เมนู

อรรถกถาจริยาวาร


แม้ในจริยาวารก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวปฐมวาร
ด้วยสามารถแห่งการให้อินทรีย์เกิดอย่างเดียว. ท่านกล่าวจริยาวาร ด้วยสามารถ
แห่งการเสพ และกาลแห่งการทำให้บริบูรณ์ ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
จริงอยู่ คำว่า จริยา ปกติ อุสฺสนฺนตา จริยา ปกติ ความมากขึ้น โดย
ความเป็นอันเดียวกัน.
จบอรรถกถาจริยาวาร

อรรถกถาจารวิหารนิเทศ


บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงแบบอย่างของอินทรีย์ โดย
ปริยายอื่นอีก ด้วยสามารถแห่งการชี้แจงความประพฤติและวิหารธรรม อัน
สัมพันธ์กับจริยาจึงยกหัวข้อว่า จาโร จ วิหาโร จ เป็นอาทิแล้วกล่าวชี้แจง
หัวข้อนั้น. ในหัวข้อนั้นพึงทราบความสัมพันธ์ของหัวข้อว่าเหมือนอย่างว่า
สพรหมจารีผู้รู้แจ้ง พึงกำหนดไว้ในฐานะที่ลึกตามที่ประพฤติ ตามที่อยู่ว่า
ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฉันใด ความประพฤติ และ
วิหารธรรมของผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ก็ฉันนั้น อันสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง ตรัสรู้
แล้ว แทงตลอดแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศนิเทศดังต่อไปนี้. ความประพฤตินั่นแหละ
คือ จริยา. เพราะคำว่า จาโร จริยา โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. เพราะฉะนั้น

ในนิเทศแห่งบทว่า จาโร ท่านจึงกล่าวว่า จริยา. บทว่า อิริยาปถจริยา
คือความประพฤติของอิริยาบถ ได้แก่ความเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน ส่วน อายตนจริยา ความประพฤติในอายตนะ คือความประพฤติ
แห่งสติสัมปชัญญะในอายตนะทั้งหลาย. บทว่า ปตฺติ คือผล. ท่านกล่าวว่า
ปตฺติ เพราะถึงผลเหล่านั้น เป็นประโยชน์ในปัจจุบันและภพหน้าของสัตโวลก
นี้เป็นความพิเศษของบทว่า โลกตฺถ เป็นประโยชน์แก่โลก.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงภูมิของจริยาเหล่านั้น จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า จตูสุ อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถทั้งหลาย. บทว่า สติปฏฺฐาเนสุ
คืออารมณ์อันเป็นสติปัฏฐาน. แม้เมื่อกล่าวถึงสติปัฏฐาน ท่านก็กล่าวทำไม่เป็น
อย่างอื่นจากสติ ดุจเป็นอย่างอื่นด้วยสามารถแห่งโวหาร. บทว่า อริยสจฺเจสุ
ในอริยสัจทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยสามารถการกำหนดคือเอาสัจจะไว้ต่างหาก
โลกิยสัจจญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า อริมคฺเคสุ สามญฺญผเลสุ จ
ในอริยมรรคและสามัญผล ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารเท่านั้น. บทว่า
ปเทเส บางส่วน คือเป็นเอกเทศในการประพฤติกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่โลก.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่อมทรงกระทำโลกัตถจริยา โดยไม่มีบางส่วน.
พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงจริยาเหล่านั้นอีก ด้วยสามารถแห่งการกบุคคล
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปณิสมฺปนฺนานํ ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้
ในบทนั้นท่านผู้มีอิริยาบถไม่กำเริบถึงพร้อมด้วยการคุ้มครองอิริยาบถ เพราะ
อิริยาบถสงบ คือ ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถอันสงบสมควรแก่ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า
ปณิธิสมฺปนฺนา ผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้. บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺต-
ทฺวารานํ
ผู้มีทวารคุ้มครองอินทรีย์ คือ ชื่อว่า คุตฺตทฺวารา เพราะมีทวาร
คุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ 6 มีจักขุนทรีย์เป็นต้นอันเป็นไปแล้วในวิสัย ด้วย

