เมนู

อรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในปริยาทานัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ปริยาทียติ
ย่อมครอบงำ คือ ย่อมให้สิ้นไป.
พึงทราบวินิจฉัยในปติฏฐาปกัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺโธ
สทฺธินทฺริยํ อธิโมกฺเข ปติฏฺฐาเปติ
ผู้มีศรัทธาย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่
ในความน้อมใจเชื่อ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อว่า สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
น้อมใจเชื่อ ด้วยบทนี้ท่านชี้แจงความพิเศษของการเจริญอินทรีย์ ด้วยความ
พิเศษของบุคคล.
บทว่า สทฺธสฺส สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกเข ปติฏฺฐาเปติ สัทธินทรีย์
ของผู้มีศรัทธาย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ คือ สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมยังศรัทธานั้นให้ตั้งอยู่. อนึ่ง ย่อมยังบุคคลผู้น้อมใจ
เชื่อให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ. ด้วยบทนี้ ท่านชี้แจงความพิเศษของบุคคล
ด้วยความพิเศษของการเจริญอินทรีย์. เมื่อประคองจิตอยู่อย่างนี้ ย่อมให้
วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคอง เมื่อตั้งสติไว้ย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
ตั้งมั่น เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อเห็น
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในทัสสนะ เพราะเหตุนั้น
พึงทราบการประกอบแม้ในบทที่เหลือ.
บทว่า โยคาวจโร ชื่อว่า โยคาวจโร เพราะท่องเที่ยวไปใน
สมถโยคะ (การประกอบสมถะ)หรือในวิปัสสนาโยคะ (การประกอบวิปัสสนา).
บทว่า อวจรติ คือ ท่องเที่ยวไป.
จบอรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ

อรรถกถาอินทริยสโมธาน


บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงการรวมอินทรีย์ของผู้เจริญ
สมาธิและของผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อชี้แจงประเภทแห่งความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ เป็นอันดับแรกก่อน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า สมาธึ ภาเวนฺโต เจริญสมาธิ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุชฺชโน สมาธึ ภาวนฺโต คือปุถุชน
เจริญสมาธิอันเป็นฝ่ายแห่งการแทงตลอด. ส่วนแม้โลกุตรสมาธิก็ย่อมได้ แก่
พระเสกขะและแก่ผู้ปราศจากราคะ บทว่า อาวชฺชิตตฺตา ผู้มีตนพิจารณา
แล้ว คือ มีตนพิจารณานิมิตมีกสิณเป็นต้นแล้ว. ท่านอธิบายว่า เพราะกระทำ
บริกรรมมีกสิณเป็นต้นแล้วมีตนเป็นนิมิตให้เกิดในบริกรรมนั้น. บทว่า อาร-
มฺมณูปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งนิมิตอันให้เกิดนั้นนั่นเอง. บทว่า สมถนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านด้วยความเป็นผู้เริ่ม
ทำความเพียรเกินไป เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ ความสงบจิต
ด้วยอำนาจแห่งการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
บทว่า ปคฺคหนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ปัคคหนิมิต คือ เมื่อจิตหดหู่ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อนเกินไป เป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งนิมิต คือการประคองจิตด้วยอำนาจแห่งการเจริญธรรม-
วิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อวิกฺเขปูปฏ-
ฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ เป็นผู้ฉลาดใน
การตั้งไว้ซึ่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่านและไม่หดหู่. บทว่า โอภาสุ-
ปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส คือ เมื่อจิตไม่ยินดีเพราะ
ความเป็นผู้ด้อยในการใช้ปัญญา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ญาโณภาส