เมนู

เป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชรามรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็น
ทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ
การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็น
สมุทัยสัจก็มี การสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับ
เป็นมรรคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจ
ก็มี การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็น
มรรคสัจ ฉะนี้แล.
จบสัจจกถา
จบภาณวาร

อรรถกถาสัจกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับ ความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งสัจจกถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษของ
การแทงตลอดสัจจะ อันตั้งอยู่บนความจริงด้วยสามารถแห่งอริยมรรคอันเป็น
คุณของธรรมคู่กันตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อน ดังต่อไปนี้. บทว่า ตถานิ
คือ เป็นของแท้ด้วยความเป็นจริง จริงอยู่ ธรรมชาติทั้งหลายอันเป็นความ
จริงนั่นแหละชื่อว่า สัจจะ ด้วยอรรถว่าเป็นจริง. อรรถแห่งสัจจะท่านกล่าวไว้
แล้วในอรรถกถาปฐมญาณนิเทศ. บทว่า อวิตถานิ เป็นของไม่ผิด คือ
ปราศจากความตรงกันข้ามในสภาพที่กล่าวแล้ว เพราะสัจจะไม่มี ก็ชื่อว่า

ไม่มีสัจจะ. บทว่า อนญฺญกานิ ไม่เป็นอย่างอื่น คือ เว้นจากสภาพอื่น
เพราะไม่มีสัจจะหามิได้ ก็ชื่อว่า มีสัจจะ.
บทว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ภิกฺขเว ตถเมตํ สัจจะว่านี้ทุกข์เป็นของ
จริง คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่กล่าวว่า นี้ทุกข์ สิ่งนั้นชื่อว่า เป็น
ของแท้ เพราะตามความเป็นจริง. จริงอยู่ ทุกข์นั่นแหละคือทุกข์ ชื่อว่า
เป็นของไม่ผิด เพราะไม่มีสิ่งตรงกันข้ามในสภาวะดังกล่าวแล้ว เพราะทุกข์
ไม่มี ก็ชื่อว่า ไม่มีทุกข์ ชื่อว่าไม่เป็นอย่างอื่นเพราะปราศจากสภาพอื่น.
จริงอยู่ ทุกข์ไม่มีสภาพเป็นสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ได้. แม้ในสมุทัยเป็นต้น
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ


บทว่า ตถฏฺเฐน ด้วยอรรถเป็นของแท้ คือ ด้วยอรรถตามความ
เป็นจริง. บทว่า ปีฬนฏโฐ สภาพบีบคั้นเป็นต้น มีความดังกล่าวแล้วใน
ญาณกถานั่นแล.
บทว่า เอกปฺปฏิเวธานิ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว คือ แทง
ตลอดด้วยมรรคญาณเดียว หรือชื่อว่า เอกปฺปฏิเวธานิ เพราะมีการแทง
ตลอดร่วมกัน. บทว่า อนตฺตฏฺเฐน ด้วยความเป็นอนัตตา คือ ด้วยความ
เป็นอนัตตา เพราะความที่สัจจะแม้ 2 ปราศจากตน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ใน
วิสุทธิมรรคว่า โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่า ว่างเปล่า
เพราะไม่มีผู้เสวย ผู้กระทำ ผู้ดับและผู้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า