เมนู

ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนสฺส อรหตฺตมคฺคสฺส
ฐิติยา
- เพื่อความตั้งมั่นแห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบการ
ประกอบบทมีอาทิว่า ฐิติยา ด้วยสามารถแห่งฐิติขณะและภังคขณะ
ของอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้วในอุปาทขณะ. แม้ในอรรถกถาแห่งวิภังค์
ท่านก็กล่าวว่า ความเป็นไปแห่งอรหัตมรรคชื่อว่า ฐิติ คือ ความตั้งมั่น.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พึงเห็นมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง
อรหัตมรรค.
จบ อรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส


อัตถสันทัสนญาณนิทเทส


[239] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอัตถสันทัสน-
ญาณอย่างไร ?
ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม อกุศลธรรม
อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
โลกุตรธรรม ชื่อว่าธรรมต่าง ๆ.
[240] คำว่า ปกาสนตา - การประกาศ ความว่า ปัญญา
ย่อมประกาศรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ประกาศเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ . . . ชราและ
มรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
[241] คำว่า อตฺถสนฺทสฺสเน - ในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม
ความว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่ง
เนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่พยาบาท
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะ
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อละวิจิกิจฉา ย่อมเห็นชัด
ซึ่งอรรถแห่งการกำหนดธรรม เมื่อละอวิชชา ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่ง
ญาณ เมื่อละอรติ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความปราโมทย์ เมื่อละ
นิวรณ์ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอรหัตมรรค.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรม
ต่างๆ เป็นอัตถสันทัสนญาณ.


39. อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณนิทเทส


[239 - 241] พึงทราบวินิจฉัยในอัตถสันทัสนญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺธา มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.