สามารถแห่งทวารหนึ่ง ๆ ของท่านผู้มีทวารคุ้มครองแล้วเหล่านั้น. อนึ่ง
ในบทว่า ทฺวารํ นี้ คือ จักขุทวารเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งทวารที่เกิดขึ้น.
บทว่า อปฺปมาทวิหารีนํ ของท่านผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท คือ ผู้อยู่ด้วย
ความไม่ประมาทในศีลเป็นต้น. บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺตานํ ของท่านผู้
ขวนขวายในอธิจิต คือ ผู้ขวนขวายสมาธิอันได้แก่อธิจิต ด้วยความที่วิปัสสนา
เป็นบาท. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺนานํ ของท่านผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัญญา คือ
ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณ อันเป็นไปแล้วตั้งแต่กำหนดนามรูปจนถึงโคตรภู.
บทว่า สมฺมาปฏิปนฺนานํ ของท่านผู้ปฏิบัติชอบ คือ ในขณะแห่งมรรค 4.
บทว่า อธิคตผลานํ ของท่านผู้บรรลุผล คือในขณะแห่งผล 4. บทว่า
อธิมุจฺจนฺโต ผู้น้อมใจเชื่อ คือผู้ทำการน้อมใจเชื่อ. บทว่า สทฺธาย จรติ
ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา คือเป็นไปด้วยสามารถแห่งศรัทธา. บทว่า ปคฺคณฺ-
หนฺโต
ผู้ประคองไว้ คือ ตั้งไว้ด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน 4. บทว่า
อุฏฺฐาเปนฺโต ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น คือ เข้าไปตั้งอารมณ์ไว้ด้วยสติ. บทว่า
อวิกฺเขปํ กโรนฺโต ผู้ทำจิตไม่ไห้ฟุ้งซ่าน คือไม่ทำความฟุ้งซ่านด้วยสามารถ
แห่งสมาธิ. บทว่า ปชานนฺโต ผู้รู้ชัด คือรู้ชัดด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้อริสัจ
4. บทว่า วิชานนฺโต ผู้รู้แจ้ง คือรู้แจ้งอารมณ์ด้วยวิญญาณคือการพิจารณา
อันเป็นหัวหน้าแห่งชวนจิตสัมปยุตด้วยอินทรีย์. บทว่า วิญฺญาณจริยาย ด้วย
วิญญาณจริยา คือ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติ ด้วยวิญญาณคือการพิจารณา.
บทว่า เอวํ ปฏิปนฺนสฺส ของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ปฏิบัติด้วยอินทรียจริยา
พร้อมกับชวนจิต. บทว่า กุสลา ธมฺมา อายาเปนฺติ กุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป คือ กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่ง
สมถะและวิปัสสนา ย่อมยังความรุ่งเรืองให้เป็นไป ความว่า ย่อมเป็นไป.

