เมนู

ยุคนัทธวรรค


อรรถกถายุคนัทธกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยกล่าวแห่งยุคนัทธกถาอัน
มีสูตรเป็นบทนำ อันพระอานนทเถระแสดงถึงคุณของยุคนัทธธรรม (ธรรมที่
เทียมคู่) แห่งอริยมรรคอันเป็นคุณธรรมผ่องใสควรดื่มกล่าวแล้ว.
ก็เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เชื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชายังทรงพระชนม์ ได้ปรินิพพานในปีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชาเสด็จปรินิพพาน. ฉะนั้นพึงทราบว่าเมื่อพระธรรมราชายังทรง
พระชนม์อยู่นั่นเอง พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรสดับสูตรนี้ซึ่งพระอานนท์ผู้เป็น
ธรรมภัณฑาคาริก (คลังพระธรรม) แสดงไว้ เฉพาะหน้าของพระอานนท์นั้น
แล้วจึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำพูดน่ารัก เป็นคำพูด
แสดงความเคารพ เป็นคำพูดแสดงความมีคารวะ และความยำเกรง อธิบายว่า
ผู้มีอายุ. บทว่า อานนฺโท เป็นชื่อของพระเถระนั้น. เพราะพระเถระนั้น
เมื่อเกิดได้ทำความพอใจ ความยินดีอย่างมากในตระกูล ฉะนั้น พระเถระนั้น
จึงได้ชื่อว่า อานนท์. บทว่า โกสมฺพิยํ ใกล้นครมีชื่ออย่างนั้น. เพราะ
นครนั้น มีต้นสะคร้อขึ้นหนาแน่นในที่นั้น ๆ มีสวนและสระโบกขรณีเป็นต้น
ฉะนั้น นครนั้นจึงชื่อว่า โกสัมพี อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะฤษีกุสุมพะ
สร้างไว้ ไม่ไกลจากอาศรม. บทว่า โฆสิตาราเม ณ โฆสิตาราม คือ ณ
อารามที่โฆสิตเศรษฐีสร้างไว้. ในกรุงโกสัมพี ได้มีเศรษฐี 3 คน คือ
โฆสิตเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐี. เศรษฐีทั้ง 3 นั้น ได้ฟังว่า
พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก จึงให้เตรียมอุปกรณ์ในการให้ทานด้วยเกวียน

500 เล่มไปกรุงสาวัตถี จัดที่พักใกล้พระเชตวันแล้วไปเฝ้าพระศาสดา ถวาย
บังคม นั่งทำปฏิสันถาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ตั้งอยู่ในโสดา-
ปัตติผล นิมนต์พระศาสดา ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขประมาณกึ่งเดือน แล้วหมอบลง ณ บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสด็จไปยังชนบทของตน เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายย่อมยินดียิ่งใน
สุญญาคาร ครั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ปฏิญญาแก่พวกเราแล้ว
จึงยินดีอย่างยิ่ง ถวายบังคมพระทศพล ออกไปสร้างวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่โยชน์หนึ่ง ๆ ในระหว่างทางถึงกรุงโกสัมพีโดยลำดับ
ทำการบริจาคทรัพย์เป็นอันมากในอารามของตน ๆ แล้วสร้างวิหารทั้งหลาย
ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ในเศรษฐีเหล่านั้น โฆสิตเศรษฐีสร้างอาราม
ชื่อว่า โฆสิตาราม กุกกุฏเศรษฐีสร้างอารามชื่อว่า กุกกุฏาราม ปาวาริกเศรษฐี
สร้างในสวนอัมพวัน ชื่อว่า ปาวาริกัมพวัน. ท่านกล่าวว่า โฆสิตเสฏฐินา
การิเต อาราเม
ในอารามอันโฆสิตเศรษฐีสร้างหมายถึงโฆสิตารามนั้น.
ในบทว่า อาวุโส ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุผู้อาวุโสทั้งหลาย นี้ พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสเรียกสาวกทั้งหลาย ย่อมตรัสเรียกว่า ภิกฺขโว.
ส่วนสาวกทั้งหลายคิดว่า เราจงอย่าเป็นเช่นกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย จึง
กล่าวว่า อาวุโส ก่อนแล้วจึงกล่าวว่า ภิกฺขโว ภายหลัง. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้า
ตรัสเรียก ภิกษุสงฆ์ย่อมรับว่า ภทนฺเต เมื่อสาวกเรียก ภิกษุสงฆ์รับว่า
อาวุโส.
บทว่า โย หิ โกจิ รูปใดรูปหนึ่ง เป็นคำไม่แน่นอน. ด้วยบทนี้
เป็นการหมายเอาภิกษุทั้งหมดเช่นนั้น. บทว่า มม สนฺติเก ในสำนักของเรา.

