เมนู

ธรรมชาติปล่อยแล้ว คือ กิเลสและขันธ์ย่อมดับไปด้วยอำนาจแห่งการดับความ
ไม่เกิด ด้วยเหตุนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยกิเลสและขันธ์ ในขณะ
มรรคเกิดนั้นเอง. อนึ่ง บทว่า โวสฺสชฺชิตตฺตา ท่านทำให้เป็นคำกล่าวตาม
เหตุผลที่เป็นจริงในความปรารถนา. เมื่อมีการดับกิเลส ท่านก็กล่าวถึงการดับ
ขันธ์เพราะความปรากฏแห่งความดับขันธ์. บทว่า นิโรธวเสน ด้วยอำนาจ
ความดับ คือ ด้วยอำนาจความดับตามที่กล่าวแล้ว. พระสารีบุตรเถระประสงค์
จะแสดงถึงความปล่อย 2 ประการ ในขณะที่มรรคนั้นเกิด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
นิโรธวเสน เทฺว โวสฺสคฺคา ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี 2
ประการ. ความปล่อยแม้ 2 ประการ ก็มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
แม้ในบทมีอาทิว่า อสฺสทฺธิยสฺส ปหานาย ฉนฺ โท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงทราบความโดยพิสดารโดยนัย
นี้แล. แม้ในวาระอันมีวิริยินทรีย์เป็นต้นเป็นมูลเหตุ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

อรรถกถาอธิฏฐานนัตถนิเทศ


แม้อธิฏฐานัตถนิเทศ พึงทราบโดยพิสดารโดยนัยนี้. มีความแตกต่าง
กันอยู่อย่างเดียวในบทนี้ว่า อธิฏฺฐาติ ย่อมตั้งมั่น ความว่า ย่อมดำรงอยู่.
จบอรรถกถาอธิฏฐานัตถนิเทศ

อรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในปริยาทานัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ปริยาทียติ
ย่อมครอบงำ คือ ย่อมให้สิ้นไป.
พึงทราบวินิจฉัยในปติฏฐาปกัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺโธ
สทฺธินทฺริยํ อธิโมกฺเข ปติฏฺฐาเปติ
ผู้มีศรัทธาย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่
ในความน้อมใจเชื่อ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อว่า สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
น้อมใจเชื่อ ด้วยบทนี้ท่านชี้แจงความพิเศษของการเจริญอินทรีย์ ด้วยความ
พิเศษของบุคคล.
บทว่า สทฺธสฺส สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกเข ปติฏฺฐาเปติ สัทธินทรีย์
ของผู้มีศรัทธาย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ คือ สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมยังศรัทธานั้นให้ตั้งอยู่. อนึ่ง ย่อมยังบุคคลผู้น้อมใจ
เชื่อให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ. ด้วยบทนี้ ท่านชี้แจงความพิเศษของบุคคล
ด้วยความพิเศษของการเจริญอินทรีย์. เมื่อประคองจิตอยู่อย่างนี้ ย่อมให้
วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคอง เมื่อตั้งสติไว้ย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
ตั้งมั่น เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อเห็น
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในทัสสนะ เพราะเหตุนั้น
พึงทราบการประกอบแม้ในบทที่เหลือ.
บทว่า โยคาวจโร ชื่อว่า โยคาวจโร เพราะท่องเที่ยวไปใน
สมถโยคะ (การประกอบสมถะ)หรือในวิปัสสนาโยคะ (การประกอบวิปัสสนา).
บทว่า อวจรติ คือ ท่องเที่ยวไป.
จบอรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