เมนู

อรรถกถามัณฑเปยยกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพิจารณาแห่งมัณฑเปยย-
กถา (ของใสที่ควรดื่มเทียบด้วยคุณธรรม) อันเป็นเบื้องต้นส่วนหนึ่งของ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่
มรรคนั้นเป็นธรรม ผ่องใสควรดื่ม ตรัสไว้แล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มณฺฑเปยฺยํ เป็นพรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม
ชื่อว่า มณฺโฑ ด้วยอรรถว่าผ่องใสเหมือนอย่างเนยใสที่สมบูรณ์ สะอาด ใส
ท่านเรียกว่า สัปปิมัณฑะ ความผ่องใสของเนยใส ฉะนั้น. ชื่อว่า เปยฺยํ
ด้วยอรรถว่า ควรดื่ม. ชนทั้งหลายดื่มของควรดื่มใดแล้วลงไปในระหว่างถนน
หมดความรู้ แม้ผ้านุ่งเป็นต้นของตนก็ไม่อยู่กับตัว ของควรดื่มนั้นแม้ใสก็
ไม่ควรดื่ม. ส่วนศาสนพรหมจรรย์ คือ ไตรสิกขานี้ของเรา ชื่อว่าใส เพราะ
สมบูรณ์ เพราะไม่มีมลทิน เพราะผ่องใส และชื่อว่าควรดื่ม เพราะนำ
ประโยชน์สุขมาให้ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่าเป็น
พรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม. ชื่อว่า มณฺฑเปยฺยํ เพราะมีความผ่องใสควรดื่ม.
นั้นคืออะไร. คือศาสนพรหมจรรย์. เพราะเหตุไรไตรสิกขาจึงชื่อว่าพรหมจรรย์.
นิพพานชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่าสูงสุด ไตรสิกขาเป็นความประพฤติ
เพื่อประโยชน์แก่ความสูงสุดเพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่นิพพาน เพราะเหตุ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นพรหมจรรย์ ศาสนพรหมจรรย์ก็คือ
ไตรสิกขานั้นนั่นเอง.
บทว่า สตฺถา สมฺมุขีภูโต พระศาสดามีอยู่เฉพาะหน้านี้ เป็นคำ
แสดงถึงเหตุในบทนี้. ก็เพราะพระศาสดามีอยู่เฉพาะหน้า ฉะนั้นท่านทั้งหลาย

จงประกอบความเพียร ดื่มพรหมจรรย์อันผ่องใสนี้เถิด เพราะเมื่อดื่มยาใส
ข้างนอกไม่ได้อยู่ต่อหน้าหมอ ย่อมมีความสงสัยว่า เราไม่รู้ขนาดหรือการ
เอาขึ้นเอาลง แต่อยู่ต่อหน้าหมอก็หมดสงสัยด้วยคิดว่า หมอจักรู้จักดื่ม
พระศาสดาผู้เป็นพระธรรมสามีของพวกเรามีอยู่เฉพาะหน้าอย่างนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้นจึงชักชวนในการดื่มพรหมจรรย์อันผ่องใสว่า พวกท่านจงทำ
ความเพียรแล้วดื่มเถิด. ชื่อว่า สตฺถา เพราะตามสั่งสอนตามสมควร ซึ่งทิฏฐิ
ธรรมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบอรรถในบทนี้ แม้โดยนัยแห่งนิเทศมีอาทิว่า สตฺถา ภควา สตฺถวาโห
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงนำหมู่ ชื่อว่า สัตถวาหะ ชื่อว่า สมฺมุขีภูโต
เพราะมีหน้าปรากฏอยู่.
พึงทราบวินิจฉัย ในมัณฑเปยยนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่าติธตฺตมณฺโฑ
ความผ่องใสมีอยู่ 3 ประการ ชื่อว่า ติธตฺตํ ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่ง
มีอยู่เฉพาะหน้ามี 3 ประการ ชื่อว่า ติธตฺตมณฺโฑ ความว่า ความผ่องใสมี
3 อย่าง. บทว่า สตฺถริ สมฺมุขีภูเต ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่เฉพาะหน้านี้
ท่านกล่าวเพื่อแสดงความผ่องใส 3 ประการอันบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง แม้
เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพาน ความผ่องใส 3 ประการ ยังเป็นไปอยู่โดย
เอกเทศ. อนึ่ง ในนิเทศแห่งบทนั้น พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวว่า สตฺถริ
สมฺมุขีภูเต
แล้วกล่าวว่า กตโม เทสนามณฺโฑ ความผ่องใสแห่งเทศนา
เป็นไฉน. บทว่า เทสนามณฺโฑ ความผ่องใสแห่งเทศนา คือ ธรรมเทศนา
นั่นแหละเป็นความผ่องใส. บทว่า ปฏิคฺคหมณฺโฑ ความผ่องใสแห่งการรับ
คือผู้รับเทศนานั่นแหละเป็นผู้ผ่องใส. บทว่าพฺรหฺมจริยมณฺโฑ ความผ่องใส
แห่งพรหมจรรย์ คือ มรรคพรหมจรรย์นั่นแหละเป็นความผ่องใส.

