เมนู

วิโมกขกถา


อรรถกถาวิโมกขุเทศ


บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาไปตามลำดับ ความที่ยังไม่เคยพรรณนา
แห่งวิโมกขกถา ซึ่งท่านกล่าวในลำดับอินทริยกถา. จริงอยู่ วิโมกขกถานี้
ท่านกล่าวในลำดับอินทริยกถา เพราะผู้ประกอบอินทริยภาวนาเป็นผู้ได้วิโมกข์-
ก็พระสารีบุตรเถระเมื่อกล่าววิโมกขกถานั้น ทำสุตตันตเทศนาให้เป็นหัวหน้า
แล้วกล่าวเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า สุญฺญโต
วิโมกฺโข
ได้แก่ อริยมรรคอันเป็นไป เพราะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
โดยอาการแห่งความเป็นของสูญ ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์. สุญญตวิโมกข์นั้น
ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเกิดธาตุสูญ. ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลส
ทั้งหลาย.
โดยนัยนี้นั่นแหละพึงทราบว่า วิโมกข์เป็นไปเพราะทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์ โดยอาการหานิมิตมิได้ ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์. วิโมกข์เป็นไป
เพราะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์.
ภิกษุรูปหนึ่งพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความไม่เที่ยงแต่ต้นนั่นเอง
อนึ่ง เพราะเพียงพิจารณาด้วยความไม่เที่ยงเท่านั้น ยังไม่เป็นการออกไปแห่ง
มรรค ควรพิจารณาโดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง. หาก
เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นการออกไปแห่งมรรค ในกาลที่
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ภิกษุนี้ชื่อว่าอยู่โดยความไม่เที่ยง แล้วออกไปโดย

ความไม่เที่ยง. อนึ่ง หากว่าการออกไปแห่งมรรค ในกาลที่ภิกษุนั้นพิจารณา
โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ภิกษุนี้ชื่อว่า อยู่โดยความไม่เที่ยง
แล้วออกไปโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. แม้ในการอยู่โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาแล้วออกไป ก็มีนัยนี้.
อนึ่ง ในอุเทศนี้ แม้ภิกษุใดอยู่โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา หากในเวลาออกย่อมออกโดยความไม่เที่ยง แม้ทั้ง 3 นี้
ก็เป็นผู้มากไปด้วยอธิโมกข์ ย่อมได้สัทธินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์
เป็นผู้ระลึกศรัทธาในขณะปฐมมรรค เป็นผู้พ้นจากศรัทธาในฐานะ 7. อนึ่ง
หากออกไปโดยความเป็นทุกข์ แม้ชนทั้ง 3 ก็เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้
สมาธินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นกายสักขี (พยานเห็นกับตา
ทางกาย) ในที่ทั้งปวง. อนึ่ง อรูปฌานในกายสักขีนี้ เป็นบาทของภิกษุใด
ภิกษุนั้นเป็นอุภโตภาควิมุตในผลอันเลิศ แต่นั้นเป็นการออกโดยความเป็น
อนัตตาของชนเหล่านั้น. ชนแม้ทั้ง 3 ก็เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมได้
ปัญญินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ เป็นผู้ระลึกถึงธรรมในขณะปฐมมรรค
เป็นผู้ถึงทิฏฐิในฐานะ 6 เป็นผู้พ้นด้วยปัญญาในผลอันเลิศ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามรรคย่อมได้ชื่อด้วยเหตุ 5 ประการ คือ ด้วย
เป็นไปกับหน้าที่ 1 ด้วยเป็นข้าศึก 1 ด้วยมีคุณ 1 ด้วยอารมณ์ 1 ด้วย
การมา 1. หากภิกษุพิจารณาสังขารโดยความไม่เที่ยง แล้วออกจากความวางเฉย
ในสังขาร ย่อมพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ หากพิจารณาโดยความเป็นทุกข์แล้ว
ออก ย่อมพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ หากพิจารณาโดยความเป็นอนัตตาแล้ว
ออก ย่อมพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นไปกับหน้าที่.

