เมนู

บทว่า วิสุทฺธาย คือ บริสุทธิ์ไม่มีอุปกิเลส.
บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย - ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วง
โสตของมนุษย์ คือ ด้วยทิพโสตอันล่วงอุปจารของมนุษย์ก้าวล่วง มังส-
โสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียง.
บทว่า อุโภ สทฺเท สุณาติ คือ ฟังเสียงสองอย่าง. เสียง
สองอย่าง คือ อะไร ? คือ ทั้งเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์. ท่านอธิบาย
ว่า เสียงของเทวดา และของมนุษย์. ด้วยบทนี้พึงทราบการถือเอาที่อยู่.
บทว่า เย ทูเร สนฺติเก จ - ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้ ท่าน
อธิบายว่า ย่อมได้ยินเสียงในที่ใกล้ แม้ในจักรวาลอื่น และในที่
ใกล้โดยที่สุด แม้เสียงสัตว์ที่อยู่ในกายของตน. ด้วยบทนี้พึงทราบการ
ถือเอาไม่มีที่อยู่ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส


เจโตปริยญาณนิทเทส


[255] ปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่าง
หรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต 3 ประเภท และด้วยสามารถ
ความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วย
ฉันทะ และสังขารอันเป็นประธาน . . . ครั้นแล้วย่อมรู้อย่างนี้ว่า รูปนี้
เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิด
ขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ ภิกษุนั้นมีจิตอื่นอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจ
ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมี
โทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้
ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิต
หดหู่ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต
ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้
ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่
เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือ
จิตไม่หลุดพ่นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น จิตน้อมไปก็รู้ว่า จิตน้อมไป หรือ
จิตไม่น้อมไปก็รู้ว่า จิตไม่น้อมไป.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา
วิญญาณหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต 3 ประเภท

และด้วยสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ.

52. อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส


[255] พึงทราบวินิจฉัยในเจโตปริยญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้
บทว่า โส เอวํ ปชานาติ - ภิกษุนั้นย่อมรู้อย่างนี้ ความว่า
บัดนี้พระสารีบุตรเถระจะยกวิธีที่ควรกล่าวขึ้นแสดง.
บทมีอาทิว่า อิทํ รูปํ โสมนสฺสินฺทฺริยสมุฏฺฐิตํ - รูปนี้เกิด
ขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์เป็นวิธีอันภิกษุผู้เพ่ง เป็นอาที่กรรมิกควรปฏิ-
บัติอย่างไร ? อันภิกษุผู้เพ่งประสงค์จะยังญาณนั้นให้เกิดขึ้น ควรให้
ทิพจักษุญาณเกิดก่อน. เพราะเจโตปริยญาณนั้นย่อมสำเร็จด้วยสามารถ
แห่งทิพจักษุ. ญาณนั้นเป็นบริกรรมของทิพจักษุนั้น. เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นเจริญอาโลกกสิณเห็นสีของโลหิตอันเป็นไปอยู่ เพราะอาศัย
หทัยรูปของตนอื่นด้วยทิพจักษุจึงควรแสวงหาจิต. เพราะโลหิตนั้น
เมื่อกุศลโสนมนัสยังเป็นไปอยู่ ย่อมมีสีแดงคล้ายสีของลูกไทรสุก. เมื่อ
อกุศลโสมนัสยังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้นย่อมมีสีขุ่นมัว. เมื่อโทมนัสยังเป็น
อยู่ ย่อมมีสีดำขุ่นมัวเหมือนสีลูกหว้าสุก. เมื่อกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่
ย่อมมีสีใสเหมือนน้ำมันงา. เมื่ออกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้น
ย่อมขุ่นมัว. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเห็นสีโลหิตหทัยของคนอื่นว่า