เมนู

อรรถกถาปเภทคณนนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในปเภทคณนนิเทศ อันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถาม
จำนวนประเภทแห่งพระสูตร. บทว่า สปฺปุริสสํเสเว คือการคบสัตบุรุษ
ได้แก่ ในการคบคนดีโดยชอบ. บทว่า อธิโมกฺขาธิปเตยฺยฏฺเฐน ด้วย
อรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยอรรถว่าความเป็นใหญ่ในอินทรีย์
ที่เหลือกล่าวคือน้อมใจเชื่อ อธิบายว่าด้วยอรรถ คือเป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือ.
บทว่า สทฺธมฺมสฺสวเน คือการฟังสัทธรรม ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ หรือชื่อว่า
สทฺธมฺม เพราะเป็นธรรมงาม ในการฟังสัทธรรมนั้น. บทว่า โยนิโส-
มนสิกาเร
คือการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย. ในบทว่า ธมฺมานุ
ธมฺมปฏิปตฺติยา
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ พึงทราบความดังนี้
ธรรมที่เข้าถึงโลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺม. การปฏิบัติการถึง
ธรรมานุธรรมอันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ.
แม้ใน สัมมัปปธาน เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปเภทคณนนิเทศ

อรรถกถาจริยาวาร


แม้ในจริยาวารก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวปฐมวาร
ด้วยสามารถแห่งการให้อินทรีย์เกิดอย่างเดียว. ท่านกล่าวจริยาวาร ด้วยสามารถ
แห่งการเสพ และกาลแห่งการทำให้บริบูรณ์ ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
จริงอยู่ คำว่า จริยา ปกติ อุสฺสนฺนตา จริยา ปกติ ความมากขึ้น โดย
ความเป็นอันเดียวกัน.
จบอรรถกถาจริยาวาร

อรรถกถาจารวิหารนิเทศ


บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงแบบอย่างของอินทรีย์ โดย
ปริยายอื่นอีก ด้วยสามารถแห่งการชี้แจงความประพฤติและวิหารธรรม อัน
สัมพันธ์กับจริยาจึงยกหัวข้อว่า จาโร จ วิหาโร จ เป็นอาทิแล้วกล่าวชี้แจง
หัวข้อนั้น. ในหัวข้อนั้นพึงทราบความสัมพันธ์ของหัวข้อว่าเหมือนอย่างว่า
สพรหมจารีผู้รู้แจ้ง พึงกำหนดไว้ในฐานะที่ลึกตามที่ประพฤติ ตามที่อยู่ว่า
ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฉันใด ความประพฤติ และ
วิหารธรรมของผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ก็ฉันนั้น อันสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง ตรัสรู้
แล้ว แทงตลอดแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศนิเทศดังต่อไปนี้. ความประพฤตินั่นแหละ
คือ จริยา. เพราะคำว่า จาโร จริยา โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. เพราะฉะนั้น