เมนู

อรรถกถาอาทีนวนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอาทีนวนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจฏฺเฐน
เพราะอรรถว่าไม่เที่ยง คือ เพราะอรรถว่า สัทธินทรีย์ไม่เที่ยง ท่านกล่าวว่า
สัทธินทรีย์นั้นมีอรรถว่าไม่เที่ยง เป็นโทษของสัทธินทรีย์. แม้ในสองบท
นอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบว่าโทษเหล่านี้เป็นโทษของคุณของเหตุเกิด
และความดับของอินทรีย์อันเป็นโลกิยะนั่นเอง.
จบอรรถกถาอาทีนวนิเทศ

อรรถกถานิสสรณนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในนิสสรณนิเทศดังต่อไปนี้.ในบทว่า อธิโมกฺขฏฺเฐน
ด้วยอรรถว่า ความน้อมใจเชื่อเป็นอาทิ ท่านทำอย่างละ 5 ในอินทรีย์หนึ่ง ๆ
แล้วแสดงอินทรีย์ 5 มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออก 25 ด้วยสามารถมรรคแห่งผล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ปณีตตรสทฺธินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา แต่
การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น คือ ด้วยสามารถการได้สัทธินทรีย์ที่ประณีต
กว่าในขณะแห่งมรรค จากสัทธินทรีย์ที่เป็นไปแล้วในขณะแห่งวิปัสสนานั้น.
บทว่า ปุริมตรสทฺธินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติ สลัดออกไปจากสัทธินทรีย์ที่มี
อยู่ก่อน คือ สัทธินทรีย์ในขณะแห่งมรรคนั้นออกไปแล้วจากสัทธินทรีย์ที่เป็น
ไปแล้วในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีอยู่ก่อน. โดยนัยนี้แหละพึงประกอบแม้สัทธิน-
ทรีย์ในขณะแห่งผล แม้อินทรีย์ที่เหลือในขณะทั้งสองนั้น.

บทว่า ปพฺพภาเค ปญฺจหิ อินฺทฺริเยหิ ด้วยอินทรีย์ 5 ในส่วน
เบื้องต้น คือ เครื่องสลัดออกไป 8 ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ 8 มีปฐมฌาน
เป็นต้น ด้วยอินทรีย์ 5 ในอุปจารแห่งปฐมฌาน เครื่องสลัดออกไป 18
ด้วยสามารถแห่งมหาวิปัสสนา 18 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เครื่องสลัด
ออกไปเป็นโลกุตระ 8 ด้วยสามารถโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ท่านแสดงนิสสรณะ
(เครื่องสลัดออกไป) 34 ด้วยสามารถแห่งฌาน สมาบัติมหาวิปัสสนา
มรรคและผล โดยการก้าวล่วงไปแห่งอินทรีย์ก่อน ๆ. อนึ่ง บทว่า
เนกฺขมฺเม ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ ท่านแสดง
นิสสรณะ 37 โดยเป็นปฏิปักษ์ด้วยสามารถการละสิ่งเป็นปฏิปักษ์. ในบทนั้น
ท่านกล่าว นิสสรณะ 7 ในนิสสรณะ 7 มีเนกขัมมะเป็นต้นด้วยสามารถแห่ง
อุปจารภูมิ แต่ท่านมิได้กล่าวถึงผล เพราะไม่มีการละธรรมที่เป็นปฏิปักษ์.
บทว่า ทิฏฺเฐกฺฏเฐหิ กิเลสอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิ กิเลสชื่อว่า ทิฏเฐกฏฺฐา
เพราะตั้งอยู่ในบุคคลเดียวพร้อมกับทิฏฐิ ตลอดถึงโสดาปัตติมรรค จากกิเลส
ซึ่งอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า โอฬาริเกหิ จากกิเลสส่วนหยาบๆ
คือ จากกามราคะและพยาบาทอันหยาบ. บทว่า อณุสหคเตหิ จากกิเลส
ส่วนละเอียด คือ จากกามราคะและพยาบาทนั้นแหละอันเป็นส่วนละเอียด.
บทว่า สพฺพกิเลเสหิ จากกิเลสทั้งปวง คือ จากกิเลสมีรูปราคะเป็นต้น.
เพราะเมื่อละกิเลสเหล่านั้น ได้ก็เป็นอันละกิเลสทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นท่านจึง
กล่าวว่า สพฺพกิเลเสหิ. แต่ในนิเทศนี้ บททั้งหลายที่มีความยังมิได้กล่าวไว้
ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
บทว่า สพฺเพสญฺเญว ขีณาสวานํ ตตฺถ ตตฺถ ปญฺจินฺทฺริยานิ
อินทรีย์ 5 ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกแล้ว คือ อินทรีย์
5 ในฐานะนั้น ๆ ในบรรดาฐานะทั้งหลายที่กล่าวไว้แล้วในก่อน มีอาทิว่า

อธิโมกฺขฏฺเฐน อันพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย
ผู้เป็นพระขีณาสพสลัดออกแล้วจากฐานะนั้น ๆ ตามที่ประกอบไว้. ในวาระนี้
ท่านกล่าวถึงนัยที่ได้กล่าวแล้วครั้งแรก ด้วยสามารถแห่งพระขีณาสพตามที่
ประกอบไว้.
ก็นิสสรณะเหล่านี้มี 180 เป็นอย่างไร. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ใน
ปฐมวารมีนิสสรณะทั้งหมด 96 คือ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งมรรคและผล
25 ด้วยการก้าวล่วงไป 34 ด้วยการเป็นปฏิปักษ์ 37. ในทุติยวารเมื่อนำ
นิสสรณะออกเสีย 12 ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพทั้งหลาย นิสสรณะเหล่านี้
ก็เป็น 84 ด้วยประการฉะนี้ นิสสรณะก่อน 96 และนิสสรณะเหล่านั้น 84
จึงรวมเป็นนิสสรณะ 180.
ก็นิสสรณะ 12 อันพระขีณาสพพึงนำออกเป็นไฉน. นิสสรณะที่
พระขีณาสพพึงนำออก 12 เหล่านี้ คือ บรรดานิสสรณะที่กล่าวแล้วโดยการ
ก้าวล่วง นิสสรณะ 8 ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมรรคและผล บรรดานิสสรณะ
ที่กล่าวแล้วโดยเป็นปฏิปักษ์ นิสสรณะ 4 ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมรรค.
หากถามว่า เพราะเหตุไร พระขีณาสพพึงนำนิสสรณะที่กล่าวแล้วด้วย
สามารถแห่งอรหัตผลออก. ตอบว่า เพราะได้นิสสรณะ 25 ที่กล่าวไว้ก่อน
ทั้งหมดด้วยสามารถแห่งอรหัตผล จึงเป็นอันท่านกล่าวนิสสรณะด้วยสามารถ
แห่งอรหัตผลนั่นเอง. ผลสมาบัติเบื้องบน ๆ ยังไม่เข้าถึงผลสมาบัติเบื้องล่าง ๆ
เพราะฉะนั้น จึงมิได้ผลแม้ 3 ในเบื้องล่าง. อนึ่ง ฌาน สมาบัติ วิปัสสนา
และเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมได้ด้วยสามารถแห่งกิริยา. อินทรีย์ 5 เหล่านี้
สลัดออกไปจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ เพราะธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหลายสงบ
ก่อนด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถานิสสรณนิเทศ
จบอรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ

3. อรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ


พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งพระสูตรอื่นอีก แล้วชี้แจงถึงแบบอย่าง
ของอินทรีย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดังนี้.
อริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า โสต ในบทนี้ว่า โสตาปตฺติยงเคสุ.
การถึงการบรรลุอย่างสมบูรณ์ ชื่อว่า โสตาปตฺติ (การแรกถึงกระแสธรรม).
องค์คือสัมภาระแห่ง โสตาปตฺติ ชื่อว่า โสตาปตฺติยังฺคานิ (องค์แห่งการแรก
ถึงกระแสธรรม). โสดาปัตติยังคะ 4 อย่างเหล่านี้ คือ การคบสัตบุรุษเป็น
โสดาปัตติยังคะ 1 การฟังสัทธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ 1 โยนิโสมนสิการ เป็น
โสดาปัตติยังคะ 1 การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ 1
เป็นองค์แห่งการได้ส่วนเบื้องต้น เพราะความเป็นพระโสดาบัน. อาการที่เหลือ
กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
อนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวเพื่อให้เห็นว่า อินทรีย์เหล่านี้เป็นใหญ่ในวิสัย
ของตน. เปรียบเหมือนเศรษฐีบุตร 4 คน เมื่อสหายมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่
เป็นที่ 5 เดินไปตามถนนด้วยคิดว่า จักเล่นนักษัตร ครั้นไปถึงเรือนของ
เศรษฐีบุตรคนที่ 1 อีก 4 คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้น
สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชยะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้ของหอม
ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหายเหล่านี้. แล้วเดินตรวจตราในเรือน
ครั้นไปถึงเรือนคนที่ 2-3-4 อีก 4 คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือน
เท่านั้น สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้
ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหาย แล้วเดินตรวจตราใน