อนึ่ง วิโมกข์ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะทำการแยกความเป็นฆนะ (ก้อน)
ของสังขารทั้งหลายด้วยอนิจจานุปัสสนา แล้วละนิมิตว่าเที่ยง นิมิต ว่ายั่งยืน
นิมิตว่าคงที่ออกไปเสีย. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะละสุขสัญญาด้วยทุกขานุ-
ปัสสนา แล้วยังความปรารถนาที่ตั้งไว้ให้แห้งไป. ชื่อว่า สุญญตะ เพราะ
ละความสำคัญว่าตน สัตว์ บุคคลด้วยอนัตตานุปัสสนา แล้วเห็นสังขารทั้งหลาย
โดยความเป็นของสูญ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นข้าศึก.
อนึ่ง ชื่อว่า สุญญตะ เพราะความเป็นของสูญจากราคะเป็นต้น
ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือราคะนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งของราคะเป็นต้น นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความมีคุณ
ของมรรคนั้น.
มรรคนี้นั้น ย่อมทำนิพพานอันเป็นของสูญ ไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง
ให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นอารมณ์.
อนึ่ง การมามี 2 อย่าง คือ วิปัสสนาคมนะ (การมาแห่งวิปัสสนา) 1
มัคคาคมนะ (การมาแห่งมรรค) 1.
การมาแห่งวิปัสสนาย่อมได้ในมรรค การมาแห่งมรรคย่อมได้ในผล.
เพราะอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ มรรคแห่งสัญญตวิปัสสนา ชื่อว่า
สุญญตะ. ผลแห่งสุญญตมรรค ชื่อว่า สุญญตะ. อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า
อนิมิตตะ มรรคแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ. ก็ชื่อนี้ย่อมได้
ด้วยอภิธรรมปริยาย แต่ในสุตตันตปริยายก็ได้ด้วย. จริงอยู่ อาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวไว้ในสุตตันตปริยายนั้นว่า พระโยคาวจรทำนิพพานอันเป็นโคตรภูญาณ
หานิมิตมิได้ให้เป็นอารมณ์ เป็นชื่อที่ไม่มีนิมิตตั้งอยู่ในอาคมนียฐาน (ที่เป็นที่

มาถึง) เองแล้วให้ชื่อแก่มรรค ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่ามรรคเป็นอนิมิตตะ
ควรกล่าวว่า ผลเป็นอนิมิตตะด้วยการมาแห่งมรรค. ทุกขานุปัสสนาชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะยังการตั้งไว้ในสังขารทั้งหลายให้แห้งไป มรรคแห่งอัปปณิ-
หิตวิปัสสนา ชื่อว่า อัปปณิหิตะ. ผลแห่งอัปปณิหิตมรรค ชื่อว่า อัปปณิหิตะ
เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาย่อมให้ชื่อแห่งมรรคของตนอย่างนี้. มรรคย่อมให้ชื่อ
แห่งผล นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยการมาถึง. พระโยคาวจรย่อมกำหนดคุณวิเศษแห่ง
วิโมกข์ จากความวางเฉยในสังขารด้วยประการฉะนี้.
พระสารีบุตรเถระครั้นยกวิโมกข์อันเป็นมหาวัตถุ 3 ที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ขึ้นแสดงอย่างนี้ประสงค์จะชี้แจงถึงวิโมกข์ แม้อื่นอีก
ด้วยสามารถการชี้แจงวิโมกข์นั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปิจ อฏฺฐสฏฺฐี
วิโมกฺขา
อีกอย่างหนึ่ง วิโมกข์ 68 ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปิจ เป็นบทแสดงถึงปริยายอื่น. วิโมกข์
เหล่านั้นมี 68 ได้อย่างไร มี 75 มิใช่หรือ. มี 75 ตามเสียงเรียกร้องจริงหรือ
ไม่ควรนับวิโมกข์ 3 เหล่านี้ เพราะชี้แจงวิโมกข์อื่นเว้นวิโมกข์ 3 ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วและเพราะกั้นวิโมกข์เหล่านั้น แม้วิโมกข์ 3 มี
อัชฌัตตวิโมกข์เป็นต้นก็ไม่ควรนับ เพราะหยั่งลงภายในด้วยกล่าวโดยพิสดาร
4 ส่วน อัปปณิหิตวิโมกข์ ในบทนี้ว่า ปณิหิโต วิโมกฺโข อปฺปณิหิโต
วิโมกฺโข
ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ก็ไม่ควรนับ เพราะมีชื่ออย่างเดียว
กันด้วยการยกขึ้นแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อนำวิโมกข์ 7 อย่างเหล่านี้ออกอย่างนี้
แล้วก็เหลือวิโมกข์ 68. หากถามว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงยกวิโมกข์
3 มีสุญญตวิโมกข์เป็นต้นขึ้นแสดงเล่า. ตอบว่า เพื่อหยิบยกขึ้นโดยอุเทศ
แล้วทำการชี้แจงวิโมกข์เหล่านั้น. อนึ่ง วิโมกข์ 3 มี อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์

