เมนู

บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา - เพื่อบรรลุอรหัตผลที่ยังไม่บรรลุ
คือ เพื่อต้องการบรรลุอรหัตผล.
บทว่า อตฺถิ อายวํ ได้แก่ ความเพียรมีอยู่. ปาฐะว่า อายาวํ
บ้าง
บทว่า ตสฺมิมฺปิ าเน อนุปฺปตฺ - แต่เมื่อยังไม่บรรลุฐานะนั้น
คือ เมื่อยังไม่บรรลุอริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตผลนั้น ด้วยสามารถ
แห่งการปรารภความเพียรนั้น.
บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ คือ เพราะฐานะแห่งพระอรหัต
เป็นปัจจัย ย่อมมีกุศลเวทนา ด้วยบทนี้ ท่านถือเอาโลกุตรเวทนา
ที่เกิดแล้ว เกิดพร้อมกับมรรค 4. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ว่า
บทว่า อายวํ คือ การปฏิบัติ. บทว่า ตสฺมิมฺปิ ฐาเน อนุปฺปตฺเต-
เมื่อยังไม่บรรลุฐานะแม้นั้น คือ บรรลุภูมินั้น ดังนี้.
จบ อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส


วิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส


[246] ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญา-
วิวัฏฏญาณอย่างไร ?

ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกาม-
ฉันทะด้วยปัญญาเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีความไม่พยาบาท
เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาในความมีอาโลกสัญญาเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี. . . ปัญญาในความมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิบดี
ย่อมหลีกออกจากอุทธัจจะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี. . . ปัญญาในความ
มีการกำหนดธรรมเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉาด้วยปัญญาเป็น
เครื่องรู้ดี. . .ปัญญาในความมีญาณเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอวิชชา
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี . . .ปัญญาในความมีปราโมทย์เป็นอธิบดี ย่อม
หลีกออกจากอรติด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ...ปัญญาในความมีปฐมฌาน
เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ฯลฯ
ปัญญาในความมีอรหัตมรรคเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความมีกุศลธรรม
เป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ.

[247] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่าง ๆ
เป็นเจโตวิวัฏฏญาณอย่างไร ?
กามฉันทะเป็นความเป็นต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว เมื่อ
พระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีก
ออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจาก
ความเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ พยาบาทเป็นความเป็นต่าง ๆ
ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่ความไม่
พยาบาทฟ้อนรำอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่าง ๆ จึงเป็น
เจโตวิวัฏฏญาน ถีนมิทธะเป็นความเป็นต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นอย่าง
เดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว
จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีก
ออกจากความเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
เป็นความเป็นต่างๆ อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึง
ความที่อรหัตมรรคฟ้อนรำอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลส
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็น
ต่างๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมเป็นเหตุ
หลีกออกจากความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ.

[248] ปัญญาในการอธิฏฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณอย่างไร ?
พระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมอธิฏฐานด้วยสามารถแห่ง
เนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งความไม่
พยาบาท เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา
ฯล ฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค
เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิฏฐานแต่ละอย่าง จึงเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ
แต่ละอย่าง.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐานเป็น
จิตตวิวัฏฏญาณ.
[249] ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ
อย่างไร ?
เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า ตา
ว่างเปล่าจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน
จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีก
ออกจากความยึดในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า
จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความ
เป็นจริงว่า หูว่างเปล่า ฯลฯ จมูกว่างเปล่า ลิ้นว่างเปล่า กายว่าง
เปล่า ใจว่างเปล่า จากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง

จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรม
อันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฎญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า
เป็นญาณวิวัฏฏญาณ.

[250] ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
อย่างไร ?
พระโยคาวจรย่อมสลัดกามฉันทะออกด้วยเนกขัมมะ สลัดพยา-
บาทออกด้วยความไม่พยาบาท สลัดถีนมิทธะออกด้วยอาโลกสัญญา
สลัดอุทธัจจะออกด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดวิจิกิจฉาออกด้วยการกำหนด
ธรรม ฯลฯ สลัดกิเลสทั้งปวงออกด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น
ปัญญาในความสลัดออกแต่ละอย่าง จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสลัดออก
เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ.
[251] ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจวิวัฏฏญาณ
อย่างไร ?

เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรู้ความบีบคั้น ความปรุงแต่ง ความ
ให้เดือดร้อน ความแปรปรวน แห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เมื่อละความ
ประมวลมา ความเป็นเหตุ ความเกี่ยวข้อง ความกังวล แห่งสมุทัย
ย่อมหลีกไป เมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความสลัดออก ความสงัด ความไม่
มีเครื่องปรุงแต่ง ความไม่ตาย แห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เมื่อเจริญ
ความนำออก ความเป็นเหตุ ความเห็น ความเป็นอธิบดี แห่งมรรค
ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในความว่าธรรมจริงแต่ละอย่าง จึง
เป็นสัจวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง ญาณเป็นสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ
จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ สัจวิวัฏฏะ พระโยคาวจร
เมื่อรู้พร้อมย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏะ เมื่อคิด
ถึงย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏฏะ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป
เพราะฉะนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏฏะ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะ
ฉะนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏฏะ เมื่อสลัดออกย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏะ ย่อมหลีกไปในความว่าธรรมจริง เพราะฉะนั้น
จึงเป็นสัจวิวัฏฏะ.
[252] ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่ง
มรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะ
แห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ
เจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรค

ใดมีจิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ในขณะ
แห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏฏะ ใน
ขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตวิวัฏฏะ ใน
ขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ
ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมี
วิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ
จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโต-
วิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น
ย่อมมีสัจวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรค
นั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกข-
วิวัฏฏะ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความว่าธรรมจริง
เป็นสัจวิวัฏฏญาณ.

44 - 49. อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส


[246 - 252] พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักก-
นิทเทส ดังต่อไปนี้. บทว่า เนกฺขมฺมาธิปตตฺตตา ปญฺญา - ปัญญา