บทว่า อายตนจริยาย ด้วยอายตนจริยา คือ ประพฤติด้วยความพยายาม
ยอดยิ่งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ท่านอธิบายว่า ประพฤติด้วยความบากบั่น
ด้วยความให้เป็นไป. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ ย่อมบรรลุธรรมวิเศษ คือ
บรรลุธรรมวิเศษด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนะ ตทังคะ สมุจเฉทะ และปฏิ-
ปัสสัทธิ. บทว่า ทสฺสนจริยา เป็นต้น มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทมีอาทิว่า สทฺธาย วิหรติ ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา มีวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้. พึงเห็นการอยู่ด้วยอิริยาบถของผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธาเป็นต้น.
บทว่า อนุพุทฺโธ รู้ตาม คือด้วยปัญญาพิสูจน์ความจริงแล้ว. บทว่า ปฏิวิทฺโธ
แทงตลอดแล้ว คือด้วยปัญญารู้ประจักษ์ชัด. เพราะเมื่อผู้ตั้งอยู่ในอธิโมกข์เป็น
ต้นรู้ตามแล้วแทงตลอดแล้ว ความประพฤติและวิหารธรรมเป็นอันตรัสรู้แล้ว
แทงตลอดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงแสดงถึงผู้ตั้งอยู่ในอธิโมกข์เป็นต้นต้น แม้ในการรู้
ตามและแทงตลอด. บทว่า เอวํ ในบทมีอาทิว่า เอวํ สทฺธาย จรนฺตํ
ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงถึงประการดังกล่าว
แล้วจึงชี้แจงถึงอรรถแห่ง ยถาศัพท์. แม้ในบทมีอาทิว่า วิญฺญู พึงทราบ
ความดังนี้. ชื่อว่า วิญฺญู เพราะรู้ตามสภาพ. ชื่อว่า วิภาวี เพราะยังสภาพ
ที่รู้แล้วให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้ปรากฏ. ชื่อว่า เมธา เพราะทำลายกิเลสดุจสาย
ฟ้าทำลายหินที่ก่อไว้ หรือชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าเรียนทรงจำได้เร็ว.
ชื่อว่า เมธาวี เพราะเป็นผู้มีปัญญา. ชื่อว่า ปณฺฑิตา เพราะถึงคือเป็นไป
ด้วยญาณคติ. ชื่อว่า พุทฺธิสมฺปนฺนา เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธิสัมปทา
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา. ชื่อว่า สพฺรหฺมจาริโน เพราะประพฤติปฏิปทา
อันสูงสุดอันเป็นพรหมจริยา. ชื่อว่า มีกรรมอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่ง
การกระทำกรรม 4 อย่างมี อปโลกนกรรม (ความยินยอม) เป็นต้นร่วมกัน.

ชื่อว่า มีอุเทศอย่างเดียวกัน คือมีการสวดปาฏิโมกข์ 5 อย่างเหมือนกัน. ชื่อ
ว่า สมสิกฺขา เพราะมีการศึกษาเสมอกัน ความเป็นผู้มีการศึกษาเสมอกัน
ชื่อว่า สมสิกฺขตา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมสิกฺขาตา บ้าง แปลว่า มี
การศึกษาเสมอกัน. ท่านอธิบายว่า ผู้มีกรรมอย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอ
กัน ชื่อว่า สพฺรหฺมจารี. เมื่อควรกล่าวว่า ฌานานิ ท่านทำลิงค์คลาด
เคลื่อนเป็น ฌานา. บทว่า วิโมกฺขา ได้แก่ วิโมกข์ 3 หรือ 8. บทว่า
สมาธิ ได้แก่ สมาธิ 3 มีวิตกมีวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีวิตกไม่มี
วิจาร. บทว่า สมาปตฺติโย สมาบัติ คือไม่ตั้งอยู่ใน สุญญตานิมิต (ไม่
มีนิมิตว่าสูญ). บทว่า อภิญฺญาโย คือ อภิญญา 6. ชื่อว่า เอกํโส เพราะ
เป็นส่วนเดียว มิได้เป็น 2 ส่วน. ชื่อว่า เอกํสวจนํ เพราะกล่าวถึงประโยชน์
ส่วนเดียว. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทำการประกอบอย่างนี้. แต่โดยพิเศษ ชื่อว่า
สํสโย เพราะนอนเนื่องคือเป็นไปเสมอหรือโดยรอบ. ชื่อว่า นิสฺ สํสโย
เพราะไม่มีความสงสัย. ชื่อว่า กงฺขา เพราะความเป็นผู้ตัดสินไม่ได้ในเรื่อง
เดียวเท่านั้น แม้อย่างอื่นก็ยังเคลือบแคลง. ชื่อว่า นิกฺกงฺโข เพราะไม่มี
ความเคลือบแคลง. ความเป็นส่วนสอง ชื่อว่า เทฺววชฺฌํ ความไม่มีเป็นสอง
ชื่อว่า อเทฺววชฺโฌ. ชื่อว่า เทฺวฬฺหกํ เพราะเคลื่อนไหว หวั่นไหวโดย
สองส่วน. ชื่อว่า อเทฺวฬฺหโก เพราะไม่มีความหวั่นไหวเป็นสองส่วน (พูด
ไม่เป็นสอง) การกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออกชื่อว่า นิยฺยานิกวจนํ อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า นิยฺโยควจนํ บ้าง แปลว่า กล่าวนำออก คำทั้งหมดนั้น
เป็นไวพจน์ของความเป็นวิจิกิจฉา. ชื่อว่า ปิยวจนํ เพราะเป็นคำกล่าวน่ารัก
โดยมีประโยชน์น่ารัก. อนึ่ง ครุวจนํ คำกล่าวด้วยความเคารพ ชื่อว่า สคารวํ
เพราะมีความเคารพพร้อมด้วยคารวะ ความยำเกรง ชื่อว่า ปติสฺสโย ความ

