เมนู

อรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในปริยาทานัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ปริยาทียติ
ย่อมครอบงำ คือ ย่อมให้สิ้นไป.
พึงทราบวินิจฉัยในปติฏฐาปกัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺโธ
สทฺธินทฺริยํ อธิโมกฺเข ปติฏฺฐาเปติ
ผู้มีศรัทธาย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่
ในความน้อมใจเชื่อ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อว่า สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
น้อมใจเชื่อ ด้วยบทนี้ท่านชี้แจงความพิเศษของการเจริญอินทรีย์ ด้วยความ
พิเศษของบุคคล.
บทว่า สทฺธสฺส สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกเข ปติฏฺฐาเปติ สัทธินทรีย์
ของผู้มีศรัทธาย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ คือ สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมยังศรัทธานั้นให้ตั้งอยู่. อนึ่ง ย่อมยังบุคคลผู้น้อมใจ
เชื่อให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ. ด้วยบทนี้ ท่านชี้แจงความพิเศษของบุคคล
ด้วยความพิเศษของการเจริญอินทรีย์. เมื่อประคองจิตอยู่อย่างนี้ ย่อมให้
วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคอง เมื่อตั้งสติไว้ย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
ตั้งมั่น เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อเห็น
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในทัสสนะ เพราะเหตุนั้น
พึงทราบการประกอบแม้ในบทที่เหลือ.
บทว่า โยคาวจโร ชื่อว่า โยคาวจโร เพราะท่องเที่ยวไปใน
สมถโยคะ (การประกอบสมถะ)หรือในวิปัสสนาโยคะ (การประกอบวิปัสสนา).
บทว่า อวจรติ คือ ท่องเที่ยวไป.
จบอรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