(วิโมกข์มีการออกจากภายใน) เป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งหมู่
อันเป็นมูลเหตุเว้นประเภทเสีย. พึงทราบแม้อัปปณิหิตวิโมกข์ ท่านก็ยกขึ้น
แสดงอีกด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์ของปณิหิตวิโมกข์.
พึงทราบวินิจฉัยในอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นต้นดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
อชฺฌตฺตวุฏฺฐาโน เพราะออกจากภายใน. ชื่อว่า อนุโลมาเพราะคล้อยตาม
ชื่อว่า อชฺฌตฺตวุฏฺฐานปฏิปฺปสฺสทฺธิ เพราะระงับออกไปแห่งการออกจาก
ภายใน. บทว่า รูปี คือ รูปอันเป็นรูปฌานให้เกิดขึ้นในอวัยวะมีผมเป็นต้น
ในภายใน ชื่อว่า รูปี เพราะภิกษุมีรูป. บทว่า รูปานิ ปสฺสติ ภิกษุเห็นรูป
คือ เห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นในภายนอกด้วยญาณจักษุ ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึง
การได้ฌานในกสิณทั้งหลายอันมีวัตถุในภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ
อรูปสญฺญี
คือ ภิกษุไม่มีความสำคัญว่า รูปในภายใน ความว่า มีรูปาวจร
ฌานยังไม่เกิดในผมเป็นต้นของตน ด้วยบทนี้ท่านทำบริกรรมในภายนอกแล้ว
จึงแสดงฌานที่ได้แล้วในภายนอกนั่นเอง. บทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต
น้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น คือ น้อมไปในอารมณ์ ว่างามเท่านั้น.
ในบทนั้นความผูกใจว่างามไม่มีในอัปปนาภายในแม้โดยแท้ แต่ภิกษุใดแผ่
สัตตารมณ์ไปโดยอาการเป็นของไม่น่าเกลียดอยู่ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้น้อมใจ
ไปว่างามเท่านั้น ฉะนั้นท่านจึงยกขึ้นแสดงอย่างนี้. ชื่อว่า สมยวิโมกฺโข
เพราะมีวิกขัมภนวิมุตติในสมัยที่ยังไม่อิ่มเอิบ ๆ. ชื่อว่า สามยิโก เพราะ
วิโมกข์นั้นประกอบแล้วในสมัยที่ยังไม่อิ่มเอิบด้วยสามารถทำกิจของตน. ปาฐะ
ว่า สามายิโก บ้าง. ชื่อว่า กุปฺโป เพราะสามารถกำเริบได้ คือ ทำลายได้.
ชื่อว่า โลกิโก เพื่อประกอบไว้ในโลกโดยไม่ก้าวล่วงโลก ปาฐะว่า โลกิโย
บ้าง. ชื่อว่า โลกุตฺตโร เพราะข้ามโลก หรือข้ามโลกได้แล้ว. ชื่อว่า สาสโว