ว่า ไม่นอนไม่นั่งเพราะทำความเคารพผู้อื่น อีกอย่างหนึ่ง การรับคำ ชื่อว่า
ปติสฺสโว ความว่า ฟังคำผู้อื่นเพราะประพฤติถ่อมตน. แม้ในสองบทนี้ เป็น
ชื่อของความที่ผู้อื่นเป็นผู้ใหญ่ ชื่อ สคารวํ เพราะเป็นไปกับด้วยความเคารพ
ชื่อว่า สปฺปติสฺสยํ เพราะเป็นไปกับด้วยความยำเกรงหรือการรับคำ. อีก
อย่างหนึ่ง เมื่อควรจะกล่าวว่า สปฺปติสฺสวํ ท่านกล่าวว่า สปฺปติสฺสํ เพราะ
ลบ อักษร หรือ อักษร. คำที่สละสลวยอย่างยิ่งชื่อว่า อธิวจนํ. ชื่อว่า
สคารวสปฺปติสฺสํ เพราะมีความเคารพและความยำเกรง. คำกล่าวมีความ
เคารพยำเกรง ชื่อว่า สคารวสปฺปติสฺสาธิวจนํ แม้ในบททั้งสองนี้ท่านกล่าว
ว่า เอตํ บ่อย ๆ ด้วยสามารถความต่างกันด้วยการกำหนดไวพจน์. บทว่า
ปตฺโต วา ปาปุณิสฺสติ วา บรรลุแล้วหรือจักบรรลุ ได้แก่ ฌานเป็นต้น
นั่นเอง.
จบอรรถกถาจารวิหารนิเทศ
จบอรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ

4. อรรถกถาจตุตถสุตตันตนิเทศ


พระสารีบุตรเถระตั้งสูตรที่ 1 อีก แล้วชี้แจงอินทรีย์ทั้งหลายโดยอาการ
อย่างอื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า กตีหากาเรหิ เกนฏฺเฐน ทฏฺฐพฺพานิ
อินทรีย์ 5 เหล่านั้น พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร ด้วยอรรถว่ากระไร คือ พึงเห็น
ด้วยอาการเท่าไร. บทว่า เกนฏฺเฐน ทฏฺฐพฺพานิ พึงเห็นด้วยอรรถว่า
กระไร พระสารีบุตรเถระถามถึงอาการที่พึงเห็นและอรรถที่พึงเห็น. บทว่า
ฉหากาเรหิ เกนฏฺเฐน ทฏฺฐพฺพานิ คือพึงเห็นด้วยอาการ 6 พึงเห็นด้วย
อรรถกล่าวคืออาการ 6 นั้นนั่นเอง. บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺเฐน คือด้วยอรรถว่า
ความเป็นใหญ่. บทว่า อาทิวิโสธนฏฺเฐน เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น คือ
ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า
อธิมตฺตฏฺเฐน ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ท่านกล่าวว่า อธิมตฺตํ เพราะ
มีกำลังมีประมาณยิ่ง. บทว่า อธิฏฺฐานฺตเถน คือด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. บทว่า
ปริยาทานฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าครอบงำ คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป. บทว่า
ปติฏฺฐาปกฏฺเฐน คือด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.