เมนู

ยุคนัทธวรรค


ยุคนัทธกถา


ว่าด้วยมรรค 4


[534] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อน-
อาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค 4 ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค 4
เป็นไฉน.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอกาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรค
ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุ
นั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อม
สิ้นไป ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค 4 นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใด
มรรคหนึ่ง.
[535] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ?
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนา
มีสมถะเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอัน
เดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกิน
กัน 1 ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1.
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร.
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมา-

อาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้.
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ดังนี้ ความว่า ย่อมเสพอย่างไร.
ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่า
เสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่
ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญ
ธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ
ย่อมเสพอย่างนี้.
คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร.
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ...ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้.
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร.
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก...ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้.
คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อย่างไร.

ย่อมละสังโยชน์ 3 นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
อนุสัย 2 นี้ คือ ทิฏฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค.
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
หยาบ ๆ อนุสัย 2 นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ย่อม
สิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค.
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
ละเอียด ๆ อนุสัย 2 นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค.
ย่อมละสังโยชน์ 5 นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา อนุสัย 3 นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้น
ไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้.
[536] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่
พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง
อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยสามารถความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็น
ทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามี
ภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน...ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ.
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร.

สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด... มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้.
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น ความว่า ย่อมเสพอย่างไร.
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งมรรคที่
ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้.
คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร.
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้.
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร.
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้.
คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรมนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อย่างไร...
[537] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ?
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดย
ความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่
เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรค
ย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น
เป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการ
ดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญ-
สมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็น
ที่เสพ.
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมี
การปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์
เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมี
ภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้.
[538] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ?

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ 16 คือ ด้วย
ความเป็นอารมณ์ 1 ด้วยความเป็นโคจร 1 ด้วยความละ 1 ด้วยความสละ 1
ด้วยความออก 1 ด้วยความหลีกไป 1 ด้วยความเป็นธรรมสงบ 1 ด้วยความ
เป็นธรรมประณีต 1 ด้วยความหลุดพ้น 1 ด้วยความไม่มีอาสวะ 1 ด้วยความ
เป็นเครื่องข้าม 1 ด้วยความไม่มีนิมิต 1 ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 1 ด้วยความว่าง-
เปล่า 1 ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยความไม่ล่วงเกินกัน
และกัน 1 ด้วยความเป็นคู่กัน 1.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ
และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้.
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิ-
โรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร.

[539] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความอย่างไร.
เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ เเละขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบ
ด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร.
เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบ
ด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร.
เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการฉะนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร.

เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณา
เห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอัน
เดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน ด้วยความหลีกไป.
[540] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา
เป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมที่ละเอียด.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
อย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการฉะนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต.

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นความหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่า
เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกิน
กันและกัน ด้วยความหลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความหลุดพ้น.
[541] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นของคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม
อย่างไร ?
เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน

เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะเเละวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม.
ภิกษุเจริญสมถะเเละวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิต อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีนิมิตทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นของคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิต.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจรด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า.

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วง
เกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 ฯลฯ
คำว่ามรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา
เป็นคู่กัน ด้วยอาการ 16 เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้.
[542] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
อย่างไร ?
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตาม
ความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอัน
เป็นธรรมถกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้นจิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่. มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อ
ภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์
(ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐาน (ความตั้งมั่น)
อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า
ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็น

อุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจนึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ มรรค
ย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา
นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะ
นึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้น
กั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า
มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์
ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้.
[543] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึง
ความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็น

อนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น
จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่
ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ มรรคย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม
ละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูก
อุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้.
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอกาส ญาณ
ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ
ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุ
นั้นกำหนดฐานะ 10 ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อม
เป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอกาสเป็นต้นอันเป็นธรรม
ฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง
เศร้าหมอง และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง
เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้า
หมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนา ด้วยฐานะ 4 ประการนี้
ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตฟุ้งซ่านถูกโอภาสเป็น
ต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ 10 ประการ ฉะนี้แล.

จบยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค


อรรถกถายุคนัทธกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยกล่าวแห่งยุคนัทธกถาอัน
มีสูตรเป็นบทนำ อันพระอานนทเถระแสดงถึงคุณของยุคนัทธธรรม (ธรรมที่
เทียมคู่) แห่งอริยมรรคอันเป็นคุณธรรมผ่องใสควรดื่มกล่าวแล้ว.
ก็เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เชื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชายังทรงพระชนม์ ได้ปรินิพพานในปีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชาเสด็จปรินิพพาน. ฉะนั้นพึงทราบว่าเมื่อพระธรรมราชายังทรง
พระชนม์อยู่นั่นเอง พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรสดับสูตรนี้ซึ่งพระอานนท์ผู้เป็น
ธรรมภัณฑาคาริก (คลังพระธรรม) แสดงไว้ เฉพาะหน้าของพระอานนท์นั้น
แล้วจึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำพูดน่ารัก เป็นคำพูด
แสดงความเคารพ เป็นคำพูดแสดงความมีคารวะ และความยำเกรง อธิบายว่า
ผู้มีอายุ. บทว่า อานนฺโท เป็นชื่อของพระเถระนั้น. เพราะพระเถระนั้น
เมื่อเกิดได้ทำความพอใจ ความยินดีอย่างมากในตระกูล ฉะนั้น พระเถระนั้น
จึงได้ชื่อว่า อานนท์. บทว่า โกสมฺพิยํ ใกล้นครมีชื่ออย่างนั้น. เพราะ
นครนั้น มีต้นสะคร้อขึ้นหนาแน่นในที่นั้น ๆ มีสวนและสระโบกขรณีเป็นต้น
ฉะนั้น นครนั้นจึงชื่อว่า โกสัมพี อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะฤษีกุสุมพะ
สร้างไว้ ไม่ไกลจากอาศรม. บทว่า โฆสิตาราเม ณ โฆสิตาราม คือ ณ
อารามที่โฆสิตเศรษฐีสร้างไว้. ในกรุงโกสัมพี ได้มีเศรษฐี 3 คน คือ
โฆสิตเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐี. เศรษฐีทั้ง 3 นั้น ได้ฟังว่า
พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก จึงให้เตรียมอุปกรณ์ในการให้ทานด้วยเกวียน