เพราะมีอาสวะด้วยการทำอารมณ์. ชื่อว่า อนาสโว เพราะไม่มีอาลวะด้วยการ
ทำอารมณ์และด้วยการประกอบร่วม. ชื่อว่า สามิโส เพราะมีอามิสกล่าวคือรูป.
ชื่อว่า นิรามิสา นิรามิสตโร เพราะไม่มีอามิส ยิ่งกว่าไม่มีอามิส เพราะ
ละรูปและอรูปได้โดยประการทั้งปวง.
บทว่า ปณิหิโต คือ ตั้งไว้แล้ว ปรารถนาแล้วด้วยอำนาจแห่งตัณหา.
ชื่อว่า สญฺญุตฺโต เพราะประกอบแล้วด้วยสังโยชน์ด้วยการทำอารมณ์. บทว่า
เอกตฺตวิโมกฺโข ได้แก่ วิโมกข์มีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะไม่งอกงามด้วย
กิเลสทั้งหลาย. บทว่า สญฺญาวิโมกฺโข คือ วิปัสสนาญาณนั้นแหละ ชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นจากสัญญาวิปริต. วิปัสสนาญาณนั้นแหละ ชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ เพราะวิโมกข์ คือ ญาณนั้นแหละด้วยอำนาจพ้นจากความลุ่มหลง.
บทว่า สีติสิยาวิโมกฺโข คือ ความพ้นเป็นไปแล้วว่า วิปัสสนาญาณนั้น
แหละพึงเป็นความเย็น ชื่อว่า สีติสิยาวิโมกข์ ปาฐะว่า สีติสิกาวิโมกฺโข
บ้าง. อาจารย์ทั้งหลายพรรณนาความแห่งบทนั้นว่า ความพ้นเพราะความเป็น
ของเย็น. บทว่า ฌานวิโมกฺโข ได้แก่ วิโมกข์ คือฌานนั้นเองอันมี
ประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา และมีประเภทเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า
อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข ได้แก่ ความพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดมั่น
คือ ไม่ทำการถือ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาวิโมกขุเทศ

อรรถกถาวิโมกขนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุเทศ มีอาทิว่า กตโม ดังต่อไปนี้.
บทว่า อิติปฏิสญฺจิกฺขติ คือพิจารณาเห็นอย่างนี้. บทว่า สุญฺญมิทํ
นามรูปนี้ว่าง คือ ขันธบัญจกนี้ว่าง. ว่างจากอะไร ว่างจากความเป็นตัวตน
หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเตน วา จากความเป็นตัวตน คือ ว่าง
จากความเป็นตัวตน เพราะไม่มีตัวตนที่กำหนดว่าเป็นคนพาล. บทว่า อตฺต-
นิเยน วา
จากสิ่งทีเนื่องด้วยตน คือ ว่างจากสิ่งที่เป็นของของตนที่กำหนด
ไว้นั้น ความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะไม่มีของตนนั้นเอง. อนึ่ง ชื่อว่า
สิ่งที่เนื่องด้วยตนจะพึงเป็นของเที่ยงหรือพึงเป็นความสุข. แม้ทั้งสองอย่างนั้น
ก็ไม่มี. ท่านอธิบายไว้ว่า อนิจจานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธสิ่งที่เป็นของเที่ยง
ทุกขานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธความสุข. บทว่า สุญฺญมิทํ อตฺเตนวา นามรูป
นี้ว่างจากความเป็นตัวตน ท่านกล่าวถึงอนัตตานุปัสสนานั่นเอง. บทว่า โส
คือ ภิกษุนั้นเห็นแจ้งด้วยอนุปัสสนา 3 อย่างนี้. บทว่า อภินิเวสํ น กโรติ
ไม่ทำความยึดมั่น คือ ไม่ทำความยึดมั่นตนด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา.
บทว่า นิมิตฺตํ น กโรติ ไม่ทำเครื่องกำหนดหมาย คือ ไม่ทำเครื่องกำหนด
หมายว่าเที่ยงด้วยอำนาจแห่ง อนิจจานุปัสสนา. บทว่า ปณิธึ น กโรติ
ไม่ทำความปรารถนาคือ ไม่ทำความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา.
วิโมกข์ 3 เหล่านี้ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งตทังคะ ในขณะแห่งวิปัสสนา
โดยปริยาย แต่ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉท ในขณะแห่งมรรคโดยตรง.
ฌาน 4 เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เพราะออกจากนิวรณ์เป็นต้นในภายใน.