เมนู

บทว่า ผุสติ ย่อมถูกต้อง คือ ย่อมถูกต้อง ย่อมแผ่ไปด้วย
การถูกต้องวิปัสสนาญาณ.
บทว่า ปริโยคหติ - ย่อมเข้าไป คือ เข้าไปด้วยวิปัสสนาญาณ.
ปาฐะว่า ปริโยคาหติ บ้าง.
จบ อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส


ปเทสวิหารญาณนิทเทส


[245] ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณอย่างไร ?
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง
มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมี
อกุศลเวทนา เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา
เพราะความสงบแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะ
สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง
สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ฯลฯ เพราะมิจฉา -
วิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาวิมุตติ

เป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมี
กุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาวิมุตติ เป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศล.
เวทนา เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบ
แห่งฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อม
มีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง
สัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา
เป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย1 ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็น
ธรรมสงบ แต่เพราะวิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย2 ก็
ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมไม่สงบนั้นเพราะสัญญา
เป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย3 ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก
และสัญญา เป็นธรรมสงบนั้นเป็นปัจจัย4 ก็ย่อมมีกุศลเวทนา ความเพียร
เพื่อจะบรรลุอรหัตผลที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แม้เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
อริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตผลนั้นเป็นปัจจัย5ก็ย่อมมีกุศลเวทนา.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรม
เป็นปเทสวิหารญาณ.
1 - 5. บาลีประกอบบทไว้ด้วยคำว่า ตปฺปจฺจยาปิ.

43. อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส


[245 ] พึงทราบวินิจฉัยในปเทสวิหารญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงอาการที่ควรพิจารณาญาณบางส่วนที่
ยกขึ้นไว้ในมาติกา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิปจฺจยาปิ เวทยิตํ -
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย จึงมีอกุศลเวทนา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิปจฺจยา - เพราะมิจฉาทิฏฐิ
เป็นปัจจัย ความว่า เวทนาสัมปยุตด้วยทิฏฐิบ้าง เวทนาเป็นกุศล
อกุศลบ้าง เวทนาเป็นวิบากบ้าง เกิดขึ้นทำทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อม
ควร. ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่สัมปยุตด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล
เท่านั้น. แต่เวทนาเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ทิฏฐิ. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นในวันปักษ์
เพราะอาศัยทิฏฐิ ย่อมปฏิบัติคนบอดและคนโรคเรื้อนเป็นต้น ย่อม
สร้างศาลา ขุดสระโบกขรณีในทาง 4 แพร่ง ปลูกสวนดอกไม้ สวน
ผลไม้ พาดสะพานในที่ลำบากเพราะน้ำ ปรับที่ไม่เสมอให้เสมอ เวทนา
ที่เป็นกุศล ย่อมเกิดแก่พวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. แต่
เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมด่า บริภาษ ฆ่าและจองจำพวกสัมมาทิฏฐิ.
ฆ่าสัตว์บวงสรวงเทวดา. เวทนาเป็นอกุศล ย่อมเกิดแก่พวกมิจฉาทิฏฐิ
เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. ส่วนเวทนาเป็นวิบาก ย่อมมีแก่ผู้ไปใน
ภพอื่น.