บทว่า อาจิกฺขนา การบอก คือ การกล่าวโดยชื่อว่าชื่อทั้งหลายเหล่านี้
แห่งสัจจะเป็นต้นควรแสดง. บทว่า เทสนา การแสดงคือการชี้แจง. บทว่า
ปญฺญปนา การบัญญัติ คือ การให้รู้ หรือการตั้งไว้ในมุข คือ ญาณ จริงอยู่
เมื่อตั้งอาสนะไว้ท่านกล่าวว่าปูอาสนะ. บทว่า ปฏฺฐปนา การแต่งตั้ง คือ
การบัญญัติ ความว่า ความเป็นไป หรือการตั้งไว้ในมุขคือญาณ. บทว่า
วิวรณา การเปิดเผย คือ ทำการเปิดเผย ความว่า ชี้แจงเปิดเผย. บทว่า
วิภชนา การจำแนก คือ ทำการจำแนก ความว่า ชี้แจงโดยการจำแนก.
บทว่า อุตฺตานีกมฺมํ การทำให้ง่าย คือ การทำความปรากฏ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาจิกฺขนา เป็นบทแสดงเหตุของบท 6 บท มี
เทศนาเป็นต้น. ท่านกล่าว 6 บทมีเทศนาเป็นต้น เพื่อขยายความแห่งบทว่า
อาจิกฺขนา. ใน 6 บทนั้น บทว่า เทสนา คือการแสดงโดยยกหัวข้อขึ้นก่อน
โดยสังเขป ด้วยสามารถแห่งอุคฆฏิตัญญูบุคคล เพราะอุคฆฏิตัญญูบุคคล
ย่อมรู้แจ้งแทงตลอดบทที่ท่านกล่าวโดยสังเขป และกล่าวขึ้นก่อน. บทว่า
ปญฺญปนา คือ การบัญญัติด้วยการชี้แจงบทที่ท่านย่อไว้ก่อน โดยพิสดาร
ด้วยความพอใจของความคิดและด้วยความเฉียบแหลมของปัญญา แห่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งวิปัญจิตัญญูบุคคล. บทว่า ปฏฺฐปนา คือการ
บัญญัติด้วยการทำให้พิสดารยิ่งขึ้น ด้วยการชี้แจงเฉพาะนิเทศที่ท่านชี้แจง
ธรรมเหล่านั้นไว้แล้ว. บทว่า วิวรณา คือการเปิดเผยบทแม้ที่ท่านชี้แจง
ไว้แล้วด้วยการพูดบ่อย ๆ. บทว่า วิภชนา คือการจำแนกด้วยการทำการ
จำแนกแม้บทที่ท่านกล่าวไว้แล้วบ่อย ๆ. บทว่า อุตฺตานีกมฺมํ คือทำให้ง่าย
ด้วยกล่าวทำบทที่ท่านเปิดเผยแล้วโดยพิสดาร และด้วยกล่าวชี้แจงบทที่ท่าน
จำแนกไว้แล้ว. เทศนานี้ย่อมมีเพื่อการแทงตลอดแม้ของไนยบุคคลทั้งหลาย.

บทว่า เย วา ปนญฺเญปิ เกจิ หรือท่านผู้รู้แจ้งพวกใดพวกหนึ่ง
ท่านหมายถึงวินิปาติกะ (พวกตกอยู่ในอบาย) มีมารดาของท่านปิยังกระเป็นต้น.
บทว่า วิญฺญาตาโร ผู้รู้แจ้ง คือผู้รู้แจ้งโลกุตรธรรมด้วยการแทงตลอด.
จริงอยู่ ท่านผู้รู้แจ้งเหล่านี้มีภิกษุเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิคฺคหา ผู้รับเพราะรับ
พระธรรมเทศนาด้วยสามารถการแทงตลอด. บทว่า อยเมว เป็นอาทิมีความ
ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้ว นิเทศแห่งปฐมฌาน. อริยมรรคท่านกล่าวว่าเป็นพรหม-
จรรย์ เพราะประพฤติเพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันประเสริฐ เพราะไหลไปโดย
นิพพาน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงประกอบอินทรีย์ พละโพชฌงค์
และองค์แห่งมรรค อันมีอยู่ในขณะแห่งมรรค แห่งความผ่องใสในการน้อมใจ
เชื่อนั้นด้วยบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขมณฺโฑ ความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ
ในวิธีแห่งพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อธิโมกฺขมณฺโฑ คือความผ่องใสอันได้แก่
การน้อมใจเชื่อ. บทว่า กสโฏ เป็นกาก คือ ขุ่นปราศจากความเลื่อมใส.
บทว่า ฉฑฺเฑตฺวา ทิ้งแล้ว คือ ละด้วยตัดขาด. บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส
อธิโมกฺขมณฺฑํ ปิวตีติ มณฺฑเปยฺยํ
ดื่มความผ่องใสแห่งความน้อมใจเชื่อ
ของสัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใส
ควรดื่ม อธิบายว่า แม้เมื่อความที่ความผ่องใสแห่งความน้อมใจเชื่อ ไม่เป็น
อื่นจากสัทธินทรีย์ ท่านก็กล่าวทำเป็นอย่างอื่นด้วยสามารถแห่งโวหาร. ลูกหินบด
แม้เมื่อลูกหินบดไม่เป็นเป็นอย่างอื่นมีอยู่ท่านก็เรียกว่า สรีระแห่งลูกหินบด
ฉันใด อนึ่ง ในบาลีท่านกล่าวภาวะแม้ไม่เป็นอย่างอื่นจากธรรมดาในบทมีอาทิ
ว่า ผุสิตตฺตํ ความเป็นสิ่งสัมผัสได้ ดุจเป็นอย่างอื่นฉันใด อนึ่ง ในอรรถกถา
ท่านกล่าวถึงลักษณะแม้ไม่เป็นอย่างอื่นจากธรรมดาในบทมีอาทิว่า ผุสนลกฺ-

