เมนู

อรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ


บัดนี้ เป็นสมาธิ 24 ในวัตถุ 12 คือสมาธิละสอง คือ สมาธิหนึ่งด้วย
สามารถลมอัสสาสะ สมาธิหนึ่งด้วยสามารถลมปัสสาสะ ในวัตถุละหนึ่งๆ แห่ง
วัตถุ 12 ด้วยสามารถจตุกะ 3 มีกายานุปัสสนาเป็นต้น ในสมาธิญาณนิเทศ
24 ในญาณที่ท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยกองทั้ง 6 กอง. ญาณสัมปยุตด้วยสมาธิ
เหล่านั้น ในขณะฌานด้วยอำนาจแห่งสมาธิ 24.
พึงทราบวินิจฉัยในวิปัสสนาญาณนิเทศ 72 ดังต่อไปนี้ บทว่า ทีฆํ
อสฺสาสา
เพราะลมอัสสาสะที่ท่านกล่าวแล้วว่า ยาว ท่านกล่าวไว้อย่างไร.
ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิปสฺสนา เพราะอรรถว่า พิจารณาเห็นโดยความไม่
เที่ยงในขณะวิปัสสนาด้วยจิตตั้งมั่น เพราะได้ฌาน เพราะเหตุลมหายใจเข้ายาว.
แม้ในอรรถอื่นก็มีนัยนี้. ในวัตถุ 12 คืออนุปัสสนาอย่างละ 6 อนุปัสสนา 3
ด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสะ. อนุปัสสนา 3 ด้วยสามารถแห่งลมปัสสาสะในวัตถุ
ละหนึ่ง ๆ แห่งวัตถุ 12 เหล่านั้น รวมเป็นอนุปัสสนา 72. อนุปัสสนา 72
เหล่านั้นแลเป็นญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา 72.
พึงทราบวินิจฉัยในนิพพิทาญาณนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจานุ-
ปสฺสี อสฺสาสํ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า คือ
พิจารณาหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ความว่า พิจารณาเป็นไปโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง. อนึ่ง คำว่า อสฺสาสํ นี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถแห่ง
เหตุ.
บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ปสฺสตีติ นิพฺพิทาญาณํ ชื่อว่า
นิพพิทาญาณ เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตั้งแต่พิจารณาเป็นกอง ๆ ไป

จนถึงพิจารณาเห็นความดับ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย ย่อม
เห็นด้วยญาณจักษุนั้นดุจเห็นด้วยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพิทาญาณ.
ท่านอธิบายว่าชื่อว่านิพพิทาญาณในสังขารทั้งหลาย. พึงทราบว่าวิปัสสนาญาณ
เป็นนิพพิทาญาณตามที่ได้กล่าวแล้วในนิเทศนี้ เพราะญาณทั้งหลายมีภยตูปัฏ-
ฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ) เป็นต้น และมุญจิตุ-
กัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไป) เป็นต้นเป็นธรรมต่างกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทานุโลมญาณดังต่อไปนี้. บทว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสํ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า คือ พิจารณา
หายใจเข้าโดยเป็นของไม่เที่ยง. บทว่า ภยตุปฏฺฐาเน ปญฺญา ปัญญาใน
ความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอันท่านกล่าวถึง ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีน-
วานุปัสสนาญาณ และนิพพิทานุปัสสนาญาณ ด้วยคำนั้นแล เพราะญาณทั้ง 3
มีลักษณะอย่างเดียวกัน. ญาณ 3 เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า นิพพิทานุโลมญาณ
เพราะอนุโลมโดยความอนุกูลของนิพพิทาญาณดังที่กล่าวแล้วโดยลำดับ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณดังต่อไปนี้.บทว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสํ เช่นเดียวกับที่กล่าวมาตามลำดับนั่นแหละ. บทว่า
ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺฐนา ปญฺญา ปัญญาพิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็น
อันท่านกล่าวถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงถึง
ด้วยพิจารณาหาทาง) สังขารอุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยอยู่)
ด้วยคำนั้นเอง เพราะญาณทั้ง 3 มีลักษณะอย่างเดียวกัน. แม้อนุโลมญาณ
และมรรคญาณท่านก็รวมไว้ด้วยคำว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺฐนา นั่นแหละ.
แม้สังขารุเบกขาญาณและอนุโลมญาณก็ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณด้วยละ
ความขวนขวายในการเกิดนิพพิทา เพราะนิพพิทาถึงยอดแล้ว.

