เมนู

ย่อมมีเป็นปกติ. เหมือนอย่างว่ามณฑลพระจันทร์ย่อมปรากฏที่ถาด
ทั้งหมดอันเต็มด้วยน้ำตั้งพันถาด. การโคจรและการทำแสงสว่างของ
พระจันทร์ก็มีเป็นปกติฉันใด. ปาฏิหาริย์นี้ก็อุปมาฉันนั้น.
บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกาปิ กาเยน วสํ วตฺเตตฺ - ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ความว่า ทำพรหมโลกให้เป็นที่กำหนด
แล้วทำอภิญญาหลายอย่างในระหว่างนี้ใช้อำนาจ คือ ความเป็นอิสระ
ทางกายของตน. ส่วนความพิสดารในนิทเทสนี้ จักมีแจ้งในอิทธิกถา
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอิทธิวิธญาณนิทเทส


โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส


[254] ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่าง หรือ
อย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วย
ฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน. . .ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำจิต
ให้อ่อน ควรแก่การงาน ในอิทธิบาท 4 ประการนี้ ครั้นแล้วย่อม

มนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล แม้ในที่ใกล้
แม้เป็นเสียงหยาบ แม้เป็นเสียงละเอียด แม้เป็นเสียงละเอียดยิ่งนัก
ย่อมมนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในทิศตะวันออก ใน
ทิศตะวันตก ในที่เหนือ ในทิศใต้ แม้ในทิศอาคเนย์ แม้ในทิศ-
พายัพ แม้ในทิศอีสาน แม้ในทิศหรดี แม้ในทิศเบื้องต่ำ แม้ในทิศ
เบื้องบน ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ เธอย่อมฟังเสียงได้ทั้ง
2 อย่าง คือ ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้
ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดเสียง
เป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็น
โสตธาตุวิสุทธิญาณ.


51. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส


[254] พึงทราบวินิจฉัยในโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้
นี้. ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทูเรปิ สทฺทานํ - แห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่