ขโณ ผสฺโส ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง ดุจเป็นอย่างอื่นฉันใด พึงทราบข้อ
อุปมานี้ฉันนั้น.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในบทที่ยังไม่เคยกล่าวดังต่อไปนี้. บทว่า
ปริฬาโห ความเร่าร้อน คือความเดือดร้อนเพราะกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ปีติซึ่งมีลักษณะอิ่มเอิบ. บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ ความชั่วหยาบ คือ ความหยาบ
ความไม่สงบด้วยอำนาจกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบ. บทว่า อปฺปฏิ-
สงฺขา
ความไม่พิจารณา คือ การนำความไม่สงบมาด้วยอำนาจกิเลสอันเป็น
ปฏิปักษ์ต่อการพิจารณา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงชี้แจงถึงวิธีแห่งพรหมจรรย์
มีความผ่องใสควรดื่ม โดยปริยายอื่นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อตฺถิ มณฺโฑ
ความผ่องใสมีอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ คือในสัทธินทรีย์นั้น. พึงทราบวินิจฉัย
ในบทมีอาทิว่า อตฺถรโส อรรถรส คือ ความน้อมไปแห่งสัทธินทรีย์เป็น
อรรถ สัทธินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์นั่นแหละชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจาก
กิเลสต่าง ๆ ความถึงพร้อมแห่งอรรถนั้น ชื่อว่า อตฺถรโส อรรถรส.
ความถึงพร้อมแห่งธรรมนั้น ชื่อว่า ธมฺมรโส ธรรมรส. ความถึงพร้อม
แห่งวิมุตตินั้นชื่อว่า วิมุตติรส.
อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีในการได้อรรถ ชื่อว่า อรรถรส. ความยินดี
ในการได้ธรรม ชื่อว่าธรรมรส. ความยินดีในการได้วิมุตติ ชื่อว่า วิมุตติรส.
บทว่า รติ ความยินดี คือ สัมปยุตด้วยรสนั้น หรือปีติมีรสนั้นเป็นอารมณ์
พึงทราบอรรถแม้ในบทที่เหลือโดยนัยนี้.
ในปริยายนี้ท่านกล่าวอรรถว่า พรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม ชื่อว่า
มณฺฑเปยฺยํ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงพรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่มด้วยอำนาจ
แห่งอินทรีย์ พละโพชฌงค์และองค์แห่งมรรคตามลำดับแห่งโพธิปักขิยธรรมมี
อินทรีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์อันตั้ง
อยู่ในที่สุดอีก จึงทรงการทำมรรคให้เป็นธรรมถึงก่อน เพราะมรรคเป็น
ประธาน แล้วจึงทรงแสดงองค์แห่งมรรค โพชฌงค์ พละและอินทรีย์.
บทมีอาทิว่า อาธิปเตยฺยฏฺเฐน อินฺทฺริยา มณฺโฑ อินทรีย์เป็น
ความผ่องใส เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ คือ อินทรีย์เป็นโลกิยะและโลกุตระ
เป็นความผ่องใส ตามที่ประกอบไว้. พึงทราบบทนั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลัง.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า ตถฏฺเฐน สจฺจ มณฺโฑ สัจจะเป็นความ
ผ่องใส เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะแท้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า สัจจญาณเป็น
สัจจะ เพราะไม่มีทุกขสมุทัย เป็นความผ่องใส ดุจในมหาหัตถิปทสูตร.
จบอรรถกถามัณฑเปยยกถา
และ
จบอรรถกถามหาวรรค


รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ญาณกถา 2. ทิฏฐิกถา 3. อานาปานกถา 4. อินทริยกถา
5. วิโมกขกถา 6. คติกถา 7. กรรมกถา 8. วิปัลลาสกถา 9. มรรคกถา
10. มัณฑเปยยกถา และอรรถกถา.
นิกายอันประเสริฐนี้ เป็นวรมรรคอันประเสริฐที่หนึ่ง ไม่มีวรรคอื่น
เสมอท่านตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล.