เมนู

อนึ่ง ในญาณวิวัฏฏะ ย่อมได้สัจวิวัฏฏะด้วย เพราะประกอบ
บทมีอาทิว่า จักษุว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ด้วยสามารถ
กิจของผู้ออกจากอนัตตานุปัสนาแล้วได้อริยมรรค. เพราะฉะนั้น ใน
วิวัฏฏะหนึ่ง ๆ ย่อมได้วิวัฏฏะ อย่างละ 5 ที่เหลือ. เพราะฉะนั้น พึง
ทราบว่าท่านกล่าวเทียบเคียงไว้มีอาทิว่า ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญา-
วิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส


อิทธิวิธญาณนิทเทส


[253] ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดรูปกาย (ของตน)
และจิต (มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่ง
สุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิ
ยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยสมาธิยิ่งด้วยวีริยะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาท อัน
ประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยจิตและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิ-
บาท อันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยวิมังสาและสังขารเป็นประธาน ภิกษุ

นั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ในอิทธิบาท
4 ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง
น้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกายบ้าง น้อมกายไปด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง
อธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งกายบ้าง อธิฏฐานกายด้วยสามารถแห่ง
จิตบ้าง ครั้นน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกาย น้อมกายไปด้วยสามารถ
แห่งจิต อธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย อธิฏฐานกายด้วยสามารถ
แห่งจิตแล้ว ย่อมหน่วงสุขสัญญาและลหุสัญญาลงในกายอยู่ เธอมีจิต
อันอบรมแล้วอย่างนั้นบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิ-
วิธญาณ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
ดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป
บนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย
ไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสำเร็จด้วย
การกำหนดรูปกาย (ของตน) และจิต (อันมีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน
และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธ-
ญาณ.

50. อรรถกถาอิทธิวิธญาณนิทเทส


253] พึงทราบวินิจฉัยในอิทธิวิธญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า อิธ ภิกขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้.
ในบทนี้ว่า ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ - อันประกอบ
ด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน มีอธิบายดังต่อไปนี้.
สมาธิมีฉันทะเป็นเหตุ หรือสมาธิยิ่งด้วยฉันทะ ชื่อว่า ฉันทสมาธิ.
บทนี้ เป็นชื่อของสมาธิที่ได้เพราะทำกัตตุกัมยตาฉันทะ - ความพอใจ
เพราะใคร่จะทำการงาน ให้เป็นอธิบดี. สังขารเป็นประธาน ชื่อว่า
ปธานสังขารทั้งหลาย บทนี้ เป็นชื่อของความเพียร คือ สัมมัปธาน
อันให้สำเร็จกิจ 4 อย่าง. ท่านทำเป็นพหุวจนะ ด้วยสามารถทำกิจ 4
อย่างให้สำเร็จ.
บทว่า สมนฺนาคตํ - ประกอบแล้ว คือ เข้าถึงแล้วด้วยสมาธิ
ยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประฐาน. บทว่า อิทฺธิปาทํ - อิทธิบาท
ความว่า หมวดจิตและเจตสิกที่เหลืออันเป็นบาท ด้วยความอธิฏฐาน
แห่งสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน อันสัมปยุตด้วยจิตเป็น
กุศล มีอุปจารฌานเป็นต้นอันได้ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ
โดยปริยายแห่งความสำเร็จ หรือโดยปริยายนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้
สำเร็จแล้ว เจริญแล้ว ถึงความดีเลิศแล้ว ย่อมสำเร็จด้วยอิทธินั้น.