เมนู

โยคาวจรทำให้แจ้งนิโรธอันเป็นฝั่งนอก ฉันนั้น. พึงทราบข้ออุปมา
อุปมัย ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทสฺสนํ วิสุชฺฌติ - ทัสนะย่อมหมดจด คือ ญาณ-
ทัสนะย่อมถึงความหมดจดด้วยการละกิเลสอันทำลายมรรคนั้น ๆ.
บทว่า ทสฺสนํ วิสุทฺธํ - ทัสสนะหมดจดแล้ว คือ ญาณ-
ทัสนะถึงความหมดจดแล้ว โดยถึงความหมดจดแห่งกิจของมรรคญาณ
นั้นในขณะเกิดผลนั้น ๆ. ท่านกล่าวมรรคผลญาณในที่สุด โดยสำเร็จ
ด้วยมรรคผลญาณแห่งปัญญา แทงตลอดความต่าง และความเป็นอัน
เดียวกัน ซึ่งท่านสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นอันเดียวกัน.
จบ อรรถกถาทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส


ขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส


[243] ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ เป็นขันติญาณอย่างไร ?
รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
รูปใด ๆ ปรากฏ รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรม
ปรากฏจึงเป็นขันติญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ
ชราะและมรณะ ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

อนัตตา ชราและมรณะใด ๆ ปรากฏ ชราและมรณะนั้น ๆ ย่อมคงที่
ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏจึงเป็นขันติญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความที่ธรรม
ปรากฏเป็นขันติญาณ.

[244] ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ
อย่างไร ?
ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ย่อมถูกต้องรูปใด ๆ ก็เข้าไปสู่รูปนั้น ๆ ฉะนั้น ปัญญาในความ
ถูกต้องธรรม จึงเป็นปริโยคาหนญาณ ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมถูกต้องชราและมรณะใด ๆ ก็เข้าสู่
ชราและมรณะนั้น ๆ ฉะนั้น ปัญญาในความถูกต้องธรรมจึงเป็นปริโย-
คาหนญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความถูกต้องธรรม
เป็นปริโยคาหนญาณ.

41 - 42. อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส


[243 - 244] พึงทราบวินิจฉัยในขันติญาณปริโยคาหณญาณ
นิทเทส ดังต่อไปนี้. บทว่า รูปํ อนิจฺจโต วิทิตํ - รูปปรากฏโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง คือ ปรากฏด้วยอนิจจานุปัสนาญาณว่า เป็นของ
ไม่เที่ยง.
บทว่า รูปํ ทุกฺขโต วิทิตํ - รูปปรากฏโดยความเป็นทุกข์ คือ
ปรากฏด้วยทุกขานุปัสนาว่า เป็นทุกข์.
บทว่า รูปํ อนตฺตโต - วิทิตํ - รูปปรากฏโดยความเป็นอนัตตา.
คือ ปรากฏด้วยอนัตตานุปัสนาญาณว่า เป็นอนัตตา.
บทว่า ยํ ยํ วิทิตํ ตํ ตํ ขมติ - รูปใดๆ ที่ปรากฏ รูป
นั้น ๆ ย่อมคงที่ คือ รูปใด ๆ ที่ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่ คือ ชอบใจโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ท่าน
ทำไว้เป็นแผนก ๆ แล้วเขียนไว้ในคัมภีร์บางคัมภีร์ว่า รูปปรากฏโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง. รูปใด ๆ ปรากฏแล้ว. รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่. พึง
เปลี่ยนลิงค์แล้วประกอบด้วยบทมีอาทิว่า เวทนา สญฺญา สงฺขารา
อนิจฺจโต วิทิตา
- เวทนวา สัญญา สังขาร ปรากฏแล้วโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง.