เมนู

อรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอาธิปไตยัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อสฺ-
สทฺธยํ ปชหโต
แห่งบุคคลผู้สะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคำกล่าวถึงการละ
ธรรมเป็นปฏิปักษ์แห่งอินทรีย์อยู่หนึ่ง ๆ ท่านกล่าวเพื่อความสำเร็จแห่งความ
เป็นใหญ่ในการสำเร็จกิจของการละธรรมเป็นปฏิปักษ์ของตนๆ แม้ในขณะหนึ่ง.
ท่านกล่าวถึงอินทรีย์ 4 ทีเหลือสัมปยุตด้วยลัทธินทรีย์นั้น. พึงทราบ
แม้ท่านกล่าวทำอินทรีย์หนึ่ง ๆ ให้เป็นหน้าที่ในขณะต่าง ๆ กัน แล้วทำอินทรีย์
นั้น ๆ ให้เป็นใหญ่กว่าอินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์นั้น ๆ เเล้วนำอินทรีย์นั้นไป. ส่วน
บทว่า กามจฺฉนฺทํ ปชหโต ของบุคคลผู้ละกามฉันทะเป็นอาทิท่านกล่าวด้วย
สามารถแห่งขณะเดียวกันนั้นเอง.
จบอรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ

อรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอาทิวิโสธนัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิย-
สํวรฏฺเฐน สีลวิสุทฺธิ
เป็นศีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าระวังความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา คือ ชื่อว่า ศีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าห้ามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาโดย
การชำระมลทินของศีลโดยอรรถว่าเว้น.
บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อาทิวิโสธนา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น
แห่งสัทธินทรีย์ คือชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นด้วยสามารถเป็นอุปนิสัยแห่ง
สัทธินทรีย์. โดยนัยนี้แล พึงทราบอินทรีย์แม้ที่เหลือและอินทรีย์อันเป็นเหตุ
แห่งการสำรวมกามฉันทะเป็นต้น.
จบอรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ

อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอธิมัตตัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺธินฺทฺริย-
สฺส ภาวนาย ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญแห่ง
สัทธินทรีย์ คือ ฉันทะในธรรมอันฉลาดย่อมเกิดขึ้นในสัทธินทรีย์ เพราะฟัง
ธรรมปฏิสังยุตด้วยศรัทธาของบุคคลผู้มีศรัทธา หรือเพราะเห็นคุณของการ
เจริญสัทธินทรีย์. บทว่า ปามุชฺชํ อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
คือความปราโมทย์ย่อมเกิด เพราะฉันทะเกิด. บทว่า ปีติ อุปฺปชฺชติ ปีติ
ย่อมเกิดขึ้น คือ ปีติมีกำลังย่อมเกิดเพราะความปราโมทย์. บทว่า ปสฺสทฺธิ
อุปฺปชฺชติ
ปัสสัทธิย่อมเกิด คือ กายปัสสัทธิและจิตปัสสัทธิย่อมเกิด เพราะ
ความเอิบอิ่มแห่งปีติ. บทว่า สุขํ อุปฺปชฺชติ ความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ
เจตสิกสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะกายและจิตสงบ. บทว่า โอภาโส อุปฺปชฺชต
แสงสว่างย่อมเกิดขึ้น คือ แสงสว่าง คือสติย่อมเกิดขึ้น เพราะจมอยู่
ด้วยความสุข. บทว่า สํเวโค อุปฺปชฺชติ ความสังเวชย่อมเกิดขึ้น
คือ ความสังเวชในเพราะความปรวนแปรของสังขารย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้ง
โทษของสังขารด้วยแสงสว่าง คือญาณ. บทว่า สํเวเชตฺวา จิตฺตํ
สมาทิยติ
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น คือ จิตยังความสังเวชให้เกิดแล้ว
ย่อมตั้งมั่นด้วยความสังเวชนั่นนั้นเอง. บทว่า สาธุกํ ปคฺคณฺหาติ ย่อม
ประคองไว้ดี คือ ปลดเปลื้องความหดหู่และความฟุ้งซ่านเสียได้แล้วย่อมประคอง
ไว้ด้วยดี. บทว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขติ ย่อมวางเฉยด้วยดี คือ เพราะความ
เพียรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำความขวนขวายในการประกอบความเพียร
สม่ำเสมออีก ชื่อว่าย่อมวางเฉยด้วยดี ด้วยสามารถแห่งความวางเฉย ด้วยวาง