คือในที่ใกล้เรา. บทว่า อรหตฺตปฺปตฺตํ คือบรรลุพระอรหัตด้วยตนเอง.
รูปสำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์ หรือตัดบทว่า อรหตฺตํ ปตฺตํ บรรลุซึ่งพระอรหัต
ความว่า พระอรหัตอันตนบรรลุแล้ว หรือปาฐะที่เหลือว่าตนบรรลุพระอรหัต
แล้ว.
บทว่า จตูหิ มคฺเคหิ ด้วยมรรค 4 คือด้วยปฏิปทามรรค 4 ซึ่ง
ท่านกล่าวไว้ในตอนบน มิใช่ด้วยอริยมรรค. เพราะท่านกล่าวไว้แผนกหนึ่ง
ด้วยบทว่า จตูหิ มคฺเคหิ ด้วยมรรค 4 พึงทราบว่าปฏิปทามรรคมี 4
อย่างนี้ คือ มรรคมีธรรมุทธัจจะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรคต้น ของพระอรหันต์
รูปใดรูป 1 มรรคมีสมถะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรค 1 มรรคมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องต้นแห่งอริยมรรค 1 มรรคมียุคนัทธธรรม (ธรรมที่เทียมคู่) เป็น
เบื้องต้นแห่งอริยมรรค 1 บทว่า เอเตสํ วา อญฺญตเรน หรือด้วยมรรค
เหล่านั้น มรรคใดมรรคหนึ่ง คือ หรือด้วยมรรคหนึ่งบรรดาปฏิปทามรรค 4
เหล่านั้น ความว่า พระอานนท์เถระพยากรณ์การบรรลุพระอรหัต ด้วยปฏิปทา-
มรรค. จริงอยู่ เมื่อพระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสกบรรลุโสดาปัตติมรรค อันมี-
ธรรมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น แล้วบรรลุมรรค 3 ที่เหลือด้วยวิปัสสนาล้วน การ
บรรลุพระอรหัตย่อมเป็นมรรค มีธรรมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น การบรรลุ
พระอรหัตของพระอรหันต์ผู้มีมรรค 4 อันตนบรรลุแล้วก็ดี ยังไม่บรรลุแล้ว
ก็ดี ซึ่งธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ บรรลุแล้วด้วยสามารถแห่งปฏิปทามรรค 3
มีสมถะเป็นเบื้องต้น เป็นต้นมรรคหนึ่งๆ ย่อมเป็นมรรคมีมรรคหนึ่ง ๆ นอกนี้
เป็นเบื้องต้น ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงกล่าวว่า เอเตสํ วา อญฺญตเรน.
บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ ย่อมเจริญวิปัสสนา
อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น คือเจริญวิปัสสนาทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึง

ก่อน ความว่า ยังสมาธิให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง. บทว่า
มคฺโค สญฺชายติ มรรคย่อมเกิด คือโลกุตรมรรคย่อมเกิดก่อน. ในบท
มีอาทิว่า โส ตํ มคฺคํ ภิกษุนั้นย่อมเสพมรรคนั้น ชื่อว่าการเสพเป็นต้น
ของมรรค อันมีขณะจิตเดียวย่อมไม่มี ภิกษุยังทุติยมรรคเป็นต้นให้เกิด
ท่านกล่าวว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น. บทว่า สญฺโญชนานิ
ปหียนฺติ อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป คือ
ย่อมละสังโยชน์ทั้งปวงได้ตามลำดับตลอดถึงอรหัตมรรค อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อนึ่ง บทว่า อนุสยา พฺยนฺตีโหนฺติ ความว่า อนุสัยปราศจากไป
โดยไม่เกิดขึ้นอีก. บทว่า ปุน จปรํ อีกประการหนึ่ง คือยังมีเหตุอื่นอีก.
บทว่า วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถ ภาเวติ ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องต้น คือ ภิกษุเจริญสมถะ ทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน
ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง.
บทว่า ยุคนทฺธํ ภาเวติ เจริญคู่กันไป คือเจริญทำให้คู่กันไป.
ในบทนี้ไม่อาจเข้าสมาบัติด้วยจิตนั้น แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตนั้น
ได้ แก่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลายได้เพียง
นั้น. พิจารณาถึงสังขารได้เพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติได้เพียงนั้นอย่างไร. ภิกษุ
เข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานนั้นแล้วย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย
ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วย่อมเข้าทุติยฌาน ครั้นออกจากทุติยฌานนั้น
แล้ว ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อม
เข้าตติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุชื่อว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาอันเป็นธรรมคู่กัน.

