เมนู

ธรรมชาติปล่อยแล้ว คือ กิเลสและขันธ์ย่อมดับไปด้วยอำนาจแห่งการดับความ
ไม่เกิด ด้วยเหตุนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยกิเลสและขันธ์ ในขณะ
มรรคเกิดนั้นเอง. อนึ่ง บทว่า โวสฺสชฺชิตตฺตา ท่านทำให้เป็นคำกล่าวตาม
เหตุผลที่เป็นจริงในความปรารถนา. เมื่อมีการดับกิเลส ท่านก็กล่าวถึงการดับ
ขันธ์เพราะความปรากฏแห่งความดับขันธ์. บทว่า นิโรธวเสน ด้วยอำนาจ
ความดับ คือ ด้วยอำนาจความดับตามที่กล่าวแล้ว. พระสารีบุตรเถระประสงค์
จะแสดงถึงความปล่อย 2 ประการ ในขณะที่มรรคนั้นเกิด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
นิโรธวเสน เทฺว โวสฺสคฺคา ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี 2
ประการ. ความปล่อยแม้ 2 ประการ ก็มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
แม้ในบทมีอาทิว่า อสฺสทฺธิยสฺส ปหานาย ฉนฺ โท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงทราบความโดยพิสดารโดยนัย
นี้แล. แม้ในวาระอันมีวิริยินทรีย์เป็นต้นเป็นมูลเหตุ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

อรรถกถาอธิฏฐานนัตถนิเทศ


แม้อธิฏฐานัตถนิเทศ พึงทราบโดยพิสดารโดยนัยนี้. มีความแตกต่าง
กันอยู่อย่างเดียวในบทนี้ว่า อธิฏฺฐาติ ย่อมตั้งมั่น ความว่า ย่อมดำรงอยู่.
จบอรรถกถาอธิฏฐานัตถนิเทศ