เมนู

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศกถาแห่งสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ตตฺถ
ธมฺเม ชาเต
ธรรมที่เกิดในสมาธินั้น คือจิตเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นสมาธินั้น.
พระอานนทเถระแสดงถึงประเภทแห่งวิปัสสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต
อนุปสฺสนฏฺเฐน
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ มคฺโค ได้แก่มรรคคือสัมมาทิฏฐิ. ในองค์แห่งมรรค 8
แม้องค์หนึ่ง ๆ ท่านก็เรียกมรรค. บทว่า อาเสวติ ย่อมเสพ คือย่อมเสพ
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค. บทว่า ภาเวติ ย่อมเจริญ คือย่อมเจริญ
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค. บทว่า พหุลีกโรติ ย่อมทำให้มาก คือ
ย่อมทำให้มาก ด้วยให้เกิดอนาคามิมรรคและอรหัตมรรค แม้เมื่อความไม่
ต่างกันแห่งหน้าที่ของมรรค 3 เหล่านี้มีอยู่ เพราะอาวัชชนจิตเป็นต้น เป็น
จิตทั่วไป ท่านจึงแก้เหมือนกัน.
ในไปยาลในระหว่างอาโลกสัญญา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา ท่าน
ย่อความไม่ฟุ้งซ่านเป็นต้น ฌาน สมาบัติ กสิณ อนุสติ และอสุภะ และ
ลมหายใจเข้ายาวเป็นต้นไว้ เพราะท่านได้ชี้แจงไว้แล้วในสมาธิญาณนิเทศใน
ลำดับ.
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกฺเขปวเสน ด้วยอำนาจแห่งความ
ไม่ฟุ้งซ่าน พึงถือเอาด้วยความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนเบื้องต้น ในบทมีอาทิว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
เป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า พึงทราบวิปัสสนามีกำลัง มีสมาธิสัมปยุตด้วย

วิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ในกาลแห่งวิปัสสนาอ่อนในจตุกะที่ท่านกล่าวแล้วด้วย
อำนาจแห่งวิปัสสนาล้วน.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้. ท่าน
กล่าววิปัสสนาไม่กำหนดอารมณ์ ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก่อน กล่าว
กำหนดอารมณ์ด้วยบทมีอาทิว่า รูปํ อนิจฺจโต ในภายหลัง. บทว่า ตตฺถ
ชาตานํ
เกิดแล้วในวิปัสสนานั้น คือจิตเจตสิกธรรมเกิดแล้วในวิปัสสนานั้น.
การปล่อยในบทนี้ว่า โวสฺสคฺคารมฺมณตา ความที่จิตมีการปล่อยเป็นอารมณ์
คือนิพพาน เพราะนิพพานท่านกล่าวว่า โวสฺสคฺโค เพราะปล่อยสังขตธรรม
เพราะสละ. วิปัสสนาและธรรมสัมปยุตด้วยวิปัสสนานั้น มีนิพพานเป็นที่ตั้ง
มีนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะน้อมไปสู่นิพพาน และเพราะตั้งอยู่ในนิพพาน
ด้วยสามารถแห่งอัธยาศัย. แม้การตั้งไว้ก็ชื่อว่าอารมณ์ เพราะหน่วงเหนี่ยวไว้
มีนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยอรรถว่าตั้งอยู่ในนิพพานนั่นเอง. จริงอยู่ แม้ใน
บาลีในที่อื่น การตั้งไว้ที่ก็กล่าวว่า อารมฺมณํ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวบท
มีอาทิว่า ดูก่อนอาวุโส เหมือนบุรุษเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟจุดเรือนมุงด้วย
ไม้อ้อ เรือนมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นโพรงค้างปี ทางทิศตะวันออก ไฟพึงได้
โอกาส พึงได้อารมณ์ เพราะฉะนั้น เพราะความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ ความไม่ฟุ้งซ่านใดอันมีประเภทเป็นอุปการะ
และอัปปนากล่าวคือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ให้สมาธิเกิดโดยมีนิพพาน
เป็นที่ตั้งเป็นเหตุ ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านชี้แจงเป็นสมาธิ คือมีความ
ตั้งมั่นอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดให้สมาธิเกิดในภายหลัง เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อิติ ปฐมํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ ด้วยประการดังนี้
วิปัสสนาก่อน สมถะภายหลัง.

พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธนิเทศ ดังต่อไปนี้. เพราะลำดับแห่งธรรม
ที่เป็นคู่ ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสูตรในภายหลัง ปรากฏแล้วโดยนัย
แห่งนิเทศทั้งสองในก่อน ส่วนลำดับแห่งธรรมที่เป็นคู่ในขณะแห่งมรรคยังไม่
ปรากฏ เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระไม่กล่าวถึงการเจริญธรรมที่เป็นคู่
อันมีอยู่ไม่น้อยในส่วนเบื้องต้น เมื่อจะแสดงถึงการเจริญธรรมที่เป็นคู่ อันได้
โดยส่วนเดียวในขณะแห่งมรรค จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสฬสหิ อากาเรหิ
ด้วยอาการ 16.
ในบทเหล่านั้น ธรรมคู่ที่ท่านยกขึ้นแสดงในที่สุดในอาการ 17 อย่าง
มีอาทิว่า อารมฺมณฏฺเฐน ด้วยความเป็นอารมณ์ละธรรมคู่นั้น เพราะตั้งอยู่
ในที่เดียวกันด้วยเป็นบทมูลเหตุแล้วกล่าวว่า โสฬสหิ ด้วยอาการ 16 ด้วย
อำนาจแห่งอาการที่เหลือ.
บทว่า อารมฺมณฏฺเฐน คือด้วยความหน่วงเหนี่ยว อธิบายว่า ด้วย
อำนาจแห่งอารมณ์.
บทว่า โคจรฏฺเฐน ด้วยความเป็นอารมณ์ เมื่อมีบทว่า อารมฺม-
ณฏฺเฐน
อยู่แล้ว. บทว่า โคจรฏฺเฐน คือฐานะควรอาศัย.
บทว่า ปหานฏฺเฐน คือด้วยความละ. บทว่า ปริจฺจาคฏฺเฐน
ด้วยความสละ คือเมื่อการละมีอยู่แล้วก็ด้วยความไม่ยึดถือด้วยความเสียสละ.
บทว่า วุฏฺฐานฏฺเฐน ด้วยความออก คือด้วยความออกไป. บทว่า
วิวฏฺฏนตฺเถน ด้วยความหลีกไป คือเมื่อการออกไปมีอยู่แล้วก็ด้วยการไม่
หมุนกลับมาอีก ด้วยการกลับไป. บทว่า สนฺตฏฺเฐน ด้วยความเป็นธรรม
สงบ คือด้วยความดับ. บทว่า ปณีตฏฺเฐน ด้วยความเป็นธรรมประณีตคือ
แม้เมื่อมีความดับอยู่แล้วก็ด้วยความเป็นธรรมสูงสุด หรือด้วยความเป็นธรรม
ไม่เดือดร้อน.

บทว่า วิมุตฺตฏฺเฐน ด้วยความหลุดพ้น คือด้วยความปราศจาก
เครื่องผูกพัน. บทว่า อนาสวฏฺเฐน ด้วยความไม่มีอาสวะ คือ แม้เมื่อมีการ
พ้นจากเครื่องผูกพันแล้วก็ด้วยความปราศจากอาสวะอันทำอารมณ์ยังเป็นไปอยู่.
บทว่า ตรณฏฺเฐน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม คือด้วยความไม่จมแล้วลอนไป.
บทว่า อนิมิตฺตฏฺเฐน ด้วยความไม่มีนิมิต คือด้วยความปราศจากสังขารนิมิต.
บทว่า อปฺปณิหิตฏฺเฐน ด้วยความไม่มีที่ตั้งคือ ด้วยความปราศจาก
ที่ตั้ง. บทว่า สุญฺญตฏเฐน ด้วยความว่างเปล่า คือด้วยความปราศจากเครื่อง
ยึด. บทว่า เอกรสฏฺเฐน ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน คือด้วย
กิจอย่างเดียวกัน. บทว่า อนติวตฺตนฏฺเฐน ด้วยความไม่ล่วงเกินกันคือ
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน. บทว่า ยุคนทฺธฏฺเฐน คือ ด้วยความเป็น
คู่กัน.
บทว่า อุทฺธจฺจํ ปชหโต อวิชฺชํ ปชหโต เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ
ละอวิชชา ท่านกล่าวด้วยสามารถการละธรรมเป็นปฏิปักษ์ของธรรมนั้น ๆ ของ
พระโยคาวจร. อนึ่ง นิโรธในที่นี้คือ นิพพานนั่นเอง. บทว่า อญฺญมญฺญํ
นาติวตฺตนฺติ
ไม่ล่วงเกินกันและกัน คือ หากสมณะล่วงเกินวิปัสสนา จิตพึง
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะสมถะเป็นไปในฝ่ายหดหู่. หากว่า วิปัสสนา
ล่วงเกินสมถะ จิตพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านเพราะวิปัสสนาเป็นไปในฝ่ายแห่ง
ความฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น สมถะเมื่อไม่ล่วงเกินวิปัสสนาย่อมไม่ตกไปใน
ความเกียจคร้าน วิปัสสนาล่วงเกินสมถะ ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน
สมถะเป็นไปเสมอย่อมรักษาวิปัสสนาจากการตกไปสู่ความฟุ้งซ่าน วิปัสสนา
เป็นไปเสมอย่อมรักษาสมถะจากการตกไปสู่ความเกียจคร้าน. สมถะและวิปัสสนา
ทั้ง 2 มีกิจอย่างเดียวกันด้วยกิจคือ การไม่ล่วงเกินกันและกันด้วยประการฉะนี้.
สมถะและวิปัสสนาเป็นไปเสมอไม่ล่วงเกินกันและกัน ย่อมทำประโยชน์ให้

