เมนู

อรรถกถาวิปัลลาสกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิปัลลาส-
กถา อันมีพระสูตรเป็นบทนำ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในวิปัลลาสะ
อันเป็นปัจจัยของกรรมนั้นกล่าวแล้ว. พึงทราบความในพระสูตรก่อน. บทว่า
สญฺญาวิปลฺลาสา คือมีความสำคัญคลาดเคลื่อนเป็นสภาวะ อธิบายว่ามี
สัญญาวิปริต. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัญญาวิปลาสย่อม
ปรากฏในกาลแห่งกิจของตนมีกำลัง ด้วยอกุศลสัญญาปราศจากทิฏฐิในฐานะ
แห่งกิจของจิตมีกำลังอ่อน.
จิตวิปลาส ย่อมเป็นไปในกาลแห่งกิจของตนเป็นอกุศลจิตปราศจาก
ทิฏฐิมีกำลัง. ทิฏฐิวิปลาสย่อมเป็นไปในจิตอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ.
เพราะฉะนั้น สัญญาวิปลาสมีกำลังอ่อนกว่าทั้งหมด. จิตวิปลาสมี
กำลังมากกว่าสัญญาวิปลาสนั้น. ทิฏฐิวิปลาสมีกำลังมากกว่าทั้งหมด. จริงอยู่
ชื่อว่าความสำคัญเพราะถือเอาเพียงอาการปรากฏแห่งอารมณ์ ดุจการเห็นกหา-
ปณะของทารกที่ยังไม่รู้เดียงสา. ชื่อว่าความคิดเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ
ดุจการเห็นกหาปณะของคนชาวบ้าน. ชื่อว่าความเห็นเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ
ดุจการจับเหล็กด้วยคีมใหญ่ของช่างเหล็ก.
บทว่า อนิจฺเจ นิจฺจนฺติ สญฺญาวิปลฺลาโส ความสำคัญผิดใน
สภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง คือความสำคัญอันเกิดขึ้น เพราะถือเอาในวัตถุไม่เที่ยง
ว่านี้เที่ยง ชื่อว่า สัญญาวิปลาส. พึงทราบความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.