ในบทนี้ว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานสํ มีใจนึกถึงโอภาสอันเป็น
ธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ คือ อุทธัจจะคือความฟุ้งซ่าน ด้วยบังเกิดจิตอัน
สหรคตด้วยอุทธัจจะ ด้วยสามารถแห่งหมุนเคว้งไปในธรรม 10 ประการ มี
โอภาสเป็นต้น อันเป็นที่รู้กันว่าเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เพราะผู้เจริญ
วิปัสสนามีปัญญาอ่อน ชื่อว่า ธรรมุทธัจจะ มีใจอันธรรมุทธัจจะนั้นกั้นไว้
คือถือเอาผิดรูปให้ถึงความพิโรธ ชื่อว่า มีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูก
อุทธัจจะกั้นไว้ หรือมีใจถูกธรรมุทธัจจะนั้นอันเป็นเหตุกั้นไว้ ด้วยความเกิด
แห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิอันมีธรรมุทธัจจะนั้นอันเป็นเหตุ. ปาฐะว่า ธมฺมุทฺ-
ธจฺจวิคฺคหิตมานสํ
. ด้วยบทนี้ว่า โหติ โส อาวุโส สมโย ดูก่อน
อาวุโส สมัยนั้น พระอานนทเถระห้ามธรรมุทธัจจะนั้น ด้วยกำหนดมรรคและ
มิใช่มรรค แล้วแสดงถึงปฏิบัติวิถีแห่งวิปัสสนาอีก.
บทว่า ยํ ตํ จิตฺตํ จิตนั้นใด คือในสมัยใด จิตนั้นก้าวลงสู่วิถีแห่ง
วิปัสสนาเป็นไปแล้ว. บทว่า อชฺฌตฺตเมว สนฺติฏฺฐติ จิตย่อมตั้งมั่นอยู่
ภายใน คือจิตก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาแล้ว ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ กล่าว
คือภายในแห่งอารมณ์ในสมัยนั้น. บทว่า สนฺนิสีทติ จิตสงบ คือสงบโดย
ชอบด้วยความเป็นไปในอารมณ์นั้นนั่นเอง. บทว่า เอโกทิ โหติ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น คือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า สมาธิยติ ตั้งมั่นอยู่ คือ
จิตตั้งมั่นโดยชอบ ตั้งมั่นด้วยดี.
นี้อรรถกถาพระสูตร

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศกถาแห่งสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ตตฺถ
ธมฺเม ชาเต
ธรรมที่เกิดในสมาธินั้น คือจิตเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นสมาธินั้น.
พระอานนทเถระแสดงถึงประเภทแห่งวิปัสสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต
อนุปสฺสนฏฺเฐน
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ มคฺโค ได้แก่มรรคคือสัมมาทิฏฐิ. ในองค์แห่งมรรค 8
แม้องค์หนึ่ง ๆ ท่านก็เรียกมรรค. บทว่า อาเสวติ ย่อมเสพ คือย่อมเสพ
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค. บทว่า ภาเวติ ย่อมเจริญ คือย่อมเจริญ
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค. บทว่า พหุลีกโรติ ย่อมทำให้มาก คือ
ย่อมทำให้มาก ด้วยให้เกิดอนาคามิมรรคและอรหัตมรรค แม้เมื่อความไม่
ต่างกันแห่งหน้าที่ของมรรค 3 เหล่านี้มีอยู่ เพราะอาวัชชนจิตเป็นต้น เป็น
จิตทั่วไป ท่านจึงแก้เหมือนกัน.
ในไปยาลในระหว่างอาโลกสัญญา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา ท่าน
ย่อความไม่ฟุ้งซ่านเป็นต้น ฌาน สมาบัติ กสิณ อนุสติ และอสุภะ และ
ลมหายใจเข้ายาวเป็นต้นไว้ เพราะท่านได้ชี้แจงไว้แล้วในสมาธิญาณนิเทศใน
ลำดับ.
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกฺเขปวเสน ด้วยอำนาจแห่งความ
ไม่ฟุ้งซ่าน พึงถือเอาด้วยความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนเบื้องต้น ในบทมีอาทิว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
เป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า พึงทราบวิปัสสนามีกำลัง มีสมาธิสัมปยุตด้วย