์ คือ นับเข้า. บทว่า วตฺถุวเสน ด้วยสามารถแห่งวัตถุ คือ
ด้วยสามารถแห่งวัตถุกล่าวคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคที่เป็นอกุศล กุศล
และอัพยากฤต. บทว่า ยํ ทุกฺขสจฺจํ อกุสลํ ทุกขสัจเป็นอกุศล คือ อกุศล
ที่เหลือเว้นตัณหา. บทว่า อกุสลฏฺเฐน เทฺว สจฺจานิ เอกสจฺเจน
สงฺคหิตานิ
สัจจะ 2 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 ด้วยความเป็นอกุศล คือ
ทุกขสัจและสมุทยสัจ 2 เหล่านี้ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 ด้วยความเป็น

อกุศล อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นอกุศลสัจจะ บทว่า เอกสจฺจํ ทฺวีหิ สจฺเจหิ
สงฺคหิตํ
สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 2 คือ อกุศลสัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์
ด้วยทุกขสัจและสมุทยสัจ 2. บทว่า ยํ ทุกฺขสจฺจํ กุสลํ ทุกขสัจเป็นกุศล
คือ เป็นกุศล เป็นไปในภูมิ 3 ทุกขสัจและมรรคสัจ 2 เหล่านี้ท่านสงเคราะห์
ด้วยสัจจะ 1 ด้วยความเป็นกุศล ชื่อว่าเป็นกุศลสัจจะ กุศลสัจจะ 1 ท่าน
สงเคราะห์ด้วยทุกขสัจและมรรคสัจ 2. บทว่า ยํ ทุกฺขสจฺจํ อพฺยากตํ
ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต คือ วิบากกิริยาอันเป็นไปในภูมิ 3 และรูป ทุกขสัจ
และนิโรธสัจ 2 เหล่านี้ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 ด้วยความเป็นอัพยากฤต
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤตสัจจะ อัพยากฤตสัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยทุกขสัจและ
นิโรธสัจ 2.
บทว่า ตีณิ สจฺจานิ เอกสจฺเจน สงฺคหิตานิ สัจจะ 3 ท่าน
สงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 คือ สมุทยสัจ มรรคสัจ และนิโรธสัจ ท่านสงเคราะห์
ด้วยทุกขสัจอันเป็นอกุศล กุศล และอัพยากฤต 1. บทว่า เอกํ สจฺจํ ตีหิ
สจฺเจหิ สงฺคหิตํ
สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 3 คือ ทุกขสัจ 1
ท่านสงเคราะห์ด้วยสมุทยสัจ มรรคสัจและนิโรธสัจอันเป็นอกุศล กุศล และ
อัพยากฤตไว้ต่างหาก. ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ว่า ทุกขสัจและ
สมุทยสัจท่านสงเคราะห์ด้วยสมุทยสัจ ด้วยความเป็นอกุศล ทุกขสัจและมรรคสัจ
ท่านสงเคราะห์ด้วยมรรคสัจ ด้วยความเป็นกุศล มิใช่ด้วยความเป็นทัศนะ.
ทุกขสัจและนิโรธสัจท่านสงเคราะห์ด้วยนิโรธสัจ ด้วยความเป็นอัพยากฤต
มิใช่ด้วยความเป็นอสังขตะ.
จบอรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ

อรรถกถาทุติยสุตตันตปาลินิเทศ


พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงชี้แจงการแทงตลอดสัจจะด้วย
อำนาจแห่งอรรถของพระสูตรอื่นอีก จึงทรงนำพระสูตรมาทรงแสดงมีอาทิว่า
ปุพฺเพ เม ภิกฺขเว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ภิกฺขเว สมฺโพธา ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ คือ แต่สัพพัญญุตญาณของเรา. บทว่า
อนภิสมฺพุทฺธสฺส ยังไม่ตรัสรู้ คือ ยังไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวง. บทว่า
โพธสตฺตสฺเสว สโต คือ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์. บทว่า เอตทโหสิ ได้มีความ
คิดนี้ คือ เมื่อเรานั่งเหนือโพธิบัลลังก์ ได้มีความปริวิตกนี้. บทว่า อสฺสาโท
ความพอใจ ชื่อว่า อัสสาทะ เพราะความพอใจ. บทว่า อาทีนโว คือ
เป็นโทษ. บทว่า นิสฺสรณํ เป็นอุบายเครื่องสลัดออก คือ หลีกออกไป.
บทว่า สุขํ ชื่อว่า สุข เพราะถึงความสบาย อธิบายว่า กระทำรูปที่เกิดขึ้น
ให้มีความสุข. บทว่า โสมนสฺสํ ชื่อว่า สุมนะ เพราะมีใจงาม เพราะประกอบ
ด้วยปีติและโสมนัส ความเป็นแห่งความมีใจงาม ชื่อว่า โสมนัส ความสุข
นั่นแหละวิเศษกว่าการประกอบด้วยปีติ. บทว่า อนิจฺจํ คือ ไม่ยั่งยืน. บทว่า
ทุกฺขํ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ และเพราะสังขารเป็นทุกข์.
บทว่า วิปริณามธมฺมํ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา คือ ไม่อยู่ในอำนาจ
มีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยชราและความดับเป็นปกติ ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง
ความไม่มีตัวตน. บทว่า ฉนฺทราควินโย ความกำจัดฉันทราคะ คือ
กั้นราคะอันได้แก่ฉันทะ มิใช่กั้นราคะ คือ ผิวพรรณ. บทว่า ฉนฺทราคปฺปหานํ
ความละฉันทราคะ คือ ละฉันทราคะนั้นนั่นเอง.