สำเร็จ. ความที่สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งมรรคย่อมมีได้
เพราะเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี.
เพื่อความเข้าใจกิจของมรรคทั้งสิ้น เพราะท่านกล่าวการทำการละ
การสละ การออก และการหลีกไปด้วยอำนาจแห่งกิจของมรรค ท่านจึงชี้แจง
กิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะและขันธ์ และกิเลสสหรคตด้วยอวิชชาและขันธ์
เพราะท่านกล่าวขันธ์ที่เหลืออย่างนั้นแล้ว จึงไม่ชี้แจงถึงอุทธัจจะและอวิชชา
ด้วยอำนาจแห่งการเข้าใจเพียงธรรมอันเป็นปฏิปักษ์. บทว่า วิวฏฺฏโต คือ
หลีกไป. บทว่า สมาธิ กามาสวา วิมุตฺโต โหติ สมาธิพ้นจากกามาสวะ
ท่านกล่าวเพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ของกามฉันทะ. บทว่า ราควิราคา เพราะ
คลายราคะ ชื่อว่า ราควิราโค เพราะมีการคลาย การก้าวล่วงราคะหรือเป็น
ปัญจมีวภัตติว่า ราควิราคโต จากการคลายราคะ. อนึ่ง เพราะคลายอวิชชา.
บทว่า เจโตวิมุตฺติ คือสมาธิสัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ปญฺญาวิมุตฺติ ปัญญา
สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ตรโต คือ ผู้ข้าม. บทว่า สพฺพปณิธีหิ ด้วยที่ตั้ง
ทั้งปวง คือด้วยที่ตั้งคือราคะ โทสะ โมหะ หรือด้วยความปรารถนาทั้งปวง.
พระอานนทเถระครั้นแก้อาการ 14 อย่าง อย่างนี้แล้ว จึงไม่แก้
ความมีกิจอย่างเดียวกัน และความไม่ก้าวล่วงแล้วกล่าวว่า อิเมหิ โสฬสหิ
อากาเรหิ
ด้วยอาการ 16 อย่างเหล่านี้. เพราะเหตุไร เพราะในที่สุดของ
อาการอย่างหนึ่ง ๆ แห่งอาการ 14 เหล่านั้น ท่านชี้แจงไว้ว่า อาการทั้งหลาย
มีกิจอย่างเดียวกัน เป็นธรรมคู่กัน ไม่ก้าวล่วงกันและกันดังนี้ จึงเป็นอัน
ท่านแสดงอาการแม้ทั้งสองเหล่านั้นทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โสฬสหิ.
ส่วนอาการมีความเป็นธรรมคู่ท่านไม่ได้กล่าวไว้ แม้ในนิเทศเลย.
จบอรรถกถาสุตตันตนิเทศ

อรรถกถาธรรมุทธัจจวารนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมุทธัจจวาระดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจโต
มนสิกโรโต โอภาโส อุปฺปชฺชติ
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น คือภิกษุตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสสนาเห็นแจ้งสังขาร
ทั้งหลายด้วยอนุปัสสนา 3 บ่อย ๆ มีจิตบริสุทธิ์ด้วยการละกิเลสด้วยตทังคปหานะ
ในวิปัสสนาญาณอันถึงความแก่กล้า โอภาสย่อมเกิดความปกติด้วยอานุภาพ
แห่งวิปัสสนาญาณในขณะมนสิการ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ หรือโดยความไม่ใช่ตัวตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงโอภาส
ของภิกษุผู้มนสิการ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงก่อน.
ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาไม่ฉลาด เมื่อโอภาสนั้นเกิดคิดว่า โอภาสเห็น
ปานนี้ ยังไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้เลยหนอ เราเป็นผู้บรรลุมรรค
บรรลุผลแน่แท้แล้ว จึงถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคนั่นแหละว่า เป็นมรรค สิ่งที่
ไม่ใช่ผลนั่นแหละว่าเป็นผล.
เมื่อภิกษุนั้นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งที่ไม่ใช่ผลว่าเป็น
ผล ก้าวออกจากวิปัสสนาวิถี. ภิกษุนั้นสละวิปัสสนาวิถีของตนถึงความฟุ้งซ่าน
หรือสำคัญโอภาสด้วยความสำคัญแห่งตัณหาและทิฏฐินั่งอยู่. ก็โอภาสนี้นั้นเกิด
ให้สว่างเพียงที่นั่งของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น ภายในห้องของภิกษุบางรูป
แม้นอกห้องของภิกษุบางรูป ทั่วทั้งวิหารของภิกษุบางรูป คาวุตหนึ่งกึ่งโยชน์
2 โยชน์ ฯลฯ ทำแสงสว่างเป็นอันเดียวกันตั้งแต่พื้นดินจนถึงอกนิษฐพรหมโลก
ของภิกษุบางรูป แต่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดโอภาสตลอดหมื่นโลกธาตุ
เพราะโอภาสนี้ ยังที่นั้น ๆ ให้สว่างย่อมเกิดในเวลามืดอันประกอบด้วยองค์ 4.