เมนู

คำว่า เอกรสฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถว่ามีรสเดียว ได้แก่
ญาณมีกิจอันเดียวเป็นสภาวะ, หรือญาณมีรสอันเป็นสภาวะ คือวิมุตติ.

24. อรรถกถาผัสสนัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย ผัสสนัฏฐญาณ


คำว่า สจฺฉิกิริยาปญฺญา - ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้ง
ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระนิพพานให้ประจักษ์
ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด หรือด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ.
คำว่า ผสฺสนฏฺเฐ ญาณํ ได้แก่ ญาณมีการได้ซึ่งพระนิพพาน
เป็นสภาวะ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดและการได้เฉพาะทั้ง 2 นั้น
นั่นแล.

25-28. อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา


นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ 4


บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญ และในการกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอา

ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อันพระอริยบุคคลนั่นแหละ จะต้องได้ขึ้นแสดงต่อ
จากผัสสนญาณนั้น.
แม้ในปฏิสัมภิทา 4 นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย
ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใคร ๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย
เพราะฉะนั้นท่านจึงยก อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่
นั้นก็ยก ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัย
แห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
เพราะอรรถะและธรรมทั้ง 2 นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอา ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดง
เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น. แต่อาจารย์บางพวกทำทีฆะป-
อักษะแล้วสวดก็มี.

29 - 31. อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย วิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ


ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ 3 ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยก
ขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น
และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.