เมนู

อรรถกถาวิโมกขนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุเทศ มีอาทิว่า กตโม ดังต่อไปนี้.
บทว่า อิติปฏิสญฺจิกฺขติ คือพิจารณาเห็นอย่างนี้. บทว่า สุญฺญมิทํ
นามรูปนี้ว่าง คือ ขันธบัญจกนี้ว่าง. ว่างจากอะไร ว่างจากความเป็นตัวตน
หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเตน วา จากความเป็นตัวตน คือ ว่าง
จากความเป็นตัวตน เพราะไม่มีตัวตนที่กำหนดว่าเป็นคนพาล. บทว่า อตฺต-
นิเยน วา
จากสิ่งทีเนื่องด้วยตน คือ ว่างจากสิ่งที่เป็นของของตนที่กำหนด
ไว้นั้น ความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะไม่มีของตนนั้นเอง. อนึ่ง ชื่อว่า
สิ่งที่เนื่องด้วยตนจะพึงเป็นของเที่ยงหรือพึงเป็นความสุข. แม้ทั้งสองอย่างนั้น
ก็ไม่มี. ท่านอธิบายไว้ว่า อนิจจานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธสิ่งที่เป็นของเที่ยง
ทุกขานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธความสุข. บทว่า สุญฺญมิทํ อตฺเตนวา นามรูป
นี้ว่างจากความเป็นตัวตน ท่านกล่าวถึงอนัตตานุปัสสนานั่นเอง. บทว่า โส
คือ ภิกษุนั้นเห็นแจ้งด้วยอนุปัสสนา 3 อย่างนี้. บทว่า อภินิเวสํ น กโรติ
ไม่ทำความยึดมั่น คือ ไม่ทำความยึดมั่นตนด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา.
บทว่า นิมิตฺตํ น กโรติ ไม่ทำเครื่องกำหนดหมาย คือ ไม่ทำเครื่องกำหนด
หมายว่าเที่ยงด้วยอำนาจแห่ง อนิจจานุปัสสนา. บทว่า ปณิธึ น กโรติ
ไม่ทำความปรารถนาคือ ไม่ทำความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา.
วิโมกข์ 3 เหล่านี้ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งตทังคะ ในขณะแห่งวิปัสสนา
โดยปริยาย แต่ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉท ในขณะแห่งมรรคโดยตรง.
ฌาน 4 เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เพราะออกจากนิวรณ์เป็นต้นในภายใน.