เมนู

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศกถาแห่งสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ตตฺถ
ธมฺเม ชาเต
ธรรมที่เกิดในสมาธินั้น คือจิตเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นสมาธินั้น.
พระอานนทเถระแสดงถึงประเภทแห่งวิปัสสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต
อนุปสฺสนฏฺเฐน
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ มคฺโค ได้แก่มรรคคือสัมมาทิฏฐิ. ในองค์แห่งมรรค 8
แม้องค์หนึ่ง ๆ ท่านก็เรียกมรรค. บทว่า อาเสวติ ย่อมเสพ คือย่อมเสพ
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค. บทว่า ภาเวติ ย่อมเจริญ คือย่อมเจริญ
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค. บทว่า พหุลีกโรติ ย่อมทำให้มาก คือ
ย่อมทำให้มาก ด้วยให้เกิดอนาคามิมรรคและอรหัตมรรค แม้เมื่อความไม่
ต่างกันแห่งหน้าที่ของมรรค 3 เหล่านี้มีอยู่ เพราะอาวัชชนจิตเป็นต้น เป็น
จิตทั่วไป ท่านจึงแก้เหมือนกัน.
ในไปยาลในระหว่างอาโลกสัญญา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา ท่าน
ย่อความไม่ฟุ้งซ่านเป็นต้น ฌาน สมาบัติ กสิณ อนุสติ และอสุภะ และ
ลมหายใจเข้ายาวเป็นต้นไว้ เพราะท่านได้ชี้แจงไว้แล้วในสมาธิญาณนิเทศใน
ลำดับ.
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกฺเขปวเสน ด้วยอำนาจแห่งความ
ไม่ฟุ้งซ่าน พึงถือเอาด้วยความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนเบื้องต้น ในบทมีอาทิว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
เป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า พึงทราบวิปัสสนามีกำลัง มีสมาธิสัมปยุตด้วย