ส่วนมรรคญาณ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเกิดในที่สุด
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเหตุนั้น จึงควรอย่างยิ่ง. การไม่ถือเอามุญจิตุ-
กัมยตาญาณอันเป็นเบื้องต้นดุจในนิพพิทานุโลม. แล้วถือเอาญานสองหมวด
ในที่สุดว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺฐนา เพื่อสงเคราะห์เข้าในมรรคญาณ. เพราะ
เมื่อท่านกล่าวว่า มุญฺจิตุกมฺยตา ย่อมสงเคราะห์เอาอนุโลมญาณด้วย มิได้
สงเคราะห์เอามรรคญาณ. เพราะมรรคญาณมิได้ชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตา. อนึ่ง
ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺฐนา เพราะวางเฉยอยู่ในความสำเร็จกิจ.
อนึ่ง แม้ในอรรถกถาท่านก็กล่าวว่า บทว่า ผุสนา ความถูกต้อง
คือ อปฺปนา ความแนบแน่น. ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺฐนา ความวางเฉย
เพราะทำมรรคญาณนี้เป็นอัปปนาในนิพพาน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์
แม้มรรคญาณ ด้วยคำว่า สนฺติฏฺฐนา แม้นิพพิทานุโลมญาณ โดยอรรถ
ก็เป็นนิพพิทาญาณนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์นิพพิทานุโลมญาณ
เหล่านั้นด้วยนิพพิทาญาณแล้วใช้ศัพท์ นิพพิทา ว่า นิพฺพิทาปฏิปสฺสทฺธิ
ญาณานิ
ดังนี้ ไม่ใช่ศัพท์ว่า นิพฺพิทานุโลม. ในวัตถุ 4 คือ ญาณละ
2 คือ ญาณหนึ่งด้วยสามารถแห่งลมอัสสะ ญาณหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งลม
ปัสสาสะในวัตถุหนึ่ง แห่งวัตถุ 4 ที่ท่านกล่าวแล้วด้วยอํานาจแห่งธรรมานุปัสส-
นาจตุกะที่ 4 ในญาณัฏฐกนิเทศ 3 เหล่านี้ จึงรวมเป็นญาณ 8.
พึงทราบวินิฉัยในวิมุตติสุขญาณนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระ
ครั้นแสดงการละด้วยบทว่า ปหีนตฺตา เพราะละแล้วเมื่อจะแสดงการละนั้น
ด้วยสมุจเฉทปหาน จึงกล่าวว่า สมุจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดขาด.
บทว่า วิมุตฺติสุเข ญาณํ ญาณในวิมุติสุข คือ ญาณสัมปยุต
ด้วยวิมุตติสุขอันเป็นผล และญาณคือการพิจารณาวิมุตติสุขอันเป็นผลเป็น

อารมณ์. เพื่อแสดงว่า การละวัตถุทุจริตที่กลุ้มรุมด้วยการละกิเลสอันเป็นวัตถุ
นอนเนื่องในสันดาน ท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันเป็นอนุสัยอีก. ท่านทำการ
คำนวณญาณด้วยการคำนวณกิเลสที่ละได้แล้ว หมายถึงผลญาณ 21. และท่าน
คำนวณปัจจเวกขณญาณอันเป็นผลด้วยการคำนวณพิจารณาถึงกิเลสที่ละได้แล้ว
หมายถึงปัจจเวกขณญาณ.
จบอรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ
จบอรรถกถาอานาปานสติกถาแห่งอรรถกถา
ปฏิสัมภิทามรรคชื่อว่าสัมธัมมปกาสินี


มหาวรรค อินทริยกถา


ว่าด้วยอินทรีย์ 5


[423] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ 1 วิริยินทรีย์ 1
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5
